บทความนี้เราจะมาพูดถึง Centrifugal pump หรือ ปั๊มหอยโข่ง กันว่ามันคืออะไรมีการทำงานแบบไหน และอะไรบ้างที่ควรรู้ก่อนที่จะใช้งาน รวมถึงควัตถุประสงค์และความเหมาะสมกับงานประเภทต่างๆ โดยแบ่งออกเป็นหัวข้อให้ผู้อ่านได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น จากพื้นฐานจนลงลึกแบบเข้าใจง่าย ใครที่สงสัยหรือว่าอยากรู้จักกับมันก็ตามไปอ่านกันได้เลยแบบจัดเต็ม
ย้อนดูกันหน่อยว่า ปั๊มหอยโข่ง คืออะไร
ขั้นแรกมาทำความรู้จักกับมันก่อน ปั๊มหอยโข่ง หรือ (Centrifugal pump) เป็นปั๊มน้ำชนิดหนึ่งที่ผู้คนนิยมใช้งานกันอย่างมากไม่ว่าจะเป็นในงาน เกษตรกรรม หรืองานสูบน้ำ บำบัดน้ำ หรือแม้กระทั่งในโรงงานอุตสาหกรรม มีการลักษณะทำงานคือ อาศัยแรงหมุนจากใบพัดที่จะสร้างแรงเหวี่ยงทำให้ของเหลวที่ไหลผ่านมีแรงดันเพิ่มขึ้นอย่างมาก ด้วยการทำงานที่ไม่ซับซ้อนนี้จึงเป็นที่นิยมใช้งานกันอย่างแพร่หลายในงานต่างๆรวมถึงภาคอุตสาหกรรม เพราะมักไม่ค่อยมีปัญหาและการซ่อมบำรุงที่ทำได้ง่าย ซึ่งโดยทั่วไปแล้วปั๊มหอยโข่งเหมาะสำหรับใช้งานกับของเหลวที่มีอัตราการไหลสูง เช่นน้ำ หรือน้ำมัน แต่หากว่าของเหลวนั้นมีความหนืดสูงอาจจะทำให้ประสิทธิภาพลดลงบ้างแต่สามารถชดเชยได้จากการเพิ่มแรงม้าที่มากกว่า 10-20 วัตต์ หรือต่อปั๊มสองตัวเข้าด้วยกัน
เลือกอ่านตามหัวข้อ
- หลักการทำงานเบื้องต้นของ ปั๊มหอยโข่ง
- ส่วนประกอบของปั๊มหอยโข่งกัน
- PERFORMANCE CURVE
- การอ่านตัวแปรในค่ากราฟ PERFORMANCE CURVE
- ตัวอย่างการอ่านค่า PERFORMANCE CURVE ในปั๊มน้ำ
- System Curve และ Performance Curve
- สรุป
- FAQ คำถามที่พบบ่อย
หลักการทำงานเบื้องต้นของ ปั๊มหอยโข่ง เป็นยังไง?
ต้องย้อนไปในปี ค.ศ.1689 ปั๊มหอยโข่งถูกคิดค้นขึ้นโดย Denis Papin นักประดิษฐ์ชื่อดังชาวฝรั่งเศษที่ออกแบบการทำงานโดยใช้ใบพัด (Impeller) ดูดเอาน้ำเข้าโดยอาศัยแรงเหวี่ยงที่เกิดขึ้นภายในตัวเครื่องที่ถูกออกแบบให้เป็นรูปทรงก้นหอยและเหวี่ยงของแหลวออกไปตามแกนทิศทางการหมุน อธิบายง่ายๆคือของเหลวจะถูกดูดเข้ามาทางฝั่งของท่อขาดูดหรือ (Suction) จากนั้นของเหลวจะถูกเหวียงออกไปด้วยแรงหนีศูนย์ (Centrifugal force) ผ่านวาวล์ไปยังท่อขาออก (Discharge) จะเห็นได้ว่าขั้นตอนการทำงานไม่มีความซับซ้อนแต่อย่างใดเพียงอาศัยการทำงานของมอเตอร์และใบพัดที่ถูกติดตั้งไว้ภายในเครื่องปั๊มก็สามารภสร้างแรงดันได้อย่างมากแล้ว
ลองมาดูส่วนประกอบของปั๊มหอยโข่งกันว่ามีอะไรบ้าง?
ส่วนประกอบของปั๊มน้ำชนิดหอยโข่งไม่ส่วนสำคัญอยู่เพียงแค่ 5 ส่วนจะสังเกตุเห็นได้ว่าส่วนประกอบหลักจะมีน้อยกว่าปั๊มประเภทอื่น เพราะการออกแบบที่ทำให้ง่ายต่อการใช้งานและการซ่อมบำรุงทำให้การทำความเข้าใจปั๊มหอยโข่งทำได้ไม่ยากนัก เราลองมาดูกันดีกว่าว่าแต่ละส่วนประกอบทำหน้าที่อะไรบ้าง ไปเริ่มกันกับตัวที่ 1 เลย
1. ใบพัด (Impeller)
ใบพัด ของปั๊มหอยโข่งถูกแบ่งออกอีกเป็นหลายรูปแบบ โดยมีหน้าที่ในการสร้างแรงเหวี่ยงน้ำ และแบ่งฟังก์ชั่นการทำงานออกไปอีกหลากหลายและตามกรณีต่างๆต่อไปตามความต้องการ ใบพัด ถูกแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบคือ
- ใบพัดปิด (Closed Impeller)
เป็นรูปแบบของใบพัดที่มักจะใช้งานกันโดยทั่วไป มีลักษณะคือใช้แผ่นเหล็ก 2 ชิ้น ประกบกับใบพัดทำให้มีช่องว่างตรงกลางสำหรับการรองรับของเหลวทำให้การไหลมีประสิทธิภาพมากขึ้นตัวใบพัดนี้เหมาะสำหรับถ่ายเทน้ำสะอาดเท่านั้น
- ใบพัดกึ่งเปิด (Semi-Open-Impeller)
ใบพัดชนิดนี้จะมีความต่างกับใบพัดอื่นๆเพียงเล็กน้อยส่วนของแผ่นเหล็กที่ติดกับใบจะลดลงเหลือแค่ 1 ชิ้นทำให้ประสิทธิภาพการทำงานอาจจะต่ำกว่าแบบปิดเล็กน้อย แต่ออกแบบมาเพื่อให้สามารถรองรับของเหลวที่มีวัสดุหรือเศษต่างๆผ่านเข้ามาข้างในเครื่องได้บ้างบางส่วนเหมาะสำหรัยการสูบน้ำในงานเกษตรกรรม
- ใบพัดแบบเปิด (Open Impeller)
เป็นรูปแบบใบพัดที่มีเพียงใบพัดอย่างเดียวไม่มีแผ่นเหล็กมายึดทำให้สามารถใช้รองรับการผ่านของของเหลวที่มีอนุภาคขนาดใหญ่ผ่านไปได้ แต่แรงดูดจะน้อยลงอย่างมากเพื่อป้องกันใบพัดจากการถูกวัตถุชนเพื่อไม่ให้ใบพัดหัก
การเลือกใช้งานใบพัดแต่ละประเภทต้องพิจรณาจากปัจจัยหลายอย่าง และยังมีข้อสังเกตุอีกหนึ่งอย่างคือ การแบ่งใบพัดได้ออกเป็น 3 ประเภทหลักๆคือRadial flow impeller ขาเข้าและขาออกจะแตกต่างกัน 90 องศา Mixed flow impeller ขาเข้าขาออกจะแตกต่างกัน 45 องศา และ Axial flow impeller ขาเข้าขาออกจะเป็นมุมเดียวกัน
2. ชุดห้องปั๊ม (Pump Casing)
ชุดห้องปั๊ม ทำหน้าที่รับของเหลวที่ปล่อยออกมาจากท่อขาเข้าผ่านมายังใบพัด ตัวห้องได้รับการออกแบบให้มีพื้นที่เป็นลักษณะโค้งมนและแคบเพื่อทำหน้าที่เปลี่ยนความเร็วของการไหลของของเหลวที่มาจากใบพัด โดยเปลี่ยนแรงเหวี่ยงให้กลายเป็นแรงดันขณะส่งของเหลวออกสู่ทางวาวล์ปั๊มขาออก ชุดห้องปั๊มมีหลายรูปแบบ ส่วนมากจะมีลักษณธเป็นก้นหอย แยกย่อยออกไปอีกเป็นแบบเดี่ยว ก้นหอยคู่ และตัวกระจายลม
3. ซีลคอเพลากันรั่ว (Shaft Seal)
ซีลกันรั่วหรือ Shaft seal ถือว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญมากๆของปั้มหอยโข่งเลย เพราะว่าหน้าที่ของ shaft seal ถูกออกแบบมาเพื่อกันของเหลวซึมหรือไหลจากปั้มที่มีความดันสูง รั่วออกไปด้านนอกของตัวปั๊ม เพราะหากของเหลวไหลหรือซัมออกไปแล้วนั้นเป็นสารอันตรายที่สามารถ ติดไฟได้ จะต้องมีการออกเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการรั่วไหล ซึ่ง Shaft seal มีการออกแบบอยู่ 2 แบบด้วยกันคือ
- แบบ ปะเก็นเชือก (Packing Seal) กระบวนการปิดปะเก็นเพื่อป้องกันการรั่วซึมในสมัยแรกๆ ค่อนข้างง่าย โดยใช้เทคนิคคล้ายการร้อยเชือก (แต่ในความเป็นจริงแล้วเป็นเชือกบรรจุที่ทำจากวัสดุทนความร้อนสูง เช่น ไม่มีแร่ใยหิน แร่ใยหิน อะรามิด) PTFE หรือกราไฟท์) เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับการพันเชือกรอบเพลาและปิดผนึกด้วยชุดต่อมเพื่อยึดให้แน่น
- แบบ (Mechanical Seal) แมคคานิคอลซีล เป็นวิธีการขั้นสูงในการป้องกันการรั่วไหลเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการเริ่มแรก การป้องกันการรั่วไหลชนิดนี้สามารถทนต่อแรงดันและอุณหภูมิสูงได้และที่สำคัญการรั่วซึมนั้นแทบไม่มีความสำคัญเลย อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาแมคคานิคอลซีลจะสูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการเริ่มแรก หลักการเบื้องหลังแมคคานิคอลซีลมีดังนี้
4. ตลับลูกปืน หรือ แบริ่ง (Bearing)
ตลับลูกปืน หรือที่เรียกว่าแบริ่ง (Bearing) เป็นส่วนประกอบที่ออกแบบมาเพื่อรองรับการเคลื่อนที่ของเพลา ช่วยให้ทำงานได้อย่างราบรื่นทั้งในทิศทางแนวรัศมีและแนวแกน หน้าที่หลัก ได้แก่ การแบกน้ำหนักและแรงส่ง ที่เกิดจากเพลาหมุนหรืออุปกรณ์หมุนไปยังลูกเหล็กที่อยู่ภายใน นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ลดแรงเสียดทานระหว่างพื้นผิวสัมผัส ทำให้เพลาหมุนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมีอยู่ 2 ประเภท คือ แบบเม็ดกลม และแบบทรงกระบอก
5. เพลา (Shaft)
เพลา หรือ (Shaft) บางครั้งถูกเรียกว่าสปินเดิล มีหน้าที่เป็นตัวกลางส่งกำลัง จากแหล่งกำเนิดที่ขับเคลื่อน เช่น มอเตอร์หรือเครื่องยนต์เพื่อส่งแรงไปยังใบพัด ในกรณีของปั๊มหอยโข่ง ส่วนของเพลาต้องได้รับการออกแบบให้ทนทานต่อแรงต่าง ๆ เช่น แรงบิดต่างๆ โมเมนต์การดัด หรือแรงเฉือน ยิ่งไปกว่านั้น ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดการออกแบบมาตรฐาน เช่น ปั๊ม API จะมีเพลาที่ออกแบบโดยมีปัจจัยด้านความปลอดภัย (S.F.) ที่สูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับปั๊ม ANSI
การอ่านค่ากราฟ PERFORMANCE CURVE ของปั๊มก่อนการเลือกซื้อ
ปั๊มน้ำ จะเหมาะกับงานมั้ยเราจะสามารถรู้ถึงประสิทธิภาพการทำงานของปั๊มน้ำได้อย่างไร ต้องอาศัยการดูผ่านกราฟ Performance curve ของปั๊มนั้นๆโดยกราฟจะ ช่วยให้เข้าใจความสามารถในการทำงานของปั๊มภายใต้สถานการณ์ต่างๆได้ โดยเส้นต่างๆของกราฟ จะให้ข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับลักษณะการทำงานของปั๊มที่เปลี่ยนไปตามอัตราการไหลของแรงส่ง (Head) และปริมาณการไหล (Flow) ซึ่งเป็นพื้นฐานในการพิจารณาว่า ปั๊มรุ่นนี้จะเหมาะกับการใช้งานในงานของคุณหรือไม่ หรือเมื่อนำไปใช้งานจริงแล้วจะเกิดปัญหาอะไรบ้าง บทความนี้จะอธิบายให้ฟังกันเกี่ยวกับการอ่านค่าและการทำงานของปั๊มน้ำคร่าวๆ
การอ่านตัวแปรในค่ากราฟ PERFORMANCE CURVE มีอะไรบ้าง
- FLOW – ค่านี้เป็นเส้นแกน X ที่แสดงค่าอัตราการไหลของน้ำ บอกค่าความสามารถในการสูบน้ำเข้าและปล่อยออกว่าอยู่ที่ปริมาณเท่าไหร่ เส้นกราฟเริ่มต้นที่ค่า 0 ไปจนถึงค่าที่ทำได้สูงสุดที่ปั๊มนั้นๆสามารถทำได้ซึ่งจะมีหน่วยการวัดเป็น ลิตร/นาที (L/S) และแบบ ลูกบาศก์เมตร/ชั่วโมง (m³/hr) ซึ่งสามารถใช้ดูค่า Flow rate เบื้องต้นได้
- HEAD – ค่านี้อยู่ในเส้นแกน y เป็นเส้นที่แสดงค่ากำลังสูง หรือแรงส่งจากพื้นขึ้นสูงสุดของน้ำ หรือก็คือแรงดันน้ำว่าสามารถส่งได้สูงที่เท่าไหร่ โดยค่าแรงดันนี้จะแสดงหน่วยวัดเป็น เมตร (m.) และฟุต (ft.) และยังเป็นแกนเริ่มต้นการวัดประสิทธิภาพในกราฟอีกด้วย
- Shut off Head – จุดนี้จะเป็นตัวแสดงค่าขีดความสามารถของค่าสูงสุดของค่า HEAD ที่ทำได้โดยจะมีจุดเริ่มต้นเส้นกราฟที่ 0 โดยการวัด PERFORMANCE จะทำโดยเริ่มจากเส้นนี้
- Pump Curve – เป็นจุดที่จะแสดงค่าอัตราการไหล FLOW เทียบกับค่าแรงดัน HEAD โดยจะมีค่าผันแปรไปตามขนาดของใบพัดที่ติดตั้งไว้ภายใน
- POWER – ส่วนนี้บอกถึงค่าความสามารถของปั็มที่จะแสดงในรูปแบบของเส้นกราฟ ผันแปรตามขนาของใบพัดเช่นกัน แสดงค่าหน่วยวัดเป็น กิโลวัต์ หรือบางกราฟจะแสดงเป็นแรงม้า
- Efficiency – สำหรับแสดงความหนาแน่นของตัวกลางผ่านการไหลและการยกของเหลวหรือน้ำและเพื่อนำไปคำนวณประสิทธิภาพของกำลังเพลาขับของมอเตอร์โดยจะแสดงค่า เป็น เปอร์เซ็น (%) โดยจะสัมพันกันกับอัตราการไหลและแรงดันของปั๊มน้ำ
- Best Efficiency Point (BEP) – ประสิทธิผลในการใช้งานปั๊มว่าทำได้สูงสุดแค่ไหนโดยจะเป็นจุดที่แสดงค่าความสัมพันธ์ระหว่าง กำลังที่ปั้มส่งให้ของเหลว (PH) ตามด้วยกำลังที่ส่งไปที่เพลาขับ หรือ BHP (P2) ซึ่งถ้าดูจากในกราฟข้างต้นปั๊มน้ำจะอยู่ที่ 64%
- NPSHr (Net Positive Suction Head) – จุดที่บอกถึงขีดความสามารถในการดูดน้ำของปั๊มให้ขึ้น หรือวัดว่าจะสามารถดูดน้ำได้ลึกเท่าไหร่ โดยจะมีการนำค่าเหล่านี้ไปคำนวณร่วมกับ ค่า NPSHa เพื่อติดตั้งปั๊มน้ำ ป้องกันไม่ให้เกิด Cavitation เมื่อปั๊มน้ำหอยโข่งทำงานตามปกติแรงดันของน้ำจะลดลงจากทางเข้าของปั๊ม ไปยังทางเข้าของใบพัด ใกล้กับทางเข้าของใบพัดความดันของน้ำจะต่ำที่สุด เมื่อใบพัดหมุน ความเร็วใบพัดสูงจะทำงานกับของเหลวซึ่งจะเพิ่มพลังงานและความดันของน้ำ ซึ่งเป็นสาเหตุ จะทำให้ใบพัดเกิดการสึกกร่อนได้
- Impeller size – ขนาดของใบพัด เมื่อนำมาติดตั้งภายในเครื่อง โดยจะเปรียบเทียบไปตมขนาดเล็กสุดไปจนถึงความกว่าสูงสุดที่สามารถใส่ไปในเครื่องปั๊มได้ มีหน่วยวัดขนาดเป็น มิลลิเมตร(mm.)
ตัวอย่างการอ่านค่า PERFORMANCE CURVE ในปั๊มน้ำ
ในการเลือกใช้งานปั๊มน้ำว่ามีประสิทธิภาพหรือไม่ ก่อนอื่นคุณต้องเข้าใจอัตราการไหล (Q) และอัตราแรงดัน (H) เมื่อทราบค่าเหล่านี้แล้วให้อ้างอิงมันเข้ากับเส้นโค้งของปั๊ม โดยจุดที่จุดตัดกันทั้งสองนี้แสดงถึงตำแหน่งการทำงานที่เหมาะสมที่สุดในเรื่องความสามารถ ความจุที่ต้องการที่แรงดันจ่ายหรือเลือกให้เหมาะกับหัวจ่ายที่กำหนด ตัวอย่างเช่น
เมื่อคุณทำการเปรียบเทียบและอ่านค่ากราฟอย่างง่ายๆ ตามรูปนี้ปั๊มน้ำที่ใส่ใบพัดขนาด 264 มิลลิเมตร หรือขนาด 26.4 เซนติเมตรนั้นปั๊มจะมีอัตราแรงดันน้ำที่ (H) HEAD = 25 เมตร(m.) และจะสามารถส่งอัตราการไหล (Q) FLOW ได้ที่ 6 ลูกบาศก์เมตร/ชั่วโมง (m³/hr) ในขณะที่ปั็มเปิดใช้งานเต็มกำลัง
System Curve และ Performance Curve
ซึ่งการหาค่าของปั๊มน้ำจะมีอีกเส้นหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือ เส้น ที่เรียกว่า System Curve คือเส้นที่แสดงคุณลักษณะของระบบท่อ เช่น แรงเสียดทาน ความต้านทานของอุปกรณ์ และความสูง เป็นต้น กราฟนี้สร้างขึ้นโดยการทดสอบและวางแผนประสิทธิภาพของปั๊มที่จุดปฏิบัติงานต่างๆ ทำให้สามารถทำเส้นสองเส้นจากกราฟมาคำนวณหาค่าจาก จุดตัดกันของ System Curve และ Performance Curve ได้ดังรูป
- System Curve
เส้นโค้งของระบบแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการไหลผ่านระบบสูบน้ำและหัวรวมที่ต้องการโดยระบบนั้นโดยคำนึงถึงความต้านทานต่อการไหลในระบบ รวมถึงปัจจัยต่างๆ เช่น แรงเสียดทานของท่อ การเปลี่ยนแปลงระดับความสูง ข้อต่อ และการสูญเสียทางไฮดรอลิกอื่นๆ เมื่ออัตราการไหลผ่านของน้ำในระบบเกิดการเปลี่ยนแปลง ค่าทั้งหมดที่ต้องการก็จะเปลี่ยนแปลงไปด้วย ส่งโดยตรงกับเส้น System Curve ซึ่งโดยทั่วไปจะเพิ่มขึ้นตามอัตราการไหลที่เพิ่มขึ้น
- Performance Curve
กราฟประสิทธิภาพหรือที่เรียกว่ากราฟปั๊ม แสดงให้เห็นความสามารถของปั๊มในการส่งอัตราการไหลที่เท่าไหร่ มีแรงดันแค่ไหน เส้น Performance Curve ของปั๊มโดยทั่วไปจะรวมถึงจุดประสิทธิภาพที่ดีที่สุด (BEP) ของปั๊ม ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดที่เท่าไหร่
- จุดทำงาน
เป็นช่วงของอัตราการไหลและเฮดที่ปั๊มสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเชื่อถือได้เรียกว่าช่วงการทำงานของปั๊ม สิ่งสำคัญคือต้องแน่ใจว่าปั๊มทำงานภายในช่วงนี้เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาต่างๆ เช่น การเกิดโพรงอากาศหรือการใช้พลังงานมากเกินไปเมื่อเดินเครื่อง
จุดที่เส้นโค้งประสิทธิภาพของปั๊มตัดกับเส้นโค้งของระบบคือจุดทำงานของปั๊มภายในระบบเฉพาะ
เป้าหมายคือการเลือกปั๊มที่มีเส้นโค้งประสิทธิภาพสอดคล้องกับเส้นโค้งของระบบ เพื่อให้มั่นใจว่าการทำงานมีประสิทธิภาพและเชื่อถือได้ หากว่าเส้นโค้ง Performance Curve และ เส้นโค้งSystem Curve ไม่ตัดกัน หมายถึงอาจจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยน เช่น การเลือกปั๊มอื่นหรือการปรับเปลี่ยนระบบเพื่อให้ตรงกับปั๊มที่เลือกมากขึ้น
โปรแกรมคำนวณ Performance Curve ของปั๊มหอยโข่งอย่างง่าย
คำนวณ Performance Curve ของปั๊ม
สรุป
ปั๊มหอยโข่ง เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการขนส่งของเหลว โดยมีลักษณะการทำงานและส่วนประกอบหลัก ปั๊มหอยโข่งทำงานโดยการสร้างการหมุนเวียนของหอยโข่งภายในท่อหรือลำดับท่อ ซึ่งทำให้ของเหลวถูกดึงเข้ามาทางหนึ่งและถูกนำส่งไปทางอีกฝั่งหนึ่งของปั๊มสามารถปรับให้เหมาะกับการใช้งานต่าง ๆ ได้, เช่น การปรับความสูงของการไหล, การปรับอัตราการไหล, และปรับการทำงานในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างการทำงานและส่วนประกอบของปั๊มหอยโข่งทำให้มีประสิทธิภาพในการขนส่งของเหลวในหลายๆ งานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นในงานอุตสาหกรรม, บ้าน, หรือในการระบายน้ำ
การอ่านกราฟ Performance Curve ของปั๊มน้ำเป็นขั้นตอนสำคัญในการเลือกซื้อ โดยมีข้อมูลที่สำคัญคือ Flow Rate (อัตราการไหล), Head (แรงดัน), และ Efficiency (ประสิทธิภาพ). Flow Rate บ่งบอกถึงประสิทธิภาพในการจ่ายน้ำ, Head บ่งบอกถึงความสามารถในการทำงานในเงื่อนไขที่ต่าง ๆ, และ Efficiency บ่งบอกถึงประสิทธิภาพในการแปลงพลังงาน. การเลือกปั๊มที่เหมาะสมจะช่วยลดการใช้พลังงานและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
บทความอืนๆที่น่าสนใจ
FAQ คำถามที่พบบ่อย
ปั๊มหอยโข่งมีการทำงานอย่างไร?
- ปั๊มหอยโข่งทำงานโดยการสร้างแรงหมุนของของเหลวภายในท่อ แรงเหวี่ยงนี้ทำให้ของเหลวถูกดึงเข้ามาทางหนึ่งและถูกนำส่งไปทางอีกฝั่งหนึ่งของปั๊ม
สามารถปรับ ปั๊มหอยโข่งให้เหมาะกับการใช้งานได้อย่างไร?
- ปั๊มสามารถปรับความสูงของการไหล, อัตราการไหล, และการทำงานในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างได้. นี้ทำให้เหมาะกับการใช้งานต่าง ๆ ในอุตสาหกรรม, บ้าน, หรือการระบายน้ำ.
การอ่านกราฟ Performance Curve สำคัญมั้ย
- Performance Curve เป็นกราฟที่แสดงข้อมูลที่สำคัญของปั๊ม, เช่น Flow Rate (อัตราการไหล), Head (แรงดัน), และ Efficiency (ประสิทธิภาพ). การอ่านกราฟนี้ช่วยในการเลือกซื้อปั๊มที่เหมาะสม.
Flow Rate, Head, และ Efficiency คืออะไร?
- Flow Rate บ่งบอกถึงประสิทธิภาพในการจ่ายน้ำ, Head บ่งบอกถึงความสามารถในการทำงานในเงื่อนไขที่ต่าง ๆ, และ Efficiency บ่งบอกถึงประสิทธิภาพในการแปลงพลังงานที่ทำได้สูงสุด
การเลือกปั๊มที่เหมาะสมทำไมถึงสำคัญ?
- การเลือกปั๊มที่เหมาะสมช่วยลดการใช้พลังงานและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน. นั่นหมายถึงปั๊มที่สามารถทำงานได้ดีในเงื่อนไขที่กำหนด.
Loading…