รวม 6 สาเหตุอาการเสียของ ปั๊มน้ำอัตโนมัติ

ปั๊มน้ำอัตโนมัติ

คุณอาจจะเคยเจอกับปัญหาต่างๆกับการใช้งาน ปั๊มน้ำอัตโนมัติ ที่อาจจะส่งผลต่อการใช้งานน้ำในบ้านของคุณและอาจจะทำให้คุณเสียเวลาและค่าใช้จ่าย ซึ่่งบางทีอาจจะเพิ่มขึ้นตามปัญหาที่ไม่ได้รับการแก้ไขอย่างทันที นอกจากนั้นการใช้งานที่ไม่เสถียรนี้อาจจะส่งผลให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้งาน หรืออาจจะกลายเป็นอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นตอนใช้น้ำอยู่ก็เป็นได้ ดังนั้นคุณควรที่จะหมั่นสังเกตุควาผิดปกติและแนะนำให้คุณหมั่นดูแลรักษาปั๊มน้ำของคุณให้มีความสะอาดและอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้อยู่ตลอด

ปัญหาที่คุณอาจจะพบได้ในการใช้งานปั๊มน้ำอัตโนมัติที่ติดตั้งภายในบ้านมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัยที่มันอาจจะเป็นต้นสายปลายเหตุของอาการเสียของปั๊มน้ำได้เราได้รวมเอาปัญกาที่พบได้บ่อย ๆ สำหรับเครื่องปั๊มน้ำอัตโนมัติมาให้คุณได้ลองออ่านแล้วและจะมีอะไรบ้างลองอ่านกันดูได้เพื่อที่จะได้ไม่พลาดปัญหาสำคัญที่อาจจะเกิดขึ้นกับปั๊มน้ำของคุณในอนาคต

เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน

  1. อาการผิดปกติที่พบได้บ่อย ๆ ของปั๊มน้ำอัตโนมัติ
    1. ปั๊มน้ำไม่ทำงาน
    2. มอเตอร์น้ำผิดปกติ
    3. ปั๊มน้ำทำงานอยู่แต่มีเสียงแปลกๆ
    4. ปั๊มน้ำทำงานเปิด-ปิดตลอดเวลา
    5. ปั๊มทำงานปกติ แต่น้ำไหลน้อย ไม่ค่อยไหล
    6. เปิดก็อกน้ำแล้วแต่ปั๊มไม่เริ่มทำงาน
  2. เกร็ดความรู้เพิ่มเติมในการติดสายดิน ในปั๊มน้ำ
    1. ส่วนประกอบเบื้องต้นของสายดิน
    2. ข้อควรระวัง
  3. ข้อสรุป

1

ปั๊มน้ำอัตโนมัติ ผิดปกติ สาเหตุมาจากอะไรบ้าง

  1. ปัญหาปั๊มน้ำไม่ทำงาน

ปัญหาเมื่อปั๊มน้ำไม่ทำงานอาจจะเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุด้วยกันหากพอปัญหานที่ว่านี้สามาถระบุอาการเสียได้จากหลายสาเหตุ เช่น ไฟไม่เข้าเครื่องปั๊ม มอเตอร์เกิดไหม้ขึ้น ไฟช๊อตไฟกระชาก ทำให้ระบบปั๊มภายในเสียหาย ส่งผลโดยตรงทำให้ปั๊มน้ำไม่ทำงาน ซึ่งอาจจะเกิดจากมอเตอร์ร้อนจนเกินไป วิธีการแก้ไขปัฐหาเบื้องต้นคือ ให้คุณลองถอดปั๊กปั๊มน้ำ และปิดระบบไฟที่จ่ายเข้าปั๊มทั้งหมด แล้วจากนั้นลองถอดฝาครอบออกเพื่อทำการระบายความร้อน และสำรวจความเสียหายเบื้องต้นเพื่อหาสาเหตุต่อไป

  1. ปัญหามอเตอร์น้ำผิดปกติ

เมื่อสังเกตุได้ว่าส่วนของมอเตอร์ปั๊มน้ำ ส่งเสียงแปลกๆหรือมีความร้อนสูงโดยส่วนหนึ่งอาจจะมาจากการที่ปั๊มน้ำทำงานหนักกว่าปกติ คุณควรลองตรวจสอบเช็คดูว่าปั๊มน้ำมีอาการร้อนกว่าปกติซึ่งอาจจะเกิดจากน้ำสำรองในถังอาจจะหมดหรือแห้งเกินไป หากว่าเช็คดูแล้วว่าน้ำสำรองในถังหมดจริงๆต้องรีบทำการปิดเครื่องปั๊มทันทีเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหามอเตอร์ไหม้ที่จะตามมา

  1. ปั๊มน้ำทำงานอยู่แต่มีเสียงแปลกๆ

ถ้าหากว่าตัวปั๊มมีเสียงดังผิดปกติ หรือเสียงแปลกๆไปจากนั้นสาเหตุอาจจะเกิดมาจากหลายปัจจัยเช่น ปั๊มทำงานปกติแต่ไม่มีน้ำเข้ามาที่ตัวของปั๊ม หรืออาจจะมีเศษวัสดุอะไรบางอย่างเข้าไปติดในมอเตอร์ใบพัด อาจจะเป็นคราบตระกัน ให้ลองเปิดฝาครอบใบพัดน้ำเพื่อตรวจสอบดูว่ามีอะไรเข้าไปติดในนั้น ถ้ามีก็สามารถนำเอาวัสดุแปลกปลอมนั้นออกมาและทำความสะอาดให้เรียบร้อย

  1. ปั๊มน้ำทำงานเปิด-ปิดตลอดเวลา

สาเหตุใหญ่ ๆ ที่มักจะพบเมื่อเจออาการนี้คือมักจะเกิดจากระบบท่อภายในบ้านรั่วไหล ให้ลองทดสอบด้วยการปิดก๊อกน้ำทุกก๊อกภายในตัวบ้านหากยังได้ยินเสียงการทำงานบ่อยกว่าปกติ ก็อาจจะเดาได้เลยว่ามีน้ำรั่วภายในระบบท่อแน่นอน เมื่อตรวจสอบพบแล้วว่าการรั่วมาจากไหน ก็ควรรีบจะซ่อมแซมให้ทันที เพราะหากว่าปล่อยเอาไว้อาจจะทำให้ปั๊มทำงานหนักไปอย่างต่อเนื่องเรื่อย ๆ จนอาจจะเกิดความเสียหายเพิ่มขึ้นอีกได้

  1. ปั๊มทำงานปกติ แต่น้ำไหลน้อย ไม่ค่อยไหล

อาจจะเกิดจากมีอากาศแทรกเข้าไปในระบบท่อน้ำหรืออาจจะเกิดจากการอุดตันในส่วนของท่อน้ำหรือในเครื่องปั๊มเมื่อปั๊มมีอายุการใช้งานเพิ่มมากขึ้นให้ลองตรวจสอบดูว่าระบบท่อหรือหัวก็อกน้ำรั่วหรือแตกหรือไม่ หรือว่าจะอุดตันในส่วนอื่น ๆ หรือไม่พร้อมกับการเข้าซ่อมแซมอย่างทันท่วงทีเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายเพิ่มขึ้นมาอีก

  1. เปิดก็อกน้ำแล้วแต่ปั๊มไม่เริ่มทำงาน

อีกสาเหตุหนึ่งที่อาจจะทำให้ ปั๊มน้ำอัตโนมัติ ทำงานผิดปกติได้คือการเสียของ สวิทช์แรงดัน หรือ Pressure switch ที่เกิดผุพังได้ เช่นสริงในสวิทช์เกิดคลายตัวลงหรือสึกกร่อน เพราะอาจจะมีเศษฝุ่นตะกอนเข้าไปในระบบทำให้สวิทช์ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ เช่น ปั๊มเกิดเปิดปิดตัวเองเรื่อย ๆ อย่างไม่ทราบสาเหตุ เกิดแรงดันในถังความดันต่ำจนถึงขั้นคัตอินแล้ว แต่ปั๊มไม่เริ่มทำงานหรือปั๊มใช้งานได้ปกติแต่แรงดันน้ำที่จ่ายออกมาน้อยมากปั๊มเปิดไม่ติดและน้ำไม่ไหล

เพื่อความปลอดภัยอยู่เสมอของผู้ใช้งานเราขอให้ท่านหมั่นสังเกตุดูว่าปั๊มของท่านประสบกับปัญหาที่เขียนเอาไว้ข้างต้นนี้หรือไม่ถ้าท่านกำลังเจอกับปัญหานี้แล้วไม่สามารถแก้ไขเบื้องต้นได้เราแนะนำให้ท่านรีบปรึกษาช่างประปา เพื่อที่จะได้การแก้ไขที่ตรงจุดและมีประสิทธิภาพไม่ควรจะปล่อยปะละเลยปัญหาเหล่านี้จนอาจจะทำให้เกิดความเสียหายขึ้นต่อมาในอนาคต

2

เกร็ดความรู้เพิ่มเติมในการติดสายดิน ปั๊มน้ำอัตโนมัติ

คุณอาจจะเคยได้ยินมาบ้าง เกี่ยวกับเรื่องของการติดตั้งสายดินในอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน เพราะว่าอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านนั้น ไม่ว่าจะเป็น เครื่องสำหรับทำน้ำอุ่น ตู้เย็น ไมโครเวฟ เตาไฟฟ้า เครื่องซักผ้า หรือแม้จะเป็นเครื่องปั๊มน้ำนั้น หากท่านมีใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้อยู่แล้วภายในที่พักอาศัย ท่านคงไม่อยากมองข้ามอันตรายที่อาจจะเกิดจากไฟรั่วไฟช๊อตที่ทำให้ถึงชีวิตได้ดังนั้นการติดตั้งสายดิน จึงเป็นตัวเลือกที่จำเป็นอย่างยิ่งที่ควรคำนึงถึงเป็น ต้น ๆ อันดับแรกสำหรับการติดตั้งและใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในครัวเรือน

ทั้งนี้เพราะการติดตั้งสายดินนนั้น จะเป็นสิ่งสำคัญที่จะสามารถช่วยป้องกันผู้ใช้งานจากอันตรายที่อาจจะเกิด ในกรณีที่เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆในบ้าน นั้นเกิดปัญหาทำงานผิดพลาดหรือเกิดเหตุขัดข้อง เช่น ฉนวนหุ้มส่วนวงจรหรือสายไฟมีการเสี่อมสภาพ ขาดหรือแตกหัก จนอาจจะทำให้สายไฟไปสัมผัสกับส่วนต่างๆที่นำไฟฟ้าของเครื่องไฟฟ้านั้นๆขึ้น กระแสไฟฟ้าจะรั่วไหลมายังส่วนต่างๆเหล่านั้นได้และเมื่อผู้ใช้งานอาจจะบังเอิญเข้าไปสัมผัสเครื่องหรือ อุปกรณ์ไฟฟ้าในขณะที่มันกำลังทำงานอยู่ กระแสไฟฟ้าก็จะสามารถไหลผ่านตัวผู้ใช้งานลงสู่ดินได้ จนทำให้ได้รับอันตรายถึงชีวิตได้

ดังนั้นแล้วการต่อสายดินกับ ปั๊มน้ำอัตโนมัติ จึงส่วนที่จำเป็นที่จะ เป็นการป้องกันเหตุการณ์ไม่คาดคิดดังกล่าวที่อาจจะเกิดขึ้น โดยการติดตั้งสายไฟฟ้าต่อกับโครงสร้างส่วนที่สามารถนำไฟฟ้า ของอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านั้นนำลงสู่ดิน เพื่อให้เป็นทางผ่านของกระแสไฟฟ้าที่อาจจะรั่วไหลหรือแคลชออกมาจากอุปกรณ์ไฟฟ้าได้เมื่อมันเกิดเหตุขัดข้องขึ้น

ส่วนประกอบเบื้องต้นของสายดิน

  • สายดิน โดยซึ่งตามปกติแล้วจะเป็นลักษณะสายไฟสีเขียว ข้างในเป็นลวดทองแดงที่หุ้มด้วยฉนวน PVC
  • แท่งกราวด์ / หลักดิน มักจะทำจากเหล็กหุ้มด้วยทองแดง มีเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ประมาณ 16 มม. มีความยาวประมาณ 240 ซม. โดยที่การจะปักแท่งกราวด์ จะต้องปักให้จมลงไปในเนื้อดินจนมิด มีความลึกอย่างน้อย 75 ซม. และห้ามปักเอียงเกินกว่า 45 องศา

ปั๊มน้ำอัตโนมัติ กับข้อควรระวัง ในการต่อสายดิน

หากต่อสายดินลงดินโดยตรงที่เครื่องปั๊ม หรือไม่ได้ต่อเข้ากับสายเมนสวิทช์ อาจจะเกิดกระแสไฟรั่วไหลออกจากทางเดินหลักเส้นทางเดียว หากว่าเกิดกระแสไฟรั่วมีปริมาณเล็กน้อย ที่เกิดจากการเหนี่ยวนำ ก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าเกิดในกรณีที่มีไฟรั่วปานกลางถึงมากในลักษณะของการลัดวงจรนั้น กระแสไฟที่รั่วไหลลงดินจะไหลได้ไม่สะดวก ทำให้มีกระแสไฟเกินอยู่ในวงจรไฟฟ้าอยู่เป็นเวลานานซึ่งอาจจะมีผลเสียคือ

  • สายไฟและจุดต่อต่างๆในวงจรจะเกิดความร้อนและเกิดไฟไหม้ขึ้นได้ง่ายๆ
  • ภายในบ้านไม่ควรต่อสายดินลงมากกว่า 1 จุด เพราะอาจจะทำให้ไฟย้อนกลับได้
  • กระแสความร้อนทำให้ดินรอบๆหลักดินเปลี่ยนสภาพและแข็งตัว ความต้านทานที่หลักดินจะเพิ่มสูงขึ้นมาก แรงดันไฟฟ้าที่สายดินตอนไฟรั่วจะสูงขึ้นและเกิดอันตรายได้

ข้อสรุป

เมื่อ ปั๊มน้ำอัตโนมัติ ทำงานผิดปกติทำงานตัด-ต่อเอง เกิดการรั่วซึม ถังแรงดันผุ ซีลต่างๆของปั๊มหมดสภาพ หากว่าปั๊มปกติก็ต้องไล่ดูท่อน้ำระบบท่อต่างๆว่ามีจุดไหนรั่วซึม หรือว่าแตกหรือไม่ ถ้าระบบท่อฝังอบู่ในผนังให้สังเกตุดูว่าผนังบ้านมีรอยน้ำซึมหรือผนังฉ่ำน้ำมีลักษณะบวมปูดเป็นแนวยาว ถ้าเดินท่ออยู่บนฝ้าเพดาน ก็จะเห็นครายน้ำหยดหรือซึมเป็นบริเวณกว้างได้ หากว่าไม่พบท่อรั่วแต่อย่างใดก็ลองดูสุขภัณฑ์ ก๊อก วาวล์ต่างๆว่าเกิดเหตุรั่วซึมหรือไม่ อากาศซึมเข้าท่อด้านดูดเพราะอาจจะเกิดจากการอุดตัน ที่เข้ามาภายในท่อน้ำ

เช็คราคา ปั๊มน้ำอัตโนมัติ เพิ่มเติม

What do you think?

-8 Points
Upvote Downvote

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Loading…

0
ปั๊มน้ำ

วิธีเปลี่ยนและตั้งค่า Pressure Switch ปั๊มน้ำ

ปั๊มน้ำ

วิธีติดตั้ง สวิทช์ลูกลอย เข้ากับ ปั๊มน้ำ