ปั๊มหอยโข่ง การทำงานและ การอ่านค่ากราฟ ที่ต้องรู้ไว้ก่อนเลือกใช้งาน

ปั๊มหอยโข่ง

บทความนี้เราจะมาพูดถึง Centrifugal pump หรือ ปั๊มหอยโข่ง กันว่ามันคืออะไรมีการทำงานแบบไหน และอะไรบ้างที่ควรรู้ก่อนที่จะใช้งาน รวมถึงควัตถุประสงค์และความเหมาะสมกับงานประเภทต่างๆ โดยแบ่งออกเป็นหัวข้อให้ผู้อ่านได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น จากพื้นฐานจนลงลึกแบบเข้าใจง่าย ใครที่สงสัยหรือว่าอยากรู้จักกับมันก็ตามไปอ่านกันได้เลยแบบจัดเต็ม

ย้อนดูกันหน่อยว่า ปั๊มหอยโข่ง คืออะไร 

ขั้นแรกมาทำความรู้จักกับมันก่อน ปั๊มหอยโข่ง หรือ (Centrifugal pump) เป็นปั๊มน้ำชนิดหนึ่งที่ผู้คนนิยมใช้งานกันอย่างมากไม่ว่าจะเป็นในงาน เกษตรกรรม หรืองานสูบน้ำ บำบัดน้ำ หรือแม้กระทั่งในโรงงานอุตสาหกรรม มีการลักษณะทำงานคือ อาศัยแรงหมุนจากใบพัดที่จะสร้างแรงเหวี่ยงทำให้ของเหลวที่ไหลผ่านมีแรงดันเพิ่มขึ้นอย่างมาก ด้วยการทำงานที่ไม่ซับซ้อนนี้จึงเป็นที่นิยมใช้งานกันอย่างแพร่หลายในงานต่างๆรวมถึงภาคอุตสาหกรรม เพราะมักไม่ค่อยมีปัญหาและการซ่อมบำรุงที่ทำได้ง่าย ซึ่งโดยทั่วไปแล้วปั๊มหอยโข่งเหมาะสำหรับใช้งานกับของเหลวที่มีอัตราการไหลสูง เช่นน้ำ หรือน้ำมัน แต่หากว่าของเหลวนั้นมีความหนืดสูงอาจจะทำให้ประสิทธิภาพลดลงบ้างแต่สามารถชดเชยได้จากการเพิ่มแรงม้าที่มากกว่า 10-20 วัตต์ หรือต่อปั๊มสองตัวเข้าด้วยกัน

เลือกอ่านตามหัวข้อ

  1. หลักการทำงานเบื้องต้นของ ปั๊มหอยโข่ง
  2. ส่วนประกอบของปั๊มหอยโข่งกัน
  3. PERFORMANCE CURVE
  4. การอ่านตัวแปรในค่ากราฟ PERFORMANCE CURVE
  5. ตัวอย่างการอ่านค่า PERFORMANCE CURVE ในปั๊มน้ำ
  6. System Curve และ Performance Curve
  7. สรุป
  8. FAQ คำถามที่พบบ่อย

หลักการทำงานเบื้องต้นของ ปั๊มหอยโข่ง เป็นยังไง?

Centrifugal pump

ต้องย้อนไปในปี ค.ศ.1689 ปั๊มหอยโข่งถูกคิดค้นขึ้นโดย Denis Papin นักประดิษฐ์ชื่อดังชาวฝรั่งเศษที่ออกแบบการทำงานโดยใช้ใบพัด (Impeller) ดูดเอาน้ำเข้าโดยอาศัยแรงเหวี่ยงที่เกิดขึ้นภายในตัวเครื่องที่ถูกออกแบบให้เป็นรูปทรงก้นหอยและเหวี่ยงของแหลวออกไปตามแกนทิศทางการหมุน อธิบายง่ายๆคือของเหลวจะถูกดูดเข้ามาทางฝั่งของท่อขาดูดหรือ (Suction) จากนั้นของเหลวจะถูกเหวียงออกไปด้วยแรงหนีศูนย์ (Centrifugal force) ผ่านวาวล์ไปยังท่อขาออก (Discharge) จะเห็นได้ว่าขั้นตอนการทำงานไม่มีความซับซ้อนแต่อย่างใดเพียงอาศัยการทำงานของมอเตอร์และใบพัดที่ถูกติดตั้งไว้ภายในเครื่องปั๊มก็สามารภสร้างแรงดันได้อย่างมากแล้ว

ลองมาดูส่วนประกอบของปั๊มหอยโข่งกันว่ามีอะไรบ้าง?

ส่วนประกอบของปั๊มน้ำชนิดหอยโข่งไม่ส่วนสำคัญอยู่เพียงแค่ 5 ส่วนจะสังเกตุเห็นได้ว่าส่วนประกอบหลักจะมีน้อยกว่าปั๊มประเภทอื่น เพราะการออกแบบที่ทำให้ง่ายต่อการใช้งานและการซ่อมบำรุงทำให้การทำความเข้าใจปั๊มหอยโข่งทำได้ไม่ยากนัก เราลองมาดูกันดีกว่าว่าแต่ละส่วนประกอบทำหน้าที่อะไรบ้าง ไปเริ่มกันกับตัวที่ 1 เลย

Centrifugal pump Impeller
ใบพัด ถูกแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ

1. ใบพัด (Impeller)

ใบพัด ของปั๊มหอยโข่งถูกแบ่งออกอีกเป็นหลายรูปแบบ โดยมีหน้าที่ในการสร้างแรงเหวี่ยงน้ำ และแบ่งฟังก์ชั่นการทำงานออกไปอีกหลากหลายและตามกรณีต่างๆต่อไปตามความต้องการ ใบพัด ถูกแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบคือ

  • ใบพัดปิด (Closed Impeller)

เป็นรูปแบบของใบพัดที่มักจะใช้งานกันโดยทั่วไป มีลักษณะคือใช้แผ่นเหล็ก 2 ชิ้น ประกบกับใบพัดทำให้มีช่องว่างตรงกลางสำหรับการรองรับของเหลวทำให้การไหลมีประสิทธิภาพมากขึ้นตัวใบพัดนี้เหมาะสำหรับถ่ายเทน้ำสะอาดเท่านั้น

  • ใบพัดกึ่งเปิด (Semi-Open-Impeller)

ใบพัดชนิดนี้จะมีความต่างกับใบพัดอื่นๆเพียงเล็กน้อยส่วนของแผ่นเหล็กที่ติดกับใบจะลดลงเหลือแค่ 1 ชิ้นทำให้ประสิทธิภาพการทำงานอาจจะต่ำกว่าแบบปิดเล็กน้อย แต่ออกแบบมาเพื่อให้สามารถรองรับของเหลวที่มีวัสดุหรือเศษต่างๆผ่านเข้ามาข้างในเครื่องได้บ้างบางส่วนเหมาะสำหรัยการสูบน้ำในงานเกษตรกรรม

  • ใบพัดแบบเปิด (Open Impeller)

เป็นรูปแบบใบพัดที่มีเพียงใบพัดอย่างเดียวไม่มีแผ่นเหล็กมายึดทำให้สามารถใช้รองรับการผ่านของของเหลวที่มีอนุภาคขนาดใหญ่ผ่านไปได้ แต่แรงดูดจะน้อยลงอย่างมากเพื่อป้องกันใบพัดจากการถูกวัตถุชนเพื่อไม่ให้ใบพัดหัก

การเลือกใช้งานใบพัดแต่ละประเภทต้องพิจรณาจากปัจจัยหลายอย่าง และยังมีข้อสังเกตุอีกหนึ่งอย่างคือ การแบ่งใบพัดได้ออกเป็น 3 ประเภทหลักๆคือRadial flow impeller ขาเข้าและขาออกจะแตกต่างกัน 90 องศา Mixed flow impeller ขาเข้าขาออกจะแตกต่างกัน 45 องศา และ Axial flow impeller ขาเข้าขาออกจะเป็นมุมเดียวกัน

2. ชุดห้องปั๊ม (Pump Casing)

ชุดห้องปั๊ม ทำหน้าที่รับของเหลวที่ปล่อยออกมาจากท่อขาเข้าผ่านมายังใบพัด ตัวห้องได้รับการออกแบบให้มีพื้นที่เป็นลักษณะโค้งมนและแคบเพื่อทำหน้าที่เปลี่ยนความเร็วของการไหลของของเหลวที่มาจากใบพัด โดยเปลี่ยนแรงเหวี่ยงให้กลายเป็นแรงดันขณะส่งของเหลวออกสู่ทางวาวล์ปั๊มขาออก ชุดห้องปั๊มมีหลายรูปแบบ ส่วนมากจะมีลักษณธเป็นก้นหอย แยกย่อยออกไปอีกเป็นแบบเดี่ยว ก้นหอยคู่ และตัวกระจายลม

3. ซีลคอเพลากันรั่ว (Shaft Seal)

ซีลกันรั่วหรือ Shaft seal ถือว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญมากๆของปั้มหอยโข่งเลย เพราะว่าหน้าที่ของ shaft seal ถูกออกแบบมาเพื่อกันของเหลวซึมหรือไหลจากปั้มที่มีความดันสูง รั่วออกไปด้านนอกของตัวปั๊ม เพราะหากของเหลวไหลหรือซัมออกไปแล้วนั้นเป็นสารอันตรายที่สามารถ ติดไฟได้ จะต้องมีการออกเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการรั่วไหล ซึ่ง Shaft seal มีการออกแบบอยู่ 2 แบบด้วยกันคือ

  • แบบ ปะเก็นเชือก (Packing Seal) กระบวนการปิดปะเก็นเพื่อป้องกันการรั่วซึมในสมัยแรกๆ ค่อนข้างง่าย โดยใช้เทคนิคคล้ายการร้อยเชือก (แต่ในความเป็นจริงแล้วเป็นเชือกบรรจุที่ทำจากวัสดุทนความร้อนสูง เช่น ไม่มีแร่ใยหิน แร่ใยหิน อะรามิด) PTFE หรือกราไฟท์) เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับการพันเชือกรอบเพลาและปิดผนึกด้วยชุดต่อมเพื่อยึดให้แน่น
  • แบบ (Mechanical Seal) แมคคานิคอลซีล เป็นวิธีการขั้นสูงในการป้องกันการรั่วไหลเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการเริ่มแรก การป้องกันการรั่วไหลชนิดนี้สามารถทนต่อแรงดันและอุณหภูมิสูงได้และที่สำคัญการรั่วซึมนั้นแทบไม่มีความสำคัญเลย อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาแมคคานิคอลซีลจะสูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการเริ่มแรก หลักการเบื้องหลังแมคคานิคอลซีลมีดังนี้

4. ตลับลูกปืน หรือ แบริ่ง (Bearing)

ตลับลูกปืน หรือที่เรียกว่าแบริ่ง (Bearing) เป็นส่วนประกอบที่ออกแบบมาเพื่อรองรับการเคลื่อนที่ของเพลา ช่วยให้ทำงานได้อย่างราบรื่นทั้งในทิศทางแนวรัศมีและแนวแกน หน้าที่หลัก ได้แก่ การแบกน้ำหนักและแรงส่ง ที่เกิดจากเพลาหมุนหรืออุปกรณ์หมุนไปยังลูกเหล็กที่อยู่ภายใน นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ลดแรงเสียดทานระหว่างพื้นผิวสัมผัส ทำให้เพลาหมุนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมีอยู่ 2 ประเภท คือ แบบเม็ดกลม และแบบทรงกระบอก

5. เพลา (Shaft)

เพลา หรือ (Shaft) บางครั้งถูกเรียกว่าสปินเดิล มีหน้าที่เป็นตัวกลางส่งกำลัง จากแหล่งกำเนิดที่ขับเคลื่อน เช่น มอเตอร์หรือเครื่องยนต์เพื่อส่งแรงไปยังใบพัด ในกรณีของปั๊มหอยโข่ง ส่วนของเพลาต้องได้รับการออกแบบให้ทนทานต่อแรงต่าง ๆ เช่น แรงบิดต่างๆ โมเมนต์การดัด หรือแรงเฉือน ยิ่งไปกว่านั้น ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดการออกแบบมาตรฐาน เช่น ปั๊ม API จะมีเพลาที่ออกแบบโดยมีปัจจัยด้านความปลอดภัย (S.F.) ที่สูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับปั๊ม ANSI 

การอ่านค่ากราฟ PERFORMANCE CURVE ของปั๊มก่อนการเลือกซื้อ

ปั๊มน้ำ จะเหมาะกับงานมั้ยเราจะสามารถรู้ถึงประสิทธิภาพการทำงานของปั๊มน้ำได้อย่างไร ต้องอาศัยการดูผ่านกราฟ Performance curve ของปั๊มนั้นๆโดยกราฟจะ ช่วยให้เข้าใจความสามารถในการทำงานของปั๊มภายใต้สถานการณ์ต่างๆได้ โดยเส้นต่างๆของกราฟ จะให้ข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับลักษณะการทำงานของปั๊มที่เปลี่ยนไปตามอัตราการไหลของแรงส่ง (Head) และปริมาณการไหล (Flow) ซึ่งเป็นพื้นฐานในการพิจารณาว่า ปั๊มรุ่นนี้จะเหมาะกับการใช้งานในงานของคุณหรือไม่ หรือเมื่อนำไปใช้งานจริงแล้วจะเกิดปัญหาอะไรบ้าง บทความนี้จะอธิบายให้ฟังกันเกี่ยวกับการอ่านค่าและการทำงานของปั๊มน้ำคร่าวๆ

การอ่านตัวแปรในค่ากราฟ PERFORMANCE CURVE มีอะไรบ้าง

PERFORMANCE CURVE
  1. FLOW – ค่านี้เป็นเส้นแกน X ที่แสดงค่าอัตราการไหลของน้ำ บอกค่าความสามารถในการสูบน้ำเข้าและปล่อยออกว่าอยู่ที่ปริมาณเท่าไหร่ เส้นกราฟเริ่มต้นที่ค่า 0 ไปจนถึงค่าที่ทำได้สูงสุดที่ปั๊มนั้นๆสามารถทำได้ซึ่งจะมีหน่วยการวัดเป็น ลิตร/นาที (L/S) และแบบ ลูกบาศก์เมตร/ชั่วโมง (m³/hr) ซึ่งสามารถใช้ดูค่า Flow rate เบื้องต้นได้
  2. HEAD – ค่านี้อยู่ในเส้นแกน y เป็นเส้นที่แสดงค่ากำลังสูง หรือแรงส่งจากพื้นขึ้นสูงสุดของน้ำ หรือก็คือแรงดันน้ำว่าสามารถส่งได้สูงที่เท่าไหร่ โดยค่าแรงดันนี้จะแสดงหน่วยวัดเป็น เมตร (m.) และฟุต (ft.) และยังเป็นแกนเริ่มต้นการวัดประสิทธิภาพในกราฟอีกด้วย
  3. Shut off Head – จุดนี้จะเป็นตัวแสดงค่าขีดความสามารถของค่าสูงสุดของค่า HEAD ที่ทำได้โดยจะมีจุดเริ่มต้นเส้นกราฟที่ 0 โดยการวัด PERFORMANCE จะทำโดยเริ่มจากเส้นนี้
  4. Pump Curve – เป็นจุดที่จะแสดงค่าอัตราการไหล FLOW เทียบกับค่าแรงดัน HEAD โดยจะมีค่าผันแปรไปตามขนาดของใบพัดที่ติดตั้งไว้ภายใน
  5. POWER – ส่วนนี้บอกถึงค่าความสามารถของปั็มที่จะแสดงในรูปแบบของเส้นกราฟ ผันแปรตามขนาของใบพัดเช่นกัน แสดงค่าหน่วยวัดเป็น กิโลวัต์ หรือบางกราฟจะแสดงเป็นแรงม้า 
  6. Efficiency – สำหรับแสดงความหนาแน่นของตัวกลางผ่านการไหลและการยกของเหลวหรือน้ำและเพื่อนำไปคำนวณประสิทธิภาพของกำลังเพลาขับของมอเตอร์โดยจะแสดงค่า เป็น เปอร์เซ็น (%) โดยจะสัมพันกันกับอัตราการไหลและแรงดันของปั๊มน้ำ
  7. Best Efficiency Point (BEP) – ประสิทธิผลในการใช้งานปั๊มว่าทำได้สูงสุดแค่ไหนโดยจะเป็นจุดที่แสดงค่าความสัมพันธ์ระหว่าง กำลังที่ปั้มส่งให้ของเหลว (PH) ตามด้วยกำลังที่ส่งไปที่เพลาขับ หรือ BHP (P2) ซึ่งถ้าดูจากในกราฟข้างต้นปั๊มน้ำจะอยู่ที่ 64%
  8. NPSHr (Net Positive Suction Head) – จุดที่บอกถึงขีดความสามารถในการดูดน้ำของปั๊มให้ขึ้น หรือวัดว่าจะสามารถดูดน้ำได้ลึกเท่าไหร่ โดยจะมีการนำค่าเหล่านี้ไปคำนวณร่วมกับ ค่า NPSHa เพื่อติดตั้งปั๊มน้ำ ป้องกันไม่ให้เกิด Cavitation เมื่อปั๊มน้ำหอยโข่งทำงานตามปกติแรงดันของน้ำจะลดลงจากทางเข้าของปั๊ม ไปยังทางเข้าของใบพัด ใกล้กับทางเข้าของใบพัดความดันของน้ำจะต่ำที่สุด เมื่อใบพัดหมุน ความเร็วใบพัดสูงจะทำงานกับของเหลวซึ่งจะเพิ่มพลังงานและความดันของน้ำ ซึ่งเป็นสาเหตุ จะทำให้ใบพัดเกิดการสึกกร่อนได้
  9. Impeller size – ขนาดของใบพัด เมื่อนำมาติดตั้งภายในเครื่อง โดยจะเปรียบเทียบไปตมขนาดเล็กสุดไปจนถึงความกว่าสูงสุดที่สามารถใส่ไปในเครื่องปั๊มได้ มีหน่วยวัดขนาดเป็น มิลลิเมตร(mm.)

ตัวอย่างการอ่านค่า PERFORMANCE CURVE ในปั๊มน้ำ

PERFORMANCE CURVE

ในการเลือกใช้งานปั๊มน้ำว่ามีประสิทธิภาพหรือไม่ ก่อนอื่นคุณต้องเข้าใจอัตราการไหล (Q) และอัตราแรงดัน (H) เมื่อทราบค่าเหล่านี้แล้วให้อ้างอิงมันเข้ากับเส้นโค้งของปั๊ม โดยจุดที่จุดตัดกันทั้งสองนี้แสดงถึงตำแหน่งการทำงานที่เหมาะสมที่สุดในเรื่องความสามารถ ความจุที่ต้องการที่แรงดันจ่ายหรือเลือกให้เหมาะกับหัวจ่ายที่กำหนด ตัวอย่างเช่น

PERFORMANCE CURVE

เมื่อคุณทำการเปรียบเทียบและอ่านค่ากราฟอย่างง่ายๆ ตามรูปนี้ปั๊มน้ำที่ใส่ใบพัดขนาด 264 มิลลิเมตร หรือขนาด 26.4 เซนติเมตรนั้นปั๊มจะมีอัตราแรงดันน้ำที่ (H) HEAD = 25 เมตร(m.) และจะสามารถส่งอัตราการไหล (Q) FLOW ได้ที่ 6 ลูกบาศก์เมตร/ชั่วโมง (m³/hr) ในขณะที่ปั็มเปิดใช้งานเต็มกำลัง

System Curve และ Performance Curve

ซึ่งการหาค่าของปั๊มน้ำจะมีอีกเส้นหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือ เส้น ที่เรียกว่า System Curve คือเส้นที่แสดงคุณลักษณะของระบบท่อ เช่น แรงเสียดทาน ความต้านทานของอุปกรณ์ และความสูง เป็นต้น กราฟนี้สร้างขึ้นโดยการทดสอบและวางแผนประสิทธิภาพของปั๊มที่จุดปฏิบัติงานต่างๆ ทำให้สามารถทำเส้นสองเส้นจากกราฟมาคำนวณหาค่าจาก จุดตัดกันของ System Curve และ Performance Curve ได้ดังรูป

System Curve และ Performance Curve
  • System Curve

เส้นโค้งของระบบแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการไหลผ่านระบบสูบน้ำและหัวรวมที่ต้องการโดยระบบนั้นโดยคำนึงถึงความต้านทานต่อการไหลในระบบ รวมถึงปัจจัยต่างๆ เช่น แรงเสียดทานของท่อ การเปลี่ยนแปลงระดับความสูง ข้อต่อ และการสูญเสียทางไฮดรอลิกอื่นๆ เมื่ออัตราการไหลผ่านของน้ำในระบบเกิดการเปลี่ยนแปลง ค่าทั้งหมดที่ต้องการก็จะเปลี่ยนแปลงไปด้วย ส่งโดยตรงกับเส้น System Curve ซึ่งโดยทั่วไปจะเพิ่มขึ้นตามอัตราการไหลที่เพิ่มขึ้น

  • Performance Curve

กราฟประสิทธิภาพหรือที่เรียกว่ากราฟปั๊ม แสดงให้เห็นความสามารถของปั๊มในการส่งอัตราการไหลที่เท่าไหร่ มีแรงดันแค่ไหน เส้น Performance Curve ของปั๊มโดยทั่วไปจะรวมถึงจุดประสิทธิภาพที่ดีที่สุด (BEP) ของปั๊ม ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดที่เท่าไหร่

  • จุดทำงาน 

เป็นช่วงของอัตราการไหลและเฮดที่ปั๊มสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเชื่อถือได้เรียกว่าช่วงการทำงานของปั๊ม สิ่งสำคัญคือต้องแน่ใจว่าปั๊มทำงานภายในช่วงนี้เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาต่างๆ เช่น การเกิดโพรงอากาศหรือการใช้พลังงานมากเกินไปเมื่อเดินเครื่อง

จุดที่เส้นโค้งประสิทธิภาพของปั๊มตัดกับเส้นโค้งของระบบคือจุดทำงานของปั๊มภายในระบบเฉพาะ

เป้าหมายคือการเลือกปั๊มที่มีเส้นโค้งประสิทธิภาพสอดคล้องกับเส้นโค้งของระบบ เพื่อให้มั่นใจว่าการทำงานมีประสิทธิภาพและเชื่อถือได้ หากว่าเส้นโค้ง Performance Curve และ เส้นโค้งSystem Curve ไม่ตัดกัน หมายถึงอาจจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยน เช่น การเลือกปั๊มอื่นหรือการปรับเปลี่ยนระบบเพื่อให้ตรงกับปั๊มที่เลือกมากขึ้น


โปรแกรมคำนวณ Performance Curve ของปั๊มหอยโข่งอย่างง่าย

คำนวณเส้นโค้งประสิทธิภาพของปั๊ม

คำนวณ Performance Curve ของปั๊ม


สรุป

ปั๊มหอยโข่ง เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการขนส่งของเหลว โดยมีลักษณะการทำงานและส่วนประกอบหลัก ปั๊มหอยโข่งทำงานโดยการสร้างการหมุนเวียนของหอยโข่งภายในท่อหรือลำดับท่อ ซึ่งทำให้ของเหลวถูกดึงเข้ามาทางหนึ่งและถูกนำส่งไปทางอีกฝั่งหนึ่งของปั๊มสามารถปรับให้เหมาะกับการใช้งานต่าง ๆ ได้, เช่น การปรับความสูงของการไหล, การปรับอัตราการไหล, และปรับการทำงานในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างการทำงานและส่วนประกอบของปั๊มหอยโข่งทำให้มีประสิทธิภาพในการขนส่งของเหลวในหลายๆ งานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นในงานอุตสาหกรรม, บ้าน, หรือในการระบายน้ำ 

การอ่านกราฟ Performance Curve ของปั๊มน้ำเป็นขั้นตอนสำคัญในการเลือกซื้อ โดยมีข้อมูลที่สำคัญคือ Flow Rate (อัตราการไหล), Head (แรงดัน), และ Efficiency (ประสิทธิภาพ). Flow Rate บ่งบอกถึงประสิทธิภาพในการจ่ายน้ำ, Head บ่งบอกถึงความสามารถในการทำงานในเงื่อนไขที่ต่าง ๆ, และ Efficiency บ่งบอกถึงประสิทธิภาพในการแปลงพลังงาน. การเลือกปั๊มที่เหมาะสมจะช่วยลดการใช้พลังงานและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

บทความอืนๆที่น่าสนใจ

FAQ คำถามที่พบบ่อย

ปั๊มหอยโข่งมีการทำงานอย่างไร?

  • ปั๊มหอยโข่งทำงานโดยการสร้างแรงหมุนของของเหลวภายในท่อ แรงเหวี่ยงนี้ทำให้ของเหลวถูกดึงเข้ามาทางหนึ่งและถูกนำส่งไปทางอีกฝั่งหนึ่งของปั๊ม

สามารถปรับ ปั๊มหอยโข่งให้เหมาะกับการใช้งานได้อย่างไร?

  • ปั๊มสามารถปรับความสูงของการไหล, อัตราการไหล, และการทำงานในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างได้. นี้ทำให้เหมาะกับการใช้งานต่าง ๆ ในอุตสาหกรรม, บ้าน, หรือการระบายน้ำ.

การอ่านกราฟ Performance Curve สำคัญมั้ย

  • Performance Curve เป็นกราฟที่แสดงข้อมูลที่สำคัญของปั๊ม, เช่น Flow Rate (อัตราการไหล), Head (แรงดัน), และ Efficiency (ประสิทธิภาพ). การอ่านกราฟนี้ช่วยในการเลือกซื้อปั๊มที่เหมาะสม.

Flow Rate, Head, และ Efficiency คืออะไร?

  • Flow Rate บ่งบอกถึงประสิทธิภาพในการจ่ายน้ำ, Head บ่งบอกถึงความสามารถในการทำงานในเงื่อนไขที่ต่าง ๆ, และ Efficiency บ่งบอกถึงประสิทธิภาพในการแปลงพลังงานที่ทำได้สูงสุด

การเลือกปั๊มที่เหมาะสมทำไมถึงสำคัญ?

  • การเลือกปั๊มที่เหมาะสมช่วยลดการใช้พลังงานและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน. นั่นหมายถึงปั๊มที่สามารถทำงานได้ดีในเงื่อนไขที่กำหนด.

เช็คราคา ปั๊มหอยโข่ง ได้ที่นี่

What do you think?

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Loading…

0
ปั๊มน้ำ

วิธีติดตั้ง สวิทช์ลูกลอย เข้ากับ ปั๊มน้ำ

ปั๊มน้ำ

เคยสงสัยไหมว่า เนมเพลท ปั๊มน้ำ มันอ่านยังไง?