ปั๊มซับเมอร์ส ปั๊มจุ่ม หรือปั๊มบาดาล (submersible pump) ถ้าเป็นภาษาอังกฤษ ตรงตัวเลยคือแปลว่าปั๊มที่อยู่ใต้น้ำ ส่วนภาษาไทยบ้านเราเรียกกันได้หลายชื่อมาก ก็แล้วแต่ใครจะเรียก แต่ในบทความนี้เราจะขอเรียกปั๊มซับเมอร์สเพื่อความเข้าใจตรงกันนะครับ ปั๊มซับเมอร์สเป็นปั๊มที่ใช้งานลักษณะจุ่มแช่ลงไปในน้ำ หรือใช้งานสำหรับการปั๊มน้ำบาดาล เป็นเครื่องมือที่ช่วยดูดน้ำที่ลึกลงไปในชั้นผิวดินที่มีความลึกเกิน 10 เมตร โดยอุปกรณ์ที่มานำมาใช้ผลิตและประกอบนั้น มีความแน่นหนาเพื่อป้องกันมอเตอร์เสียหายจากการทำงาน โดยปั๊มซับเมอร์ส จะแบ่งส่วนประกอบที่สำคัญอยู่ 2 ส่วน คือ ส่วนมอเตอร์ และส่วนใบพัด ปั๊มซับเมอร์สที่มีความหลากหลายของจำนวนใบพัดก็เพื่อความสามารถในการสูบและเหมาะกับอัตราการไหลของน้ำ ยิ่งใบพัดมาก ปั๊มซับเมอร์ส ก็ยิ่งมีความยาวมาก และก็สามารถส่งน้ำได้สูงขึ้นเช่นกัน
- เช็คราคาและ ปั๊มน้ำ รูปแบบอื่นๆ
ข้อดี ของปั๊มซับเมอร์ส
คือ เนื่องจากปั๊มซับเมอร์มีความแข็งแรงไม่มีรอยต่อในตัวปั๊ม ปั๊มซับเมอร์สจึงสามารถป้องกันการรั่วระหว่างตัวปั๊ม ที่เป็นสาเหตุของการส่งน้ำจากพื้นบาดาลมายังพื้นดินได้ดี ไม่ให้เกิดการรั่วไหลของอากาศระหว่างการส่งน้ำขึ้นไป เพราะการทำงานของปั๊มซับเมอร์สใช้การต้านแรงโน้มถ่วงของโลก ส่งน้ำจากบาดาล มาสู่พท้นดิน ดังนั้นตัวปั๊มซับเมอร์ จะรับแรงดันที่สูงมากๆจึงต้องทำให้ลักษณะตัวเครื่องมีความแข็งแรงมากกว่าปั๊มชนิดอื่น
กฎหมาย ปั๊มซับเมอร์ส
ที่เกี่ยวกับ เกี่ยวกับการขุดเจาะบ่อน้ำบาดาล กำหนดให้กรุงเทพมหานคร และทุกจังหวัดในราชอาณาจักรไทยเป็นเขตน้ำบาดาล และกำหนดให้น้ำใต้ดินที่อยู่ลึกจากผิวดิน เกินกว่า 15 เมตร เป็นน้ำบาดาล ดังนั้น ผู้ใช้น้ำจากบ่อน้ำบาดาล ในทุกจังหวัดทั่วประเทศที่มีความลึกจากผิวดินเกินกว่า 15 เมตรจึงต้องไปยื่นคำขอรับใบอนุญาตใช้น้ำบาดาลให้ถูกต้องหากฝ่าฝืนจะมีความผิดตามกฎหมาย มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ปั๊มซับเมอร์ส มีแบบใดบ้าง?
ปั๊มซับเมอร์ส สามารถเรียกได้หลายแบบ ปั๊มจุ่ม ปั๊มบาดาล เป็นปั๊มที่ใช้งานในลักษณะการจุ่มแช่ หรือหย่อนปั๊มลงไปในบ่อน้ำบาดาล กล่าวคือตัวปั๊มน้ำจะต้องอยูาในน้ำตลอด ภายนอกปั๊มซับเมอร์ส ออกแบบให้มีแน่นหนา ส่วนใหญ่ผลิตจากแสตนเลสบางรุ่นสามารถสลัดทรายได้ มีส่วนที่ประกบกันน้อยที่สุด เพื่อลดโอกาศในการรั่ว!
ปั๊มบาดาล หรือปั๊มซับเมอร์ส เป็นปั๊มที่นิยมใช้ปั๊มน้ำบาดาล หรือปั๊มที่ใช้ดูดน้ำที่มีความลึก สามารถพบที่ได้ที่ทำไร่ ทำสวน หรือพื้นที่การเกษตร ปั๊มซับเมอร์ส มีหลายขนาดให้เลือกใช้งานตามความเหมาะสมของขนาดบ่อบาดาล
จริงๆแล้ว ปั๊มจุ่ม ปั๊มแช่ หรือไดโว่ ก็เป็นปั๊มในประเภทปั๊มซับเมอร์ส เพราะใช้งานในลักษณะแช่ไปในน้ำ ตัวปั๊มมีขนาดเล็กทำให้พลังการปั๊มนั้น มีน้อยว่าเมื่อเทียบกับปั๊มซับเมอร์ส และปั๊มจุ่มยังมีแแหล่งพลังงานให้เลือกทั้งมาจากโซล่าเซลล์ ไฟฟ้า ปั๊มจุ่มมีให้เลือกใช้งานอยู่ 2 ประเภท คือการดูดน้ำสะอาดและน้ำเสีย
ปั๊มสำหรับดูดน้ำสะอาด จะมีตะแรงสำหรับกรองสิ่งแปลกปลอมที่มีขนาดใหญ่ ที่จะไปอุดตันช่องใบพัด ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดมอเตอร์ไหม้ หรือแรงดันตก
วิธีเลือกปั๊มซับเมอร์ส หรือปั๊มบาดาล ต้องรู้อะไรบ้าง
1.ขนาดบ่อเจาะปั๊มซับเมอร์ส ควรรู้ขนาดบ่อที่เจาะ จะทำให้สามารถเลือกขนาดปั๊มซับเมอร์สได้ เหมาะกับขนาดปั๊มซับเมอร์ส เช่น เจาะบ่อน้ำขนาด4 นิ้ว ควรเลือกซื้อขนาดปั๊มซับเมอร์สที่มีขนาดไม่เกิน 4 นิ้ว เป็นต้น
2. ระยะการหย่อนปั๊มซับเมอร์ส ไม่ควรหย่อนปั๊มซับเมอร์สให้ใกล้ระดับน้ำก่อนสูบมากเกินไป และไม่ควรหย่อนปั๊มให้สุดระยะท่อเจาะปั๊ม แนะนำควรเผื่อระยะการหย่อนปั๊มให้มีความสูงกว่าก้นบ่อเกิน 5 เมตรขึ้นไป ระยะการหย่อยที่ดีไม่ควรหน่อยลึกเกินไปและใกล้คเกินไป วิธีการคำนวณคือ นำระดับน้ำก่อนสูบ + 20 ม. เป็นอย่างต่ำ
เช่น เจาะท่อบาดาลมีความลึกทั้งหมด 50 ม. ระดับน้ำก่อนสูบอยู่ 15 ม. ให้บวก 20ม. คือ 15ม.+20ม. = 35ม. 35ม. คือระยะที่เหมาะสมกับการหย่อน
3.ซื้อปั๊มให้เหมาะกับปริมาณน้ำที่เจาะได้ ก่อนเลือกซื้อปั๊มควรรู้ปริมาณน้ำก่อนเลือกซื้อปั๊ม โดยแบ่งการซื้อปั๊มน้ำให้เหมาะกับปริมาณได้เป็น 3 แบบคือ
- ระดับน้ำน้อยกว่า 2,000 – 3,000 ลิตร ควรเลือก ปั๊มครึ่งแรงม้า หรือ 350-400 วัตต์
- ระดับน้ำปานกลาง 4,000-6,000 ลิตร ควรเลือกปั๊มที่มีรงม้า 1 แรงม้า หรือ 750 วัตต์
- ระดับน้ำเยอะ สามารถเลือกใช้ปั๊มขนาดใดก็ได้ 2 – 3 แรงม้า หรือ 1,500 – 2,250 วัตต์
อุปกรณ์ที่ใช้ร่วม สำหรับปั๊มซับเมอร์ส
สายเคเบิล สำหรับจุ่มหรือแช่น้ำ (Cables)
สายเคเบิลสำหรับสายเคเบิล สำหรับจุ่มหรือแช่น้ำ จะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้แก่ผู้ใช้งาน ให้มั่นใจเรื่องความปลอดภัยและการใช้งานของปั๊ม สายเคเบิลสำหรับจุ่มหรือแช่น้ำที่ดีต้องมีความทนทาน และป้องกันน้ำได้ การเลือกซื้อสายเคเบิลสำหรับจุ่มหรือแช่น้ำ ที่ดีจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยและลดค่าใช้จ่ายได้ จำนวนแรงดันไฟที่สายเคเบิ้ลใช้ได้ ควรอยู่ที่ 220 – 380 วัตต์ สำหรับการเชื่อมต่อแบบ 1 เฟส หรือ 3 เฟส
ดูราคา ปั๊มซับเมอร์ส ทั้งหมด
Loading…