วิธีเลือก ปั๊มน้ำ ให้ตรงตามความต้องการของคุณ

ปั๊มน้ำ

ปั๊มน้ำมีให้เลือกใช้งานมากมายทั้ง ปั๊มเครื่องยนต์ ปั๊มน้ำอัตโนมัติ ปั๊มเพลาลอย ปั๊มหอยโข่ง ปั๊มแช่หรือปั๊มจุ่ม เป็นต้น ทั้งนี้ทั้งนั้นจึงจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับปั๊มแต่ละแบบมีแตกต่างกันยังไง และแบบไหนเหมาะกับการใช้งานประเภทไหน

แหล่งพลังงานของ ปั๊มน้ำ

ในที่นี้แบ่งเป็น 2 ประเภท คือแบบไฟฟ้า และเครื่องยนต์ การเข้าใจเกี่ยวกับปั๊มประเภทต่างๆ ช่วยให้เลือกกปั๊มที่เหมาะกับความต้องการของเรา

ปั๊มน้ำเครื่องยนต์ (Engine driven)

ปั๊มน้ำที่ใช้เครื่องยนต์ หรือ เครื่องสูบน้ำ เป็นปั๊มที่ถูกขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ โดยเครื่องยนต์มีให้เลือกทั้งแบบใช้น้ำมันเบนซินและดีเซล แต่เครื่องยนต์ที่นิยมใช้กับปั๊มน้ำเป็นเครื่องยนต์เบนซิน 2 จังหวะ ที่สร้างแรงดันมากทำให้การปั๊มน้ำมีปริมาณที่มาก และตัวเครื่องปั๊มน้ำเครื่องยนต์มีขนาดที่กะทัดรัด พกพาสะดวกและใช้พลังจากน้ำมันเป็นเชื้อเพลิงทำให้ เมื่อต้องการใช้งานจำเป็นต้องเติมเชื้อเพลิงจึงจะใช้ได้

ปั๊มน้ำ

ปั๊มน้ำ ไฟฟ้า (Electric powered)

เป็นปั๊มที่ได้รับความนิยมใช้ปัจจุบัน และมีอัตราที่เพิ่มมากขึ้น นิยมใช้ปั๊มน้ำทั้งที่พักอาศัย หรือพื้นที่การเกษตรต่างๆ สำหรับปั๊มน้ำไฟฟ้า จะเป็นปั๊มน้ำอัตโนมัติ หรือปั๊มน้ำแรงดันคงที่ ที่เมื่อเสี๊ยบปลั๊กก็สามารถใช้งานได้เลย ส่วนปั๊มน้ำไฟฟ้าที่ใช้สำหรับพื้นที่เกษตรส่วนมากจะเป็นปั๊มหอยโข่ง หรือปั๊มจุ่ม ปั๊มแช่ เป็นส่วนมาก เพราะมีรงดันที่มาก เหมาะสำหรับการปั๊มน้ำที่ต้องใช้ในปริมาณที่มาก ปั๊มไฟฟ้านี้สามารถใช้งานได้ต่อเนื่องและยาวนาน หากไฟฟ้าไม่ดับ

ปั๊มน้ำ

จะนำ ปั๊มน้ำ ไปใช้งานลักษณะใด?

จำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับการใช้ปั๊มน้ำก่อน จึงจะสามารถเลือกปั๊มที่เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น น้ำไปปั๊มน้ำสำหรับพื้นที่การเกษตร หรือปั๊มน้ำสำหรับอุปโภคหรือบริโภค เป็นต้น

ปั๊มน้ำสำหรับน้ำเสีย เช่นโรงงานอุตสาหกรรม โรงบำบัดน้ำเสีย หรือบริเวณน้ำเสีย การใช้งานประเภทที่มักใช้ปั๊มจุ่มสำหรับน้ำเสีย ไปใช้งาน เพราะมีการออกแบบใบพัดและปั๊มเป็นพิเศษให้เหมาะสำหรับการปั๊มน้ำเสีย

ปั๊มน้ำ

ปั๊มน้ำสำหรับดับเพลิง อย่างที่ว่านำไปดับเพลิง หรืออัคคีภัย มักใช่ปั๊มเครื่องยนต์ไปใช้ เพราะเป็นปั๊มที่สามารถเคลื่อนที่ เคลื่อนย้ายได้สะดวก และใช้พลังงานจากน้ำมันเป็นแหล่งพลังงาน จึงเหมาะที่จะนำไปเป็นปั๊มน้ำสำหรับดับไฟ

ปั๊มน้ำ

ปั๊มน้ำสำหรับน้ำทิ้งหรือสารเคมี เป็นปั๊มที่มีอัตราการไหลที่แม่นยำ ตัวปั๊มมีขนาดเล็ก ใช้ปั๊มสารเคมี ที่ใช้พลังงานจาไฟฟ้า โดยการทำงานคือปั๊มสารเคมีลงถังที่มีความมิดชิด ปั๊มถูกควบคุมภายในปั๊ม มีสวิสซ์สำหรับปิด-เปิดเครื่องเพื่อให้มั่นใจเรื่องารทำงานของปั๊ม

นำไปใช้สำหรับท่อบาดาล มักนิยมใช้ปั๊มซับเมอร์ส หรือปั๊มบาดาล การใช้งานมักจุ่มหรือแช่ปั๊มลงไปในบ่อขุดเจาะบาดาล โดยใช้ไฟฟ้าจากสายเคเบิ้ลที่เชื่อมต่อกับปั๊มน้ำ

ปั๊มน้ำ

ปั๊มน้ำใช้กับอาคาร การใช้งานปั๊มประเภทนี้มักใช้ปั๊มเจ็ท ที่มีแรงดันปั๊มที่สูงกว่าปั๊มหอยโข่งทั่วไป ซึ่งปั๊มเจ็ท ทำงานโดยใช้พลังงานจากไฟฟ้า มีมอเตอร์ที่สร้างแรงดันอากาศดันน้ำขึ้นมาเพื่อจ่ายไปยังจุดทีีต้องการใช้งาน สามารถทำงานได้พร้อมกันและนาน

ปั๊มน้ำ

คุณสมบัติของ ปั๊มน้ำ

ปั๊มแต่ละแบบมีความสามารถที่ปั๊มน้ำได้ต่างกัน ซึ่งต้องดูตามสเปคของปั๊มน้ำ ปั๊มแต่ละแบบมีเหมาะกับการใช้งานที่ต่างกัน ดูได้ตามข้อต่อไปนี้

  1. อัตราการไหล หน่วยวัดเป็นลิตรต่อนาที (L / min) ซึ่งอัตราการไหลที่สูงขึ้นทำให้สามารถเคลื่อนย้ายน้ำได้มากขึ้นในช่วงเวลาที่กำหนด
  2. หัวปั๊มส่งน้ำสูงได้เท่าไหร่ หมายถึงระยะทางแนวดิ่งที่ปั๊มสามารถเคลื่อนย้ายน้ำได้ ปั๊มส่งน้ำเป็นตัวบ่งชี้ว่าปั๊มสามารถส่งน้ำได้ในระดับความสูงเท่าไหร่
  3. แรงดันน้ำ วัดเป็น PSI ความดันเกี่ยวข้องกับหัวปั๊มส่งน้ำ เนื่องจากความดันเป็นตัวกำหนดว่าน้ำสามารถเคลื่อนย้ายได้ไกลแค่ไหน
ปั๊มน้ำ

ความน่าเชื่อถือและคุณภาพของ ปั๊มน้ำ

ปั๊มน้ำมากมายในตลาด ตั้งแต่ราคาหลัก1,000ต้นๆ ไปจนถึง7,000 หรือมากกว่านั้น อย่างไรก็ตามหากคุณต้องการปั๊มที่ดี ควรเลือกชื่อแบรนด์ที่เชื่อถือได้ซึ่งใช้วัสดุและส่วนประกอบที่มีคุณภาพ คุณภาพของวัสดุที่นำมาใช้เป็นสิ่งสำคัญ

ปั๊มน้ำ

ประเภทเชื้อเพลิง ปั๊มน้ำ

ประเภทน้ำมันเชื้อเพลิง ปั๊มมีให้เลือกทั้งแบบน้ำมันเบนซินหรือดีเซล รุ่นที่ใช้น้ำมันเบนซินจะมีราคาที่ถูกกว่าและมักจะมีหลายรุ่นมากกว่า รุ่นดีเซลประหยัดน้ำมันกว่าและเหมาะกับการวิ่งเป็นระยะเวลานาน แต่ก็มีราคาแพงกว่าเช่นกัน น้ำมันดีเซลยังติดไฟได้น้อยกว่าน้ำมันเบนซินจึงปลอดภัยกว่า

ปั๊มน้ำ

เช็คราคา ปั๊มน้ำ ได้ทั้งหมดที่นี่

What do you think?

-2 Points
Upvote Downvote

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Loading…

0
ปั๊มซับเมอร์ส

ทำความรู้จัก ปั๊มซับเมอร์ส ว่าทำงานอย่างไร?

ปั๊มน้ำ

ปั๊มน้ำ แบ่งเป็นประเภทใดบ้าง?