ปั๊มน้ำอัตโนมัติ ถังกลม ถังเหลี่ยม แตกต่างกันยังไง?

ปั๊มอัตโนมัติ

เนื่องด้วยรูปทรงของตัว ปั๊มน้ำอัตโนมัติ ที่เป็นที่นิยมใช้กันนั้นยังคงเป็นที่สงสัยและถกเถียงกันอยู่ว่าแบบไหนดีกว่ากันและมันมีความแตกต่างกันยังไง คนที่สนใจจะซื้อเพื่อนำไปติดตั้งใช้งานก็ต่างต้องมาชั่งใจกันกับการเลือกซื้อมาใช้ โดยในส่วนของบทความนี้เราจะมาอธิบายให้ความเข้าใจกับปั๊มน้ำทั้งสองรูปแบบนี้ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร มีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันมากน้อยแค่ไหน ทั้งในด้านของ ลักษณะทั่วไป ประสิทธิภาพ ความสามารถในการทำงาน และวัตถุประสงค์หลัก ๆ ของการใช้งานในสถาณะการของแต่ละพื้นที่อีกด้วย เอาล่ะถึงตรงนี้เราก็ไปเริ่มกันเลย

สารบัญ

  1. ทำความรู้จักกับปั๊มน้ำอัตโนมัติ แบบ “ถังกลม”
  2. ทำความรู้จักกับปั๊มน้ำอัตโนมัติ แบบ “ถังเหลี่ยม”
  3. ฟังก์ชั่นเสริมของปั๊มน้ำในปัจจุบัน
  4. วิธีเบื้องต้นง่าย ๆ ในการป้องกันไม่ให้ปั๊มน้ำเสียหรือชำรุด
  5. Q&A: ถาม-ตอบ อาการเครื่องปั๊มน้ำเสียเบื้องต้น

ปั๊มน้ำอัตโนมัติ แบบ “ถังกลม”

ปั๊มน้ำอัตโนมัติ

ชื่ออย่างเป็นทางการของมันคือ ปั๊มน้ำอัตโนมัติ แบบถังความดัน (Automatic water pump with pressure tank) ปั๊มชนิดนี้ถือได้ว่าเป็น ปั๊มน้ำอัตโนมัติ ในยุคแรก ๆ ที่ยังนิยมใช้งานกันภายในบ้าน ลักษณะการทำงานของปั๊มน้ำชนิดนี้คือการนำเอา น้ำ มาพักเก็บเอาไว้ภายในถังเหล็กของตัวเครื่อง “บางรุ่นอาจจะใช้วัสดุตัวเครื่องต่างกันไปตามยี่ห้อ” หรือ pressure tank โดยหลังจากนำน้ำเข้าไปพักในถังความดันได้ประมาณนึงแล้วก็จะทำงานโดยเมื่อน้ำและอากาศภายในถังเกิดความสมดุลกันแล้วก็จะทำให้เกิดแรงดันของอากาศที่ทำต่อน้ำ อธิบายง่าย ๆ คือใช้หลักการที่คล้ายกับการนำเอาน้ำใส่เข้าไปในลูกโป่ง ที่สูบลมเข้าไปด้วยในนั้นจนถึงปริมาณที่จำกัด เมื่อเราปล่อยหัวลูกโป่งน้ำก็จะถูกดันออกมานั่นเอง เช่นกัน เมื่อเราเปิดก็อกน้ำ หรือกิจกรรมอื่น ๆ เพื่อใช้สอยน้ำ น้ำในถังก็จะถูกแรงดันปล่อยออกมาไปตามท่อเพื่อไปยังจุดหมายต่าง ๆ ภายในบ้าน ด้วยความาแรงที่เพิ่มขึ้น เพราะถังความดันทำการบีบอัดอากาศเข้าไปด้วยทำให้เกิดการไหลของแรงดันน้ำนั่นเอง

โดยส่วนใหญ่แล้ว ปั๊มอัตโนมัติแบบถังกลม นี้ อาจจะมีปัญหาในเรื่องของความแข็งแรงของถังความดันที่มักจะเกิดการรั่วไหลของตัวถังอยู่เนือง ๆ เพราะสภาพการทำงานของตัวถังนั้นมีแรงดันกระทำต่อวัสดุตัวถังอยู่ตลอดเวลา สาเหตุที่อาจจะทำให้ถังเกิดรอยรั่วนั้นอาจจะมาจากปัจจัยภายนอกหลาย ๆ อย่างเช่นความร้อน และความชื้นซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ส่งผลต่อการผุกร่อนของแนวเชื่อมประกอบที่เสื่อมสภาพตามระยะเวลาการใช้งาน

อีกเคสนึงจะเป็นปัญหาด้านการติดตั้งใช้งาน ที่บางผู้ใช้ตั้งข้อสังเกตุกันว่าเมื่อใช้งานไปได้สักระยะก็มักจะต้องมาไล่น้ำออกจากถังแรงดัน และอาจจะมีอาการหยุดทำงานเป็นครั้งๆไป หรือติด ๆ ดับ ๆ ก็ต้องมานำน้ำในถังแรงดันออกถึงจะใช้ได้แต่เมื่อเปลี่ยนมาใช้การติดตั้งหใม่เเบบต่อท่อด้านดูดแทนถังเก็บน้ำบนดิน เปลี่ยนมาสูบน้ำจากถังเก็บน้ำที่ทำไว้ใต้ดินกลับไม่เคยมีปัญหาแบบที่กล่าวมาอาจจะต้องพิจรณากันอีกต่อ ๆ ไป เเต่มันก็ไม่ใช่ข้อเสียที่เลวร้ายถึงกับรับไม่ได้อะไรมากมาย

ข้อดีของ ปั๊มอัตโนมัติ แบบถังกลม / ถังความดัน

  • ปั๊มอัตโนมัติแบบถังกลมเหมาะสำหรับการใช้งานใน บ้าน อาคาร ที่ต่อน้ำเข้ามาผ่านถังเก็บน้ำที่อยู่ต่ำโดยการดูดเข้ามาโดยตรง เพราะจะมีอากาศผ่านเข้ามาด้วยในบางครั้งจะทำให้ไม่เกิดการเสียสมดุลระหว่างน้ำและอากาศที่อยู่ภายในถังความดัน ทำให้ไม่ต้องเสียเวลามาไล่น้ำออกจากถังเมื่อเวลาผ่านไป
  • ราคาเครื่องปั๊มอัตโนมัติ แบบถังกลมมีราคาถูกกว่าปั๊มน้ำแรงดันแบบคงที่อยู่มาก
  • ง่ายต่อการซ่อมแซมบำรุงรักษา จะทำด้วยตัวเองหรือช่างทั่วไปก็สามารถแก้ปัญหาได้
  • ในปัจจุบันตัวถังความดันที่เป็นแบบแสตนเลสที่มีความแข็งแรงและทนต่อสภาพอากาศมีผลิตมาใช้มากขึ้น และค่าอะไหล่มีราคาถูก และสามารถหาซื้อได้ง่ายตามร้านขายวัสดุก่อสร้างต่าง ๆ

ข้อเสียของ ปั๊มอัตโนมัติ แบบถังกลม / ถังความดัน

  • ใช้พื้นที่ในการติดตั้งอยู่พอสมควร เนื่องจากมีขนาดใหญ่กว่าแบบอื่น ๆ ดังนั้นควรวัดระยะพื้นที่ในการติดตั้งก่อน
  • หากตัวเครื่องใช้ถังแรงดันเป็นเหล็ก อาจจะเกิดโอกาศรั่วซึม และผุกร่อนได้เมื่อใช้ไปในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพราะความดันภายในถังขึ้นลงอยู่ตลอด ประกอบกับสภาพอากาศอีกด้วย
  • หากตัวถังความดันเป็นแสตนเลส แม้จะไม่เกิดสนิมหรือการผุกร่อนหมือนเหล็กก็ตาม แต่ก็อาจจะเกิดการรั่วไหลขึ้นได้ตามรอยตะเข็บที่เชื่อมตัวถังเอาไว้
  • ความแรงของแรงดันน้ำไม่ค่อยจะคงที่เท่าไหร่ เพราะการทำงานของเครื่องปั๊มน้ำชนิดนี้นั้น จะเป็นการนำน้ำเข้ามาเก็บไว้ในถังความดันพอได้ระดับหนึ่งแล้ว มอเตอร์ของเครื่องปั๊มจะเริ่มทำงานก็ต่อเมื่อความดันในถังจะลดลงจนถึงระดับหนึ่ง แล้วถึงจะเริ่มทำการสูบน้ำเข้ามาเพิ่ม ส่งผลให้ในช่วงเวลานี้ น้ำจะไหลอ่อนลง หรือไหลแรงขึ้นในบางครั้ง

ปั๊มน้ำอัตโนมัติ แบบ “ถังเหลี่ยม”

ปั๊มน้ำอัตโนมัติ

เมื่อดูในส่วนของ ปั๊มน้ำอัตโนมัติ แบบถังเหลี่ยมมาแล้วเราก็มาดูในส่วนของปั๊มน้ำแบบ “ถังเหลี่ยม” กันดูว่ามีความแตกต่างและมีข้อดีข้อเสียกันแบบไหน เริ่มที่ชื่อทางการของปั๊มชนิดนี้คือ ปั๊มแรงดันน้ำคงที่ หรือ (Constant pressure water pump) โดยการทำงานของปั๊มน้ำชนิดนี้ คือ การรักษาความดันให้คงที่อยู่ตลอดเวลา เพราะตัวเครื่องไม่มีถังความดันน้ำที่จะทำงานเมื่อความดันในถังลดลงจนถึงระดับหนึ่งแล้วจึงจะทำการสูบน้ำเติมเข้าไปในถังใหม่ ทำให้การปล่อยน้ำเป็นไปอย่างลื่นไหลไม่สะดุดเหมือนแบบถังกลม

โดยหลักการทำงานของ ปั๊มน้ำอัตโนมัติ ชนิดนี้การทำงานอาจจะไม่แตกต่างจากแบบถังกลมมากนักเพราะยังอาศัยการใช้ มอเตอร์ในการดูดน้ำเข้า แต่ที่แตกต่างกันคือการใช้กระปุกโลหะแบบพิเศษที่ข้างในจะประกอบไปด้วย ก๊าซไนโตรเจน(N2) หรือเรียกชื่อว่า แท้งค์ไนโตรเจนหรือบางผู้ผลิตอาจจะเรียกว่า Bladder tank โดยใช้คุณลักษณะเฉพาะของตัวก๊าซไนโตรเจนทีมีความทนต่อความร้อนสูง และอนุภาคจะมีความเสถียรมากกว่าอากาศทั่วไป โดยจะถูกอัดเข้าไปในกระบวนการผลิต และมีชั้นแผ่นยาง ไดอะเฟรม(diaphragm) ซึ่งมีความยืดหยุ่นและทนทานต่อความร้อน กั้นเอาไว้ตรงกลางระหว่าง น้ำ กับ ไนโตรเจนที่อยู่ภายในตัวถัง และทำงานควบคุมแรงดันโดยใช้อุปกรณ์ควบคุมแรงดันที่จะสร้างแรงดันอย่างต่อเนื่อสม่ำเสมอ

ซึ่งจะตัดปัญหาเรื่องน้ำเต็มถังแรงดัน โดยจะทำงานสร้างความดันทันทีเมื่อน้ำไหลออกจากปั๊มทันที จึงไม่เกิดแรงดันตกนั่นเองแม้ว่าคุณจะใช้น้ำพร้อมกันหลายที่ถ้าไม่เกินกำลังของปั๊มน้ำก็สามารถจ่ายออกมาอย่างสม่ำเสมอได้ครับเราลองมาดูข้อดีข้อเสียของปั๊มอัตโนมัติแบบถังเหลี่ยมกันดูบ้างว่าจะมีอะไรบ้าง

ข้อดีของ ปั๊มอัตโนมัติ แบบถังเหลี่ยม / ถังแรงดันคงที่

  • ไม่ต้องกังวลถึงตัวถังความดันจะรั่วที่อาจจะเกิดขึ้นจากปัจจัยต่างๆ จากตัวถังเองหรือจากสภาพแวดล้อม
  • สามารถให้แรงดันน้ำได้อย่างคงที่สม่ำเสมอ เพราะไม่ต้องรอให้มอเตอร์ทำงานเมื่อน้ำลดลง แต่แทนที่ด้วยการเพิ่มแรงดันเลยเมื่อเปิดใช้น้ำในทันที
  • ก๊าซไนโตรเจนไม่ต้องเติมเพิ่มสามารถใช้ได้ตลอดอายุการใช้งาน
  • ใช้พื้นที่ในการติดตั้งไม่มากตามขนาดของรุ่นนั้น ๆ

ข้อเสียของ ปั๊มอัตโนมัติ แบบถังเหลี่ยม / ถังแรงดันคงที่

  • หากว่าน้ำที่ถูกดูดเข้ามาภายในเครื่องปั๊มน้ำมีอากาศปนเข้ามาอยู่มากจะทำให้เกิดการทำงานหนักเพิ่มมากขึ้นของตัวเครื่อง และยังสามาถทำให้เครื่องร้อนขึ้นอีกด้วย
  • การซ่อมบำรุ่งรักษาอาจทำได้ยากและมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการค่อนข้างสูง
  • ราคาอะไหล่มีราคาสูงเช่นกัน และอะไหล่บางตัวก็อาจจะหาไม่ได้ง่ายๆตามร้านทั่ว ๆ ไป

โดยในปัจจุบันนั้นผู้ผลิตต่างๆก็ได้ออกรูปแบบใหม่ ๆ มาเป็นฟังก์ชั่นเสริมของแต่ละรูปแบบของปั๊มน้ำเพื่อเป็นการปิดจุดด้อยของปั๊มน้ำในด้านต่าง ๆ เพิ่มขึ้น เราจะมาแนะนำฟังก์ชั่นใหม่ ๆ ที่มีเข้ามาเพิ่มกันว่าจะมีอะไรบ้างไปลองดูกันเลย

ฟังก์ชั่นเสริมของปั๊มน้ำในปัจจุบัน

  • ถังแรงดันแบบเสตนเลส

การเลือกใช้วัสดุที่เข้ามาแทนเหล็กที่มีความแข็งแรงและยืดหยุ่นกว่าในการประกอบและยังคงทนต่อแรงดันและสภาพอากาศที่อาจจะทำให้เกิดการผุกร่อนได้ หรืออีกแบบอาจจะนิยมเป็นการใช้เหล็กกล้าไร้สนิมอีกด้วย

  • มอเตอร์แบบอลูมิเนียม

ด้วยวัสดุที่ทนทานและแข็งแรงประกอบกับสามารถระบายความร้อนออกได้ดี ทำให้ตัวเครื่องไม่เกิดผลเสียขึ้น อย่างเช่นการยุบจนผิดรูป สูญเสียแรงขับจากอากาศร้อน และอาจจะทำให้อุณหภูมิน้ำที่ผ่านเข้ามาสูงขึ้นไปด้วย ในปัจจุบันผู้ผลิตจึงนิยมใช้อลูมิเนียมมาเป็นส่วนประกอบของตัวเครื่องปั๊มน้ำอีกด้วย

  • ชุดควบคุมแบบ อินเวอร์เตอร์

โดยการประสานการทำงานให้มีประสิทธิภาพขึ้นด้วยวงจรอิเล็คทรอนิค ที่จะมีหน้าที่เข้ามาควบคุมส่วนต่าง ๆ เพื่อลดภาระของมอเตอร์เครื่องปั๊มน้ำ ส่งผลให้ใช้ไฟฟ้าน้อยลง และยังทำให้การปรับความดันของถังความดันเป็นไปอย่างราบรื่นมากยิ่งขึ้นอีกด้วยและเสียงเวลาเครื่องทำงานก็เงียบกว่าไม่ส่งเสียงรบกวนอีกด้วย แถมบางผู้ผลิตยังมีตัวรีเลย์ตรวจวัดอุณหภูมิของตัวเครื่องปั๊มน้ำไม่ให้ร้อนเกินไปจนอาจก่อให้เกิดความเสียหายได้โดยจะทำการหยุดการทำงานทันทีที่อุณหภูมิสูงขึ้นเกินขีดจำกัด

วิธีเบื้องต้นง่าย ๆ ในการป้องกันไม่ให้ปั๊มน้ำเสียหรือชำรุด

ปั๊มน้ำอัตโนมัติ

ในเมื่อเราได้ทราบถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นกับปั๊มน้ำของเราแล้วเรามาลองดูวิธีบำรุงรักษาเครื่องปั๊มน้ำของเราให้มีสภาพเหมาะสมกับการใช้งานได้นานมากขึ้นกันดีกว่า เพราะบางปัญหาสามารถป้องกันได้แต่เนิ่น ๆ เพื่อที่จะให้เครื่องปั๊มน้ำทำงานได้อย่างคงทนและมีประสิทธิภาพ

เริ่มกันอย่างง่าย ๆ โดยการหมั่นตรวจสอบหัวก็อกน้ำ ท่อน้ำ และระบบประปาภายในบ้าน อาคาร อย่าให้เกิดการรั่วไหลของน้ำ หรือเกิดการเสียหายของสุขภัณฑ์ภายใน จนเป็นเหตุที่ทำให้เกิดการรั่วไหลของน้ำอยู่ตลอดเวลา เพราะมันจะทำให้แรงดันภายในไม่เพียงพอและจะทำให้เครื่องปั๊มน้ำต้องดูดน้ำเข้ามาเพิ่มเรื่อย ๆ จนทำให้ปั๊มทำงานอยู่ตลอดเวลา ซึ่งอาจจะทำให้เครื่องเกิดความร้อน หรือ กินไฟจนเกิดไป จนเกิดความเสียหายกับตัวปั๊มน้ำได้ ดังนั้นจึงควรหมั่นดูแลสอดส่องอยู่เป็นเนือง ๆ และควรจะปิดน้ำเมื่อไม่ได้ใช้งานแล้วเสมออีกด้วย แต่ในบางครั้งตัวเครื่องเองก็อาจจะเกิดชำรุดขึ้นได้ตามอายุการใช้งานของมันเอง บางครั้งอาจจะพบว่าอะไหล่ของปั๊มน้ำได้เกิดการเสื่อมสภาพไปมากแล้ว และอาจจะไม่สามารถทำการแก้ไขได้ด้วยตัวเอง เราจึงขอแนะนำว่าให้ปรึกษากับช่างที่มีความรู้ด้านนี้เพื่อแก้ปัญหาเป็นดีที่สุด และหลีกเลี่ยงการใช้งานอะไหล่ที่ไม่ได้คุณภาพเพราะอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายกับตัวเครื่องอย่างมากในอนาคตได้

การติดตั้งควรจะติดตั้งปั๊มน้ำในที่ร่ม ไม่โดนแดน และ ตากฝนมาจนเกินไปและสถานที่ควรมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก และห่างจากทางสัญจร และควรทำฐานรองเครื่องปั๊มน้ำเพื่อให้ตัวปั๊มยกสูงขึ้นจากพื้นเล็กน้อย เป็นการหลีกเลี่ยงจากน้ำที่อาจจะท่วมขังได้  ควรใช้ฝาครอบตัวปั๊มเอาไว้เพื่อไม่ให้เศษสิ่งของต่าง ๆ ที่อาจจะเข้าไปขัดการทำงานของมอเตอร์หรือใบพัดปั๊มน้ำ การเลือกใช้ท่อไม่ควรเล็กหรือใหญ่เกินไปกว่าที่เครื่องระบุไว้ เพื่อที่ตัวปั๊มจะทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ข้อสำคัญคือไม่ควรต่อปั๊มน้ำเข้ากับท่อประปาโดยตรง เพราะจะเป็นการผิดระเบียบข้อบังคับการใช้น้ำของการประปา แนะนำให้ต่อเข้าไปที่ถังเก็บน้ำก่อนแล้วต่อท่อดูดเข้ากับถังเก็บน้ำ


Q&A: ถาม-ตอบ อาการเครื่องปั๊มน้ำเสียเบื้องต้น

water-pump.co

รวมปัญหาอาการชำรุดต่าง ๆ ที่พบได้บ่อย ๆ จากผู้ใช้งานเราได้รวบรวมมาเป็นการถามตอบ จะมีแบบไหนบ้างผู้ใช้งานเจอปัญหาแบบเดียวกันหรือไม่เรามาตอบให้เบื้องต้นในท้ายบทความนี้ เราหวังว่าจะสามารถช่วยให้ทราบถึงปัญหาเบื้องต้นไม่มากก็น้อย จะมีอะไรบ้างลองอ่านกันได้เลย

  1. ตัวปั๊มน้ำเดินเครื่องสลับกับหยุดทำงานบ่อยๆ  (กรณี ถังแบบกลม)
    • ตอบ : อากาศในถังความดันอาจมีน้อยเกินไป
    • การแก้ไขเบื้องต้น : ให้ทำการปิดเครื่องแล้วปล่อยน้ำออกจากถังแรงดันจนหมดและทำการเปิดเครื่องใหม่
  1. ปั๊มน้ำทำงานปกติ แต่น้ำออกมาน้อย ไม่ค่อยไหล
    • ตอบ : สาเหตุอาจจะเกิดจากมีอากาศซึมเข้าไปในท่อ หรืออาจจะเกิดจาการอุดตันของส่วนใดส่วนหนึ่งของท่อ
    • การแก้ไขเบื้องต้น : ให้ลองตรวจสอบดูเบื้องต้นว่ามีการรั่วไหลของส่วนท่อน้ำหรือหัวก๊อกน้ำ หรืออาจจะเกิดการอุดตันส่วนไหลของท่อหรือไม่และทำการซ่อมแซมแก้ไข
  1. เปิดก๊อกน้ำหรือใช้สุขภัณฑ์แล้วน้ำไม่ไหล ไม่มีการทำงานของมอเตอร์และไม่มีเสียงผิดปกติ
    • ตอบ : เกิดจากปลั๊กไฟหลวม สายไฟเครื่องปั๊มน้ำขาด น้ำจากแหล่งจ่ายน้ำไม่มีหรือไม่เพียงพอ ทำให้มอเตอร์ปั๊มน้ำร้อนเกินไปจนเกิดไหม้
    • การแก้ไขเบื้องต้น : เช็คดูว่าปลั๊กไฟหลวมหรือไม่ หรือว่าเกิดการขาดชำรุดของสายไฟ ตรวจสอบว่าน้ำที่มาจากแหล่งจ่ายน้ำมาปรกติ หรือมีเพียงพอหรือไม่ และในกรณีที่มอเตอร์ร้อนเกินไปจนไหม้ให้รอจนเย็นลงก่อนแล้วเครื่องจะเริ่มทำงานอีกครั้งเอง
  1. เปิดก๊อกน้ำหรือใช้สุขภัณฑ์แล้วน้ำไม่ไหล ไม่มีการทำงานของมอเตอร์ แต่มีเสียงดังผิดปกติ
    • ตอบ : อาจจะเกิดจากมีสิ่งแปลกปลอมติดอยู่ภายในปั๊มน้ำ
    • การแก้ไขเบื้องต้น : อาจจะต้องเปิดฝาครอบแล้วเช็คแกนมอเตอร์ว่าสามารถหมุดได้สะดวกหรือไม่

ทั้งนี้ก่อนจะซ่อมแซมก็ควรดูให้ดีก่อนว่า มิเตอร์มีการจ่ายน้ำเข้ามาอยู่หรือไม่ ถ้าไม่มีน้ำจ่ายเข้ามาก็แสดงว่าเกิดผิดปกติ หากว่าน้ำเข้ามาในปั๊มปกติให้ดูส่วนของท่อน้ำก่อนว่าได้เปิดวาล์วน้ำทิ้งเอาไว้รึเปล่า และดูการรั่วซึมหรือแตกว่ามีหรือไม่ก่อนจะดำเนินการซ่อมแซมต่อไป ถ้าเกิดเครื่องร้อนเกินไปให้เปิดผาครอบออกและรอให้เย็นลงแม้ว่าในปัจจุบัน ปั๊มน้ำอัตโนมัติ จะมีระบบตัดไฟอยู่แล้วเมื่อมอเตอร์ร้อนเกินไป หลังเครื่องเย็นลงแล้วให้ลองเปิดการทำงานของปั๊มดูอีกครั้ง

การดูแลและซ่อมแซมปั๊มน้ำสามารถทำด้วยตัวเองในเบื้องต้นได้ถ้าหากรู้ว่าสาเหตุเกิดจากอะไร แค่คอยสังเกตุการทำงานและดูแลตรวจสอบระบบน้ำในบ้านและอาคารเป็นอย่างดีและสม่ำเสมอก็สามารถเลี่ยงความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นได้และยังสามารถยืดระยะเวลาการใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านและอาคารได้ออกไปอีกเท่าตัว

เช็คราคา ปั๊มน้ำอัตโนมัติ ได้ที่นี่

What do you think?

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Loading…

0
ปั๊มน้ำ

จะเลือกใช้เครื่อง ปั๊มน้ำ แบบไหนดีให้เหมาะสมกับการใช้งาน

ปั๊มหอยโข่ง

วิธีการบำรุงรักษา ปั๊มหอยโข่ง ให้ใช้งานได้นานขึ้น