ปั๊มหอยโข่ง มีหลักการทำงานยังไง มาดูกันเลย!

ปั๊มหอยโข่ง

ปั๊มหอยโข่ง คือ

ปั๊มหอยโข่ง (Centrifugal pump) เป็นปั๊มที่ใช้กันทั่วไป ในอุตสาหกรรม เกษตรกรรม โรงงานผลิตไฟฟ้าปิโตรเลียมและอุตสาหกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย ปั๊มน้ำชนิดนี้ที่เรียกว่าปั๊มหอยโข่งเพราะว่า ระบบการเหวี่ยงน้ำรูปร่างเหมือนหอยโข่ง โดยทั่วไปปั๊มหอยโข่งมีข้อดี คือมีเครื่องที่ขนาดเล็ก น้ำหนักเบา บำรุงรักษาได้ง่าย การสูบน้ำของปั๊มหอยโข่ง มักนิยมนำไปใช้กับงานที่ต้องการปริมาณการไหลของน้ำระดับ ปานกลางถึงมาก

ปั๊มหอยโข่ง

การทำงานของ ปั๊มหอยโข่ง

ปั๊มหอยโข่งทั้งหมดมีเพลาขับเคลื่อนใบพัด ประมาณ 1750 ถึง 3500 รอบต่อนาที ใบพัดจะอยู่บริเวณที่น้ำไหลผ่านตลอด ใบพัดจะทำหน้าที่หมุนทำงาน เกิดเแรงเหวี่ยงภายในปั๊มหอยโข่ง ดันให้น้ำที่ได้จากการปั๊มออกบริเวณช่องสำหรับน้ำออก และอีกส่วนหนึ่ง ใบพัดก็จะทำหน้าที่ปั๊มน้ำหรือดูดน้ำจากช่องสำหรับน้ำเข้า ด้วยแรงดันที่ได้จากหัวปั๊ม ลักษณะปั๊มหอยโข่งมีรูปแบบลักษณะที่มีความเพาะของปั๊ม ด้วยรูปทรงภายนอกและขั้นตอนการทำงานของปั๊มที่ทำให้เกิดอัตราการไหลของน้ำหรือของเหลวในปริมาณที่สูง (สูงกว่าปั๊มแบบทั่วไป) ซึ่งด้วยปั๊มหอยโข่งมีอัตราการไหลที่เร็วและมีปริมาณมาก การควบคุมอัตราการไหลจึงมีความสำคัญ วาล์วบนปั๊มหอยโข่งจะช่วยควบคุมอัตราการไหล ไม่ทำให้เกิดแรงดันสะสมในท่อมากเกินไป

อัตราการไหลของ ปั๊มหอยโข่ง

ปั๊มหอยโข่งสามารถควบคุมอัตราการไหลของน้ำได้ โดยมีวาล์วน้ำเป็นตัวควบคุมและการระบายน้ำออกประหยัดพลังงานที่ใช้มาก การติดตั้งก็ง่าย มีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นกับการติดตั้งในราคาที่น้อย แต่การควบคุมน้ำของปั๊มหอยโข่งมีข้อเสีย คือไม่ควรตั้งค่าอัตราการไหลของน้ำที่ต่ำกว่ามาตรฐานทั่วไป จะทำให้เกิดความร้อนสะสมในท่อส่งน้ำและตัวปั๊มหอยโข่งเอง ความร้อนที่เกิดขึ้นจะส่งผลทำให้เกิดการโก่งตัวของเพลาและเกิดการสึกหรอของแบริ่งและซีลภายในปั๊มมากขึ้น
ดังนั้น ควรควบคุมอัตราการไหลที่พอดี หรือใกล้เคียงกับมาตรฐาน จำนวนใบพัดและเส้นผ่าศูนย์กลางของใบพัด เป็นส่วนที่เพิ่มแรงเหวี่ยงให้เกิดความเร็วการไหลของน้ำ

ปั๊มหอยโข่ง

ความหนืดที่ใช้กับ ปั๊มหอยโข่ง

ปั๊มหอยโข่งถูกออกแบบมาเหมาะสมกับการใช้ปั๊มของเหลวที่มีความหนืดไม่มาก เช่นน้ำ ของเหลวที่มีความหนืด 10 – 20 wt หรือน้ำมันที่มีความร้อนไม่เกิน 20 – 27 องศา และเมื่อต้องการปั๊มน้ำ หรือของเหลวที่มีความหนืดเพิ่มขึ้นเกิน 30 wt จำเป็นต้องเพิ่มแรงม้าของปั๊มหอยโข่งให้แรงขึ้น จึงจะสามารถใช้ปั๊มน้ำ หรือของเหลวที่มีความหนืดมาก หรืออีกทางคือการเปลี่ยนปั๊มหอยโข่ง เป็นปั๊มประเภทอื่นแทน

ปั๊มหอยโข่ง

แรงม้าเท่าไหร่ เหมาะกับปั๊มหอยโข่ง

จำนวนแรงม้า เมื่อต้องเลือกใช้ปั๊มน้ำหรือของเหลว เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงก่อนซื้อปั๊มหอยโข่ง พิจารณาได้จากความหนืดของน้ำ หรือของเหลวที่ใช้ปั๊ม เพื่อให้เหมาะสมกับแรงม้าของปั๊มหอยโข่ง หรือลักษณะการใช้งานปั๊ม เช่น ใช้กับปุ๋ย หรือสารเคมีต่างๆในอุตสาหกรรม หรือของเหลวที่มีความหนาแน่นมากกว่า 3.78 กิโลกรัม

ปั๊มหอยโข่ง

แรงม้าที่เพิ่มขึ้น หมายถึง ปั๊มหอยโข่งสามารถปั๊มน้ำ หรือของเหลวที่มีความหนืดที่เพิ่มมากขึ้น เมื่อเพิ่มจำนวนแรงม้าจะต้องนำ 1.4 ไปคูณ ตัวอย่างเช่น หากต้องใช้มอเตอร์ 20HP ในการสูบน้ำ จึงจำเป็นต้องใช้ก็มอเตอร์ 30HP ในการสูบปุ๋ย (จริงๆแล้วได้จะ 28HP หรือก็คือ 1.4x20HP จะได้28HP แต่มอเตอร์ที่ใกล้เคียง28HP คือ 30HP ไม่แนะนำให้เลือกขนาดมอเตอร์ที่ต่ำกว่า

What do you think?

-3 Points
Upvote Downvote

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Loading…

0
ปั๊มหอยโข่ง

ปั๊มหอยโข่ง ประเภทและชนิดที่คุณต้องรู้

ปั๊มซับเมอร์ส

ทำความรู้จัก ปั๊มซับเมอร์ส ว่าทำงานอย่างไร?