ปั๊มซับเมอร์ส มีกี่ประเภท ใช้งานแบบไหนได้บ้าง

ปั๊มซับเมอร์ส

บทความนี้เราจะมาแนะนำการทำงานเบื้องต้นของ ปั๊มซับเมอร์ส ที่มีการใช้งานอยู่ในปัจจุบันว่ามีการทำงานและการนำไปประยุกต์ใช้ในงานประเภทไหนได้บ้างรวมถึงข้อดีข้อเสียของปั๊มชนิดจะมีด้านไหนที่เป็นจุดที่ได้เปรียบและเสียเปรียบรวมไปทั้งบอกถึงวิธีการบำรุงรักษาและข้อควรระวังในการใช้งานปั๊มชนิดนี้ว่ามีอะไรที่ควรระมัดระวังเพื่อความปลอดภัยถ้าพร้อมแล้วสามารถเข้าไปเลือกหัวข้อที่จะอ่านกันได้เลย

เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน

  1. ปั๊มซับเมอร์ส คืออะไร? 
  2. ประเภทการใช้งานที่พบในปัจจุบัน 
  3. สิ่งที่ควรรู้ก่อนจะเลือกซื้อปั๊มซับเมอร์ส
  4. ข้อดี – ข้อเสีย ของปั๊มซับเมอร์ส 
  5. ข้อแนะนำ-ควรปฏิบัติตามคู่มือที่แนบมาด้วย 

ปั๊มซับเมอร์ส คืออะไร? 

ปั๊มซับเมอร์ส

ปั๊มซับเมอร์ส หรือ (Submersible Pump) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสูบขนย้ายน้ำ หรือของเหลวต่าง ๆ ที่จะต้องทำตัวเครื่องไปติดตั้งหรือวางไว้ในน้ำ หรือของเหลวนั้น ๆ เช่นน้ำไปติดตั้งไว้ใต้ดินเพื่อทำการสูบน้ำบาดาล ที่มีความลึกตั้งแต่ 10 เมตรจนถึง 100 เมตรขึ้นไป โดยหลัก ๆ แล้วปั๊มซับเมอร์สนี้มีส่วนประกอบที่สำคัญอยู่ 2 ส่วน คือส่วนใบพัด และ ส่วนของมอเตอร์ โดยรูปทรงของใบพัดและจำนวนนั้นจะมีอยู่หลากหลายแบบ เพื่อใช้กับงานแต่ละประเภทแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์รวมถึงปั๊มแช่ประเภทต่าง ๆ ก็ถูกเรียกว่าปั๊มซับเมอร์ส เช่นกันสามารถนำไปใช้งานกับงานต่าง ๆ เช่นบ่อน้ำ น้ำพุเป็นต้น  

พื้นฐานของ ปั๊มซับเมอร์ส นั้นมีลักษณะเป็นเครื่องกลที่วางกลไกอยู่ในตำแหน่งแนวตั้ง ในปั๊มประเภทนี้ของเหลวหรือน้ำจะถูกดูดเข้ามาโดยใบพัดที่ต่อเข้ากับมอเตอร์ ทำให้เกิดแรงดันแบบดิฟฟิววเซอร์พัดน้ำออกไปอีกด้านเข้าสู่ท่อด้วยความเร็วและแรงทำให้สามารถส่งให้น้ำหรือของเหลวไปยังจุด ๆ หนึ่งที่อยู่ไกลออกไปได้ อย่างไรก็ตามปั๊มจุ่มใช้เพื่อวัตถุประสงค์หลายประการ ในรูปแบบที่ง่ายที่สุด ปั๊มเหล่านี้จะส่งน้ำจากพื้นหรือก้นถัง ปั๊มแบบขั้นตอนเดียวใช้สำหรับระบายน้ำ สูบน้ำเสีย สูบสารละลาย และสูบน้ำอุตสาหกรรมทั่วไป นอกจากนี้ยังพบได้ทั่วไปในตัวกรองบ่อ  

อย่างไรก็ตาม ยังสามารถนำมาใช้ได้ทั้งกับน้ำบาดาลและน้ำผิวดินได้ ปั๊มจุ่มแบบพิเศษมักจะใช้สำหรับการสกัดในบ่อน้ำและบ่อน้ำมันในที่อยู่อาศัย ในเขตเทศบาล ใช้ในเชิงพาณิชย์ และทางอุตสาหกรรม การใช้งานแบบอื่นๆ ของปั๊มจุ่ม ได้แก่โรงบำบัดน้ำเสีย การดับเพลิง การจัดการน้ำทะเล การขุดเจาะบ่อน้ำและบ่อลึก การจัดการน้ำทะเล แท่นขุดเจาะนอกชายฝั่ง การแยกน้ำจากเหมือง ระบบชลประทาน และลิฟต์เทียม เป็นต้น  

ข้อมูลจำเพาะของปั๊มซับเมอร์ส 

  • ปั๊มซับเมอร์สมีอัตราแรงไหลตั้งแต่ 20 ถึง 28,000 ลิตร/นาที 
  • มีหัวแรงดันที่ประมาณระหว่าง 0.4 ถึง 6 บาร์ 
  • มีแรงม้าตั้งแต่ 1 ถึง 250 แรงม้า 

ประเภทการใช้งานที่พบในปัจจุบัน 

ปั๊มซับเมอร์ส
  • ปั๊มบาดาล 

ปั๊มบาดาลเป็นปั๊มจุ่มที่มีการใช้งานอย่างกว้างขวาง ปั๊มเหล่านี้ยังสามารถใช้กับงานของอุตสาหกรรมได้อีกด้วย ตัวปั๊มเหล่านี้ทำมาให้สามารถเชื่อมต่อกับมอเตอร์เพื่อทำงานใต้น้ำได้ ง่ายต่อการแก้ไขและซ่อมแซม เมื่อปั๊มเหล่านี้เริ่มทำงาน จะต้องแช่อยู่ในน้ำให้สนิทเท่านั้นเพราะอาจจะทำให้ตัวปั๊มเกิดการเสียหายได้ ออกแบบมาเพื่อสามารถสูบน้ำที่เป็นกรดอ่อนและน้ำจืดได้เป็นอย่างดี 

  • ปั๊มซับเมอร์ส สำหรับน้ำสะอาด  

ใช้งานสำหรับน้ำสะอาดโดย ตัวปั๊มออกแบบมาเพื่อใช้สูบน้ำ ระบายน้ำขัง หรือแหล่งน้ำขังที่มีเศษตะกอนไม่มาก โดยจะสามารถดูดเอาสิ่งสกปรกในแอ่งน้ำหรือบ่อน้ำและทำความสะอาดเครื่องปั๊มได้ง่ายด้วยตะแกรงกรองน้ำที่สามารถถอดออกได้ จึงเหมาะสำหรับใช้งานทั่วไปภายในตัวบ้านและรูปแบบการเกษตร เช่น การสูบน้ำจากสระน้ำ, ถังพักน้ำ, การทำน้ำพุ, สูบน้ำท่วมขังภายในพื้นที่จำกัด, สูบน้ำจากบ่อเลี้ยงปลา, หรือสำหรับตู้ปลา เป็นต้น 

  • ปั๊มซับเมอร์ส สำหรับสูบน้ำโคลน   

การใช้งานสำหรับสูบน้ำที่มีโคลน ด้วยตัวปั๊มซับเมอร์สที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้สูบน้ำที่มีเศษตะกอนหรือดินโคลน ทราย หินเจือปนอยู่ในน้ำ เนื่องจากเป็นเครื่องปั๊มที่ถูกออกแบบมาให้มีใบพัดที่หมุนได้กำลังสูง วัสดุที่ทนทานต่อการสึกหรอและเจอกับการกัดกร่อนของสารละลายหรือกรดต่าง ๆ ได้ดี และยังคงสามารถทำงานได้นานต่อเนื่องแม้ว่าเครื่องปั๊มน้ำจะไม่จมอยู่ใต้น้ำเหมือนกับตัวปั๊มอื่น ๆ ได้ ปั๊มแบบนี้จึงเหมาะสำหรับใช้ในสถานที่ที่มีการก่อสร้าง งานสูบน้ำในเหมืองดินเหมืองแร่ งานด้านโยธา เช่น สูบน้ำที่จะระบายน้ำทิ้ง, ใช้ในการระบายน้ำใต้ดิน, สูบน้ำจากลำคลองหรือแม่น้ำสายเล็ก ๆ  เป็นต้น 

  • ปั๊มซับเมอร์ส สำหรับน้ำเสีย 

ออกแบบมาใช้งานสำหรับน้ำเสีย สิิ่งปติกูล ตัวปั๊มซับเมอร์สชนิดนี้ สามารถใช้สูบน้ำเสียที่มีสิ่งปฏิกูลปนเปื้อนอยู่ภายในน้ำ โดยภายในปั๊มซับเมอร์สประเภภทนี้จะมีให้เลือกใช้งานทั้งแบบที่มีลูกลอย/และไม่มีลูกลอย/ชนิดของใบพัดแบบเปิด/และยังมีใบมีดที่สามารถตัดเศษต่าง ๆ ให้กลายเป็นเส้นใยเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยได้ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ตัวเครื่อง เกิดการอุดตันภายใน จึงเหมาะมาก ๆ สำหรับการนำมาติดตั้งใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรมหรือบ่อบำบัดน้ำเสียและ, งานเกษตรกรรม,การระบายน้ำออกจากคอกปศุสัตว์ และการใช้ระบายน้ำทิ้งน้ำเสียในที่พักอาศัย บ้าน อาคาร เป็นต้น 

  • ปั๊มซับเมอร์ส สำหรับน้ำทะเล  

ตัวเครื่องที่ออกแบบมาเพื่อสูบน้ำทะเล ตัวเครื่องปั๊มซับเมอร์สนั้นออกแบบมาสำหรับใช้สูบน้ำที่มีค่า ph เป็นด่างเค็มหรือน้ำทะเล ซึ่งส่วนใหญ่จะติดตั้งระบบแรงดันไฟฟ้าแบบ DC ที่จะสามารถเชื่อมต่อกับแบตเตอรี่ได้ ตัวเรือนผลิตจากยาง เรซิน และเหล็กกล้าแบบไร้สนิม หรือเหล็กหล่อที่มีคุณสมบัติพิเศษที่จะไม่เป็นสนิม และมีความทนทานต่อการเสียดสีและการกัดกร่อนของน้ำทะเล ได้เป็นอย่างดี เพราะฉะนั้นจึงเหมาะกับการนำมาใช้งานในเรือเดินทะเล, ส่วนของท่าเรือ, หรือโรงงานอุตสาหกรรมอาหารทะเล และอื่น ๆ  เป็นต้น 


สิ่งที่ควรรู้ก่อนจะเลือกซื้อปั๊มซับเมอร์ส (ปั๊มบาดาล) เบื้องต้น 

สิ่งแรกคือการดูว่าขนาดของบ่อน้ำที่เราขุดเจาะลงไป มีความกว้างอยู่ที่เท่าไหร่ โดยทั่วไปจะอยู่ประมาณ 2 นิ้ว จนถึง 5 นิ้ว ระยะความลึกของบ่อที่เราจะทำการหย่อนตัวเครื่องปั๊มลงไป และวัดดูว่าช่วงไหนที่น้ำในบ่อบาดาลมีปริมาณที่สม่ำเสมอ แนะนำควรกะระยะการหย่อนปั๊มให้มีความสูงกว่าก้นบ่อเกิน 5 เมตรขึ้นไป ระยะการหย่อเครื่องปั๊มที่ดีไม่ควรหย่อนลึกเกินไปและใกล้ปากบ่อเกินไป วิธีการคำนวณระยะการหย่อนคือ นำระดับน้ำก่อนจะสูบ บอกเพิ่ม 20 ม. เป็นอย่างต่ำดังเช่น เราทำการเจาะท่อบาดาลมีความลึกทั้งหมด 50 ม. ระดับน้ำก่อนจะสูบอยู่ 15 ม. ให้บวกเพิ่มอีก 20ม. ที่จะได้คือ 15ม.+20ม. = 35ม. 35ม. นี่เป็นระยะที่เหมาะสมกับการหย่อนเครื่องปั๊มเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เครื่องปั๊มดูดเอาเศษตะกอนทรายหรือดินโคลน เข้ามาภายในท่อด้วยเพื่อให้ได้น้ำสะอาดและไม่ส่งผลเสียกับเครื่องปั๊มซับเมอร์ส และดูว่าปริมาณน้ำในบ่อขุดเพียงพอต่อการใช้งานมากน้อยเพียงใด 

โดยควรเลือกซื้อปั๊มให้มีสมรรถภาพเหมาะสมกับปริมาณน้ำที่สามารถดูดขึ้นมาได้ โดยจะแบ่งได้คร่าว ๆ คือ 

  • ถ้าระดับน้ำในบ่อมีน้อยกว่า 2,000 จนถึง 3,000 ลิตรก็ควรจะเลือกใช้ เครื่องปั๊มครึ่งแรงม้า หรือประมาณ 350 ถึง 400 วัตต์ จะเป็นกำลังที่เหมาะสำหรับงานนี้ 
  • ถ้าระดับน้ำในบ่อมีน้อยกว่า 4,000 จนถึง 6,000 ลิตรก็ควรจะเลือกใช้ เครื่องปั๊ม 1 แรงม้า หรือเทียบกับ 750  วัตต์ จะเป็นกำลังที่เหมาะสำหรับงานนี้ 
  • ถ้าวัดระดับน้ำจากบ่อขุดได้เยอะมาก ๆ คุณก็สามารถเลือกเอาเครื่องปั๊มขนาดไหนก็ได้ตามปริมาณที่คุณต้องการจะใช้ ถ้าอยากได้เยอะมากแนะนำประมาณ 2-3แรงม้า หรือ 1,500-2,250 วัตต์ 

ข้อดี – ข้อเสีย ของปั๊มซับเมอร์ส 

ปั๊มซับเมอร์ส

ในส่วนข้างต้นนี้ จะมากล่าวถึงข้อดีและข้อเสียเบื้องต้นของปั๊มซับเมอร์สว่ามีอะไรบ้างเพื่อที่ผู้ที่สนใจจะซื้อปั๊มชนิดนี้มาใช้กับงานควรรู้ไว้เพื่อเป็นข้อพึงระวังและเพื่อที่จะสามารถดูแลอุปกรณ์ของคุณให้สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพอย่างคุ้มค่าที่สุด 

ข้อดี ที่ถือว่าเป็นข้อได้เปรียบที่สำคัญของปั๊มซับเมอร์สนั้นคือคุณไม่จำเป็นต้องเตรียมเฝ้าการทำงานของตัวปั๊มเพราะเนื่องจากปั๊มถูกฝังเอาไว้้ใต้ดินและตัวเครื่องจมอยู่ในน้ำ ปั๊มชนิดนี้ก็ยังทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างมากเนื่องจากไม่ต้องใช้พลังงานมากๆในการดูดน้ำเข้าสู่เครื่องปั๊มด้วยแรงดันน้ำภายในท่อที่จะเกิดขึ้นนั้นช่วยประหยัดพลังงานให้การเดินเครื่องปั๊มได้มากเลยทีเดียว 

ข้อดี นอกจากนี้ ในปัจจุบันยังมีปั๊มซับเมอร์สให้เลือกมากมายหลายยี่ห้อถึงแม้ว่าความสามารถข้อตัวเครื่องอาจจะไม่มีฟังก์ชั่นมากมายก็ตาม ปั๊มมอเตอร์้ับเมอร์ก็ยังสามารถจัดการกับงานสูบน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพในขณะที่ปั๊มตัวอื่นมีฟังก์ชั่นแบบอัตโนมัติแล้วก็ตาม ปั๊มมอเตอร์ใต้น้ำยังไม่มีส่วนของเสียงรบกวนเมื่อเดินเครื่องทำงาน เพราะตัวเครื่องส่วนใหญ่จะจมอยู่ในน้ำไปจึงทำให้ไม่มีปัญหาที่เกิดจากโพรงอากาศเข้าไปในเครื่อง เพราะไม่มี “แรงดัน” ในน้ำเมื่อไหลผ่านปั๊ม 

 ข้อดี ปั๊มซับเมอร์สนั้นยังมีอายุการใช้งานที่ยาวนานส่วนมากโดยเฉลี่ยประมาณ 10 ถึง 15 ปี เลยแต่บางตัวอาจมีอายุการใช้งานสั้นลงตามการออกแบบขอฃผู้ผลิตนั้น ๆ แต่ว่าอายุการใช้งานของปั๊มซับเมอร์สก็ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น คุณภาพวัสดุของตัวปั๊ม ความถี่ในการใช้งานเดินเครื่องปั๊มน้ำ และการจ่ายไฟฟ้าของปั๊มเป็นต้น 

 ข้อเสีย อย่างไรก็ตามแต่ก็ยังมีข้อเสียบางประการเกี่ยวกับปั๊มซับเมอร์ส  ประการแรก ปัญหาอาจจะอยู่ที่ตัวซีลที่สามารถสึกกร่อนได้เมื่อเวลาการใช้งานผ่านไปนาน ๆ  เมื่อซีลเกิดการกัดกร่อนจนชำรุดผุพัง น้ำหรือของเหลวนั้น ก็จะเข้าไปในส่วนของมอเตอร์ ทำให้ไม่สามารถใช้งานได้มีประสิทธิภาพดังเดิมจนกว่าจะได้รับการซ่อมแซมตัวเครื่อง นอกจากนี้ ซีลนั้นยังยากต่อการเข้าไปตรวจเช็คสภาพทำให้ยากต่อการซ่อมแซมให้ทันท่วงที 

ข้อเสีย ที่มีความสำคัญอีกประการหนึ่งคือความจริงที่ว่าปั๊มมอเตอร์แบบเดี่ยวอาจจะไม่รองรับการใช้งานสำหรับการติดตั้งในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็กและภายในบ้านเป็นส่วนใหญ่ ถ้าไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่องานพิเศษเช่น การสูบน้ำเสีย หรือปั๊มบ่อสำหรับระบายน้ำ หรือบ่อน้ำมัน นอกจากนี้ ปั๊มยังมีข้อจำกัดในการทำงานกับของเหลวบางอย่างที่มีความหนืดสูงอีกด้วย เช่นน้ำมัน หรือสารเคมีบางชนิด 


ข้อแนะนำ-ควรปฏิบัติตามคู่มือที่แนบมาด้วย 

และไม่ว่าคุณจะใช้ ปั๊มซับเมอร์ส ประเภทใดก็ควรติดตั้งใช้งานด้วยความระมัดระวัง และปฏิบัติตามขั้นตอนและคู่มือที่ทางผู้ผลิตแนะนำ จะต้องคำนึงไว้เสมอว่าปั๊มซับเมอรสชนิดนี้ตัวเครื่อง มอเตอร์ของปั๊มต้องจมอยู่ในน้ำอย่างเต็มที่ตลอดเวลาการใช้งาน เนื่องจากอุณหภูมิน้ำที่อยู่รอบๆ ปั๊มจะช่วยในเรื่องของการระบายความร้อนออกจากมอเตอร์หลัก หากว่าตัวเครื่องปั๊มไม่ได้จุ่มลงไปในน้ำหรือของเหลวนั้น อาจทำให้ร้อนเกินไปและอาจจะไหม้ได้ อันส่งผลถึงความเสียหายต่อตัวเครื่อง 

การป้องกันไม่ให้เครื่องปั๊มไหม้นั้นเป็นสิ่งสำคัญมากในการยืดอายุการใช้งาน เพราะถ้าเกิดขึ้นบ่อยอาจจะทำให้เครื่องปั๊มใช้งานไม่ได้โดยถาวร โดยสาเหตุที่พบได้บ่อยๆโดยผู้ใช้งานคือการที่ผู้ใช้งานทำการเปิดและปิดเครื่องบ่อย ๆ อาจจะเกิดจากแหล่งจ่ายไฟฟ้าเกิดไฟตก ปลั๊กหลวมหรือการต่อสายไฟฟ้าไม่ได้มาตรฐาน ควรติดตั้งให้ถูกต้อง  

อีกหนึ่งสาเหตุสำคัญที่อาจจะทำให้ปั๊มไหม้เสียหายคือ เกิดจากการที่ตัวเครื่องปั๊มไม่ได้อยู่ในน้ำตลอดเวลา ด้วยที่ว่าตัวเครื่องปั๊มนั้นถูกออกแบบมาเพื่อให้อยู่ในน้ำตลอดเวลาเพราะเรื่องของอุณหภูมิที่อาจจะส่งผลให้เครื่องเกิดความร้อนสะสมภายในมอเตอร์หลักมากเกินไปจึงต้องอาศัยอุณหภูมิของน้ำเป็นตัวระบายความร้อนของมอเตอร์เพื่อไม่ให้เกิดอาการไหม้ขึ้นมาได้ ดังนั้นควรตรวจสอบปริมาณน้ำอยู่เสมอในขณะที่กำลังเดินเครื่องอยู่ด้วยเพื่อเป็นการป้องกันอีกชั้นหนึ่ง 

อ่านบทความอื่น ๆ เพิ่มเติม: ปั๊มน้ำอัตโนมัติ ถังกลม ถังเหลี่ยม แตกต่างกันยังไง?

เช็คราคา ปั๊มซับเมอร์ส ได้ที่นี่

What do you think?

-3 Points
Upvote Downvote

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Loading…

0
ปั๊มหอยโข่ง

วิธีการบำรุงรักษา ปั๊มหอยโข่ง ให้ใช้งานได้นานขึ้น

ปั๊มสระว่ายน้ำ

10 เคล็ดลับในการเลือก ปั๊มสระว่ายน้ำ และตัวกรอง