10 เคล็ดลับในการเลือก ปั๊มสระว่ายน้ำ และตัวกรอง

ปั๊มสระว่ายน้ำ

ปั๊มสระว่ายน้ำ เป็นหัวใจหลักที่สำคัญมาก ๆ ในทุกๆสระ โดยในทางเทคนิคแล้วปั๊มสระว่ายน้ำที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนั้นจะเป็นการใช้ปัํมชนิดที่เรียกว่า ปั๊มหอยโข่ง โดยการทำงานหลัก ๆ คือการสร้างแรงเหวี่ยงเคลื่อนมวลน้ำโดยอาศัย แรงหนีศูนย์กลาง สำหรับการไหลเวียนของระบบน้ำ เพลามอเตอร์ของปั๊มน้ำจะทำหน้าที่ส่งกำลังให้ใบพัดที่ถูกติดตั้งเอาไว้ภายในหมุนด้วยความเร็วพัดเอา น้ำที่ดูดเข้ามาออกไป การทำงานนี้ทำให้เกิดแรงดันลบหรือที่เรียกว่า ภาวะสุญญากาศ น้ำที่ไหลผ่านเข้ามาก็จะไหลด้วยความเร็วออกไปตามท่อส่งอีกด้านหนึ่งของเครื่องปั๊มน้ำ 

โดยจะดึงน้ำจากสระน้ำผ่านตัวสกิมเมอร์และท่อระบายหลัก ดันน้ำผ่านตัว กรองด้านขาออก และส่งกลับเข้าสระผ่านทางท่อส่ง โดยตัวกรองตัวดักเศษผมและเศษผ้า มอเตอร์ไฟฟ้า สามารถใช้ไฟ 110 หรือ 220 โวลต์และมีรอบหมุนที่ 3,450 รอบต่อนาที สามารถระบาย ความร้อนด้วยอากาศและควรใช้ความระมัดระวังป้องกันไม่ให้น้ำกระเด็นเข้าสู่มอเตอร์เพราะจะทำให้เกิดความเสีนหาย ใบพัดเชื่อมต่อกับปลายเพลาของมอเตอร์ เมื่อหมุนจะดึงน้ำผ่านท่อดักเศษผมและ เศษผ้าที่ส่วนท้ายของปั๊มที่มีตัวกรองติดตั้งเอาไว้ แล้วดันออกทางด้านบนของปั๊มใบพัดมีช่องเปิดขนาดเล็ก 

ปั๊มสระว่ายน้ำ

วิธีการเลือก ปั๊มสระว่ายน้ำ และการเลือกตัวกรองที่เหมาะสม 

  1. วัดขนาดสระของคุณ 
  2. คำนวณพื้นที่ 
  3. คำนวณน้ำในสระของคุณ 
  4. คำนวณอัตราการหมุนเวียนของน้ำขั้นต่ำ 
  5. คำนวณอัตราการไหลที่ทำได้สูงสุด 
  6. เลือกปั๊มสระว่ายน้ำที่เหมาะสม 
  7. เลือกตัวกรองที่เหมาะสม 
  8. ตัดสินใจเลือกตัวกรองทรายหรือตลับ 
  9. ดูรายละเอียดข้อมูลของผลิตภัณฑ์ 
  10. ควรเลือกตัวกรองที่มีขนาดใหญ่ไว้ก่อน 

เมือคุณสร้างสระว่ายน้ำก็จะต้องทำการติดตั้ง ปั๊มสระว่าย น้ำเอาไว้ตามความเหมาะสมเพื่อช่วยให้สระว่ายน้ำของคุณสะอาดอยู่เสมอและทำให้สระว่ายน้ำ ของคุณสามารถใช้งานได้อย่างสะดวกมีประสิทธิภาพ และสามารถลด ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบต่าง ๆ ของสระว่ายน้ำในอนาคตได้ 

1. วัดขนาดสระของคุณ 

ขั้นตอนแรกสำหรับการเตรียมตัวคือคุณควรจะต้องวัดขนาดสระว่ายน้ำของคุณเสียก่อน โดยสามารถวัดแบบง่าย ๆ โดยใช้ตลับเมตรหรือจะเป็นเครื่องวัดอื่น ๆ ก็สามารถทำได้โดยให้ทำการวัดความยาว ความกว้าง และความลึก ของสระว่ายน้ำ เน้นย้ำว่าคุณ ควรจะวัดความลึก ให้แม่นยำมากที่สุดเพราะส่วนนี้จะเป็นตัวบ่งชี้ว่าจะสามารถจุน้ำได้ปริมาณมากน้อยขนาดไหน และมีผลต่อการคำนวณอย่างต่อไปนี้ด้วย

2. คำนวณพื้นที่ 

ให้คุณทำการคำนวณพื้นที่ระนาบพื้นผิวของสระว่ายน้ำโดยการนำ ความยาวของสระน้ำที่วัดได้ คูณด้วยความกว้าง คุณก็จะได้พื้นที่ในระนาบพื้นผิวหน้าของสระว่ายน้ำได้แล้ว และสามารถไปถึงการคำนวณขั้นต่อไปได้ 

3.คำนวณน้ำในสระของคุณ 

ปั๊มสระว่ายน้ำ

เมื่อคุณมาถึงขั้นตอนนี้แล้วคุณต้องทำการคำนวนว่าสระว่ายน้ำของคุณนั้นมีความสามารถจุน้ำได้กี่แกลลอน ในเคสเบื้องต้นหากว่าสระว่ายน้ำของคุณมีรูปทรงเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า คุณก็สามารถจะใช้สูตรดังต่อไปนี้ทำการคำนวณตามได้เลย สูตรการหาค่าความลึก (ความตื้น+ความลึก/2=AD) สระสี่เหลี่ยมผืนผ้า (ยาว×กว้าง×สูง×7.5**หมายเหตุ1แกลลอนมีน้ำบรรจุอยู่ หนึ่งลูกบาสก์ฟุตซึ่งเท่ากับ 7.5**)ถ้าเกิดว่าสระน้ำของคุณไม่ได้เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าให้ลอง หาสูตรคำนวณแบบอื่น ๆ ซึ่งอาจจะมีการคำนวณปริมาตรของสระว่ายน้ำรูปทรงอื่น ๆ ได้ 

4. คำนวณอัตราการหมุนเวียนของน้ำขั้นต่ำ 

น้ำในสระน้ำของคุณควรจะต้องหมุนเวียนในทุก ๆ 8 ชั่วโมงโดยการหาอัตราการไหลขั้นต่ำโดยให้ใช้ปริมณความจุของสระว่ายน้ำของคุณ หน่วยเป็นแกลลอนและหารด้วย 8 และหลังจากได้ผลลัพธ์แล้วทำการหารผลลัพธ์อีกครั้งด้วย 60 ตัวเลขที่ได้ออกมานั้นคืออัตราการไหลขั้นต่ำของสาระน้ำคุณ 

5. คำนวณอัตราการไหลที่ทำได้สูงสุด 

ในขั้นต่อไปคุณจะต้องหาอัตราการไหลที่ทำได้สูงสุดของสระว่ายน้ำของคุณ โดยตัวที่กำหนดหลัก ๆ คือ ขนาดของท่อน้ำ โดยทั่วไปแล้ว ท่อน้ำขนาด 3 นิ้วสามารถจะรองรับน้ำได้ 150 แกลลอนต่อนาที ท่อขนาด 2 นิ้วจะรับส่งน้ำได้ 73 แกลลอนต่อนาที และท่อขนาด 1.5 นิ้วสามารถรับน้ำได้ 45 แกลลอนต่อนาที 

6. เลือก ปั๊มสระว่าย น้ำที่เหมาะสม  

มาถึงตอนนี้คุณก็พอจะได้รับข้อมูลของขนาดสระว่ายน้ำ ปริมาณน้ำในสระ อัตราการไหลสูงสุด ต่ำสุด แล้วก็สามารถจะเข้าไปที่ร้านจำหน่ายเพื่อเลือกดูปั๊มน้ำที่รองรับการทำงานตามขนาดสระน้ำของคุณได้ 

7. ควรเลือกตัวกรองที่เหมาะสม 

หากต้องการเลือกตัวกรองสระว่ายน้ำให้ได้ ให้ใช้พื้นที่ผิวของสระว่ายน้ำและดูแผนภูมิขนาดตัวกรองออนไลน์ได้ตามความสามารถที่ตัวกรองนั้น ๆ ทำได้ 

8. ตัดสินใจเลือกตัวกรองทรายหรือตลับ 

ตัดสินใจว่าคุณต้องการรูปแบบไส้กรองแบบที่สามารถกรองอะไรได้ อาจจะเป็นการกรองดินเบา (DE) ไส้กรองสำหรับทราย หรือไส้กรองแบบตลับ โดยในส่วนของไส้กรอง DE มีราคาแพงที่สุด แต่ได้น้ำในสระที่สะอาดที่สุด ไส้กรองแบบตลับนั้นสามาถดูแลง่ายที่สุด และหากทำความสะอาดทุก 4 ถึง 6 เดือน ตัวกรองก็จะมีอายุการใช้งาน 2 ถึง 4 ปี ส่วนตัวกรองทรายมีราคาถูกที่สุด แต่ก็ไม่สามารถทำความสะอาดน้ำได้ดีเหมือน DE และเช่นเดียวกับตัวกรองประเภท อื่น ๆด้วย 

9. ดูรายละเอียดข้อมูลของผลิตภัณฑ์ 

ควรจะตรวจสอบข้อมูลแบบจำเพาะของผู้ผลิตเพื่อให้คุณแน่ใจได้ว่า ปั๊มน้ำยี่ห้อนั้น ๆ หรือตัวกรองที่คุณกำลังจะเลือกซื้อ มีความเหมาะสมกับขนาดและการใช้งานสระว่ายน้ำของคุณได้ดีที่สุด 

10. ควรเลือกตัวกรอง ปั๊มสระว่ายน้ำ ที่มีขนาดใหญ่ไว้ก่อน 

เพื่อการบำรุงรักษาที่ง่ายและหลีกเลี่ยงความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต คุณควรเลือกตัวกรองที่ดีที่สุดและขนาดใหญ่ที่สุดที่ปั๊มของคุณสามารถรองรับได้ ตัวกรองที่มีขนาด ใหญ่สามารถทำการกรองเอาเศษต่าง ๆ ที่อยู่ในสระน้ำได้ดีกว่าและเกิดการอุดตันของท่อน้อย ลงไปด้วยและช่วยให้คุณไม่ต้องทำการเปลี่ยนใส้กรองบ่อย ๆ นั่นเอง 

การติดตั้ง ปั๊มสระว่าย น้ำที่ถูกต้อง 

ปั๊มสระว่ายน้ำ

การติดตั้ง ปั๊มสระว่ายน้ำ มีข้อดีคือทำให้น้ำในสระมีความใสสะอาด และมีความปลอดภัย การติดตั้งปั๊มสระว่ายน้ำและตัวกรองก็ควรจะคำนึงถึงความปลอดภัย และความสามารถในการทำงาน หรือฟีเจอร์ต่าง ๆ ของมันด้วย เราจึงควรทำความเข้าใจกับลักษณะการทำงานของปั๊มและควรจะ อ่านคู่มือการทำงานของเครือ่งปั๊มหรือระบบต่าง ๆ ให้เข้าใจอย่างละเอียด 

การติดตั้งตัวเครื่องปั๊มน้ำ ควรที่จะทำการติดตั้งให้อยู่ภายในบริเวณสระน้ำ หรือให้ใกล้สระน้ำมากที่สุดและจัดวางเอาไว้ในที่ที่เหมาะสมและควรมีความมั่นคงแข็งแรงเพื่อเป็นไปตามความปลอดภัยกับผู้ใช้งาน การเลือกเส้นผ่าสูญกลางของท่อน้ำ ที่จะใช้ควรจะมีขนาดใหญ่กว่าหรือเท่ากัน กับท่อน้ำผั่งขาออก หากเป็นไปได้ควรจะใช้ท่อดูดขนาดเส้นผ่าสูญกลางไม่เล็กกว่า 2 นิ้ว รางรับน้ำที่ล้นออกมา ควรจะมีความลึกอยู่ 0.20 เมตรคำนวณพื้นที่สำรองน้ำเมื่อกรณีที่มีผู้ลงใช้งานเต็มสระ โดยมีสูตรการคำนวณคือ สระน้ำต่อ 1 คนใช้พื้นที่ 1 ตรม. / 1 คน จะแทนที่น้ำ ประมาณ 75 ลิตร 75 x จำนวนคนที่ลงเต็มสระ = ส่วนของน้ำที่ต้องเตรียมพื้นที่สำรอง สระส่วนตัวต่อ 1 คนใช้จะพื้นที่คิดเป็น 2 ตรม. / 1 คน จะมีปริมาตรแทนที่น้ำอยู่ที่ประมาณ 75 ลิตร 75 x จำนวนคนที่ลงเต็มสระทำการคำนวนตามสูตร ( ขนาดสระ (ตรม.) ÷ 2 ) = น้ำที่ต้องเตรียมพื้นที่สำรอง

การต่อท่อในส่วนของข้อต่อต่าง ๆ ใช้เทปพันท่ออย่างพอประมาณไม่แนะนำให้พันเทปมากเกินไป อย่าใช้น้ำยาทาเกลียว หรือน้ำมันหล่อลื่นที่ส่วนผสมในนั้นมีปิโตรเลียมผสมอยู่เนื่องจากอาจจะทำให้ส่วนพลาสติกอาจจะแตกหักได้ ท่อที่ เดินภายในควรจะมีขนาด เหมาะสมเพื่อให้ตรงกับอัตราการไหลของระบบน้ำและควรติดตั้งวาวล์ เพื่อการตรวจสอบแรงไหล เพื่อป้องกันน้ำไหลย้อนกลับซึ่งถ้าเกิดเหตุน้ำย้อนกลับภายในท่อนั้นอาจจะส่งผล ให้เครื่องทำงานหนักกับเพลาและใบพัดเครื่องปั๊มน้ำได้ และอาจเป็นสาเหตุให้ใบพัดหมุนกลับด้าน และหลุดออกจากแกนเพลาก็ได้ 

หากความดันบนมาตรวัดแรงดันที่ด้านบนของตัวกรองมีค่าที่วัดได้ต่ำกว่าระดับที่แนะนำ และถ้าสังเกตุปริมาณน้ำที่ไหลกลับไปที่สระลดลง เป็นไปได้ว่าอาจจะเกิดใบพัดอุดตันหรือเสียหายขึ้นได้ สามารถระบุได้โดยการแยกส่วนประกอบ ที่ตัวเรือนใบพัดและตรวจสอบใบ พัดด้วยสายตา แผ่นดักเศษผมและเศษผ้าแบบพิเศษอยู่ที่ส่วนท้าย ของชุดปั๊มเพื่อป้องกันไม่ให้เศษผงเข้าไปในชุดใบพัด ภายในตัวดักเศษผมและเศษผ้ามีลักษณะเป็นตระแกง ซึ่งควรตรวจสอบและถ่ายเศษวัสดุออกอย่างน้อยสัปดาห์ละสองครั้ง หากตระแกงเกิดอุดตัน การไหลของน้ำเข้าปั๊มจะถูกจำกัด และปั๊มจะเริ่มดูดอากาศเข้าไปแทนน้ำเมื่อถึงจุดนี้ มอเตอร์จะเริ่มหมุนเร็วขึ้นและจะเกิดการไหม้ในที่สุด 

เพิ่มเติมเกี่ยวกับ การเติมคลอรีนและ ปรับค่าPHของน้ำ

ก่อนที่คุณจะทำการเติมคลอรีนลงไปในสระ ทุกครั้งควรคำนึงไว้เสมอว่าเวลาที่ดีที่สุด ในการเติมคือช่วงค่ำ หรือเวลากลางคืน เพราะว่าเวลากลางวัน น้ำมีอุณหภูมิสูงและแสงอาทิตย์ จะทำให้สารคลอรีนระเหยตัวได้ไวมาก ควรใส่คลอรีนในอัตราส่วน 300 กรัมต่อจำนวณน้ำ 100 คิว ก็จะทำให้น้ำภายในสระมีค่าคลอรีนประมาณ 1.0-1.5 ppm. และควรรักษาค่าความเจอปนในน้ำ ไว้ไม่ให้ค่า คลอรีนต่ำกว่า 1.0 pp. เพราะฉะนั้นควรใส่คลอรีนลงไปในสระอย่างเหมาะสม โดยปกติแล้วแนะนำให้มีการเติม คลอรีนลงไปในสระทุกวัน เพราะว่าอาจจะมีผุ่นละออง ตระไคร่น้ำ หรือ แบคทีเรียมาฟัก ตัวอยู่ในน้ำอาจจะทำให้น้ำไม่สะอาดและเกิดขุ่นมัวขึ้นโดยทั่วไปแล้วค่ามาตรฐาน ph สำหรับสระว่ายน้ำนั้นจะอยู่ที่ PH=7.4 หรือระหว่าง 7.2-7.6 โดยควรวัดค่า PH อยู่เสมอ เพราะถ้าต่ำกว่า 7.2 แล้วจะทำให้ สารคลอรีนสลายตัวไปอย่างรวดเร็ว และอาจจะส่งผล ให้เมื่อลงเล่นน้ำเกิดแสบตาได้

เช็คราคา ปั๊มสระว่ายน้ำ ได้ที่นี่

บทความอื่น ๆ เพิ่มเติม- จะเลือกใช้เครื่อง ปั๊มน้ำ แบบไหนดีให้เหมาะสมกับการใช้งาน

What do you think?

-1 Points
Upvote Downvote

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Loading…

0
ปั๊มซับเมอร์ส

ปั๊มซับเมอร์ส มีกี่ประเภท ใช้งานแบบไหนได้บ้าง

วิธีเลือก ปั๊มดูดน้ำมัน และการใช้งานแบบเข้าใจง่าย