ปั๊มหอยโข่ง เป็นหนึ่งในรูปแบบของปั๊มน้ำที่ใช้กันอย่างแพร่หลายที่สุด เพราะเหมาะสำหรับการใช้งานหลายประเภท เนื่องจากการออกแบบการทำงานที่เรียบง่ายไม่ซับซ้อน ทำให้ปั๊มชนิดนี้เป็นที่นิยมและถูกนำมาใช้งานในหลายๆประเภท และในการจัดการน้ำเสียเช่นกัน โดยจุดประสงค์คือเพื่อการถ่ายเทสิ่งปฏิกูลและน้ำทิ้งเข้าสู่บ่อบำบัด ปั๊มหอยโข่งสามารถใช้งานสำหรับการสูบน้ำปริมาณมากในการจัดการน้ำเสียได้ แต่ลักษณะการทำทงานแบบนี้ต้องเลือกปั๊มหอยโข่งแบบไหนถึงจะเหมาะ บทความนี้จะมาแนะนำการเลือกปั๊มหอยโข่ง สำหรับบำบัดน้ำเสีย ว่ามีวิธีเลือกแบบไหนบ้างเพื่อให้ทำงานได้เต็มปรสิทธิภาพมากที่สุด ไปดูกันเลย
เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่านที่นี่
- ปั๊มหอยโข่ง มีหลักการทำงานอย่างไร?
- ประเภทของปั๊มหอยโข่งที่เหมาะสำหรับงานบำบัดน้ำเสีย
- ปัจจัยอื่นๆที่ต้องพิจรณาก่อนเลือกปั๊ม
- การหาค่าเฮดรวมของปั๊มน้ำ (TDH)
- สรุป
- FAQ คำถามที่พบบ่อย
ปั๊มหอยโข่ง มีหลักการทำงานอย่างไร?
ปั๊มหอยโข่ง หรือ (Centrifugal Pump) เป็นเครื่องปั๊มประเภทหนึ่งที่ใช้งานด้วยการอาศัย แรงเหวี่ยงเพื่อสร้างพลังงานและแรงดัน ที่ทำหน้าที่ในการผลักของเหลวออกจากศูนย์กลางเพื่อให้สามารถเคลื่อนที่ในระยะทางไกลและต้านแรงดันของน้ำได้ทำให้อัตราการไหล (Flowrate) สูงมากในปั๊มชนิดนี้ โดยภายในปั๊มหอยโข่งมีใบพัดแบบหมุนที่เพิ่มความเร็วและความดันของของไหล ในขณะที่ปลอกใบพัดจะเป็นตัวกำหนดทิศทางของการไหลไปยังช่องระบายและควบคุมการไหลได้ดียิ่งขึ้นเมื่อปล่อยออกมา
ประเภทของปั๊มหอยโข่งที่เหมาะสำหรับงานบำบัดน้ำเสีย
ปั๊มหอยโข่งที่เหมาะสำหรับงานบำบัดน้ำเสียมักจะเป็นประเภทของปั๊มที่ออกแบบเพื่อรับมือกับสิ่งสกปรกต่าง ๆ ที่อาจพบในน้ำเสีย เช่น เศษขยะ, สารเคมี, และวัชพืชต่างๆโดยการเลือกจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ ประการ เช่น ขนาดของโครงการ, ปริมาณของน้ำเสีย, และความต้องการในการจัดการกับสิ่งสกปรก เช่น
- ปั๊มแบบใบพัดเดียว (Single-stage pumps) ประกอบด้วยใบพัดเดี่ยวที่ติดตั้งอยู่บนเพลามอเตอร์ ปั๊มแบบใบพัดเดียวมีหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับการใช้งาน การออกแบบใบพัด และประเภทซีล ปั๊มประเภทนี้สามารถใช้ได้ทั้งกับน้ำสะอาดหรือน้ำเสีย/สกปรก หรือน้ำที่เต็มไปด้วยเศษตะกอนหรือหินกรวด หรือทรายได้ ปั๊มหอยโข่งชนิดใบพัดเดียวประกอบด้วยปั๊มแบบข้อต่อชิด ปั๊มข้อต่อยาว และปั๊มอินไลน์แนวตั้งเพื่อให้ทำงานง่ายแต่ไม่สามารถทำค่าแรงดันได้สูงมากเท่ากับแบบอื่น
- ปั๊มหลายใบพัด (Multi-stage pumps) มีช่อง (สเตจ) หลายช่องที่เชื่อมต่อกันเป็นชุด และปั๊มสามารถสร้างแรงดันที่สูงกว่าได้ เมื่อของเหลวไหลผ่านขั้นตอนต่างๆ ในปั๊มแบบหลายใบพัดนี้ความดันและอัตราการไหลจะเพิ่มขึ้น แรงดันรวมที่เกิดจากใบพัดทั้งหมดในขั้นตอนต่างๆ ช่วยให้มั่นใจได้ว่าของเหลวจะถูกระบายออกตามแรงดันระบายที่ต้องการ เหมาะกับการใช้งานร่วมกับตัวกรอง เพราะมีแรงดูดที่มากเพื่อดูดแยกตะกอนออกจากน้ำได้ดี
แยกตามประเภทของใบพัดที่ใช้งานได้อีก 3 ประเภทคือ
- ใบพัดแบบกึ่งเปิด (Semi-open impeller)
ลักษณะของใบพัดเปิดมักเป็นรูปทรงพิเศษที่ช่วยให้สามารถสูบน้ำที่มีตะกอนเจือปน โดยปกติจะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ระหว่าง 20-70 มม. เพื่อให้เหมาะสำหรับใช้งานการสูบน้ำโสโครก, การระบายน้ำเสีย, และล้างออกสิ่งปฎิกูลต่าง ๆ โดยทำให้มีการอุดตันในปั๊มน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อให้ประสิทธิภาพการทำงานมากที่สุดและลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในระบบปั๊ม ด้วยลักษณะใบพัดเปิดสามารถทำงานได้ในสภาวะที่น้ำมีสิ่งสกปรกหรือตะกอนปนอยู่ในปริมาณมาก และป้องกันการชำรุดของใบพัดได้อย่างดี
- ใบพัดแบบ Vortex (Vortex impeller)
ใบพัด Vortex วอร์เท็กซ์ เป็นลักษณะของใบพัดที่แตกต่างจากใบพัดแบบช่องที่ได้พูดถึงก่อนหน้านี้ ใบพัดวอร์เท็กซ์มีรูปทรงที่คล้ายกับใบพัดแบบกึ่งเปิด แต่มีพื้นที่ภายในมากกว่าและมีลักษณะการทำงานที่แตกต่างกัน โดยการทำงานคือทำให้เกิดน้ำวนในน้ำที่ถูกดูดเข้ามา น้ำจะมีการหมุนตัวขึ้นเป็นกรวยเปิด ซึ่งทำให้ของเหลวที่เศษเส้นใยหรือของแข็งปนอยู่ไม่สัมผัสกับใบพัดโดยตรง ทำให้เหมาะสำหรับงานสูบน้ำเสียที่มีของเสียเช่น กากจากการทำอาหาร หรืองานระบายน้ำเสียที่มีเศษของแข็งเจือปนอยู่ โดยการออกแบบนี้ช่วยลดความเสี่ยงในการทำให้ของเสียติดตัวพันที่ใบพัด ไม่เกิดการอุดตัน และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้อย่างดีในการบำบัดน้ำเสีย
- ใบพัดคัตเตอร์ (Cutter impeller)
Cutter impeller คือ ใบพัดที่มีใบมีดคล้ายกับฟันเลื่อยที่ทำจาก Tungsten carbide ติดอยู่ที่ด้านของใบพัด ทำให้ใบพัดแบบนี้มีคุณสมบัติในการบดหรือตัดสิ่งที่ปะปนมากับน้ำ เช่น กากใย ใบไม้ หรือเศษตะกอน เพื่อป้องกันการอุดตันในระบบสูบน้ำ และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำความสะอาดน้ำในงานบำบัดน้ำเสียหรืองานอื่น ๆ ที่มีของเสียเข้ามาในน้ำโดยตรงแม้ว่าประสิทธิภาพการสร้างแรกดันจะต่ำ แต่ก็เป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการสูบน้ำเสียและของเสียอื่นๆ เพราะจะไม่เกิดการอุดตันในปั๊ม และยังชาวยย่อยเศษปฏิกูลที่ผ่านเข้ามาในระบบปั๊มก่อนจะปล่อยออกไปยังส่วนต่อไปในระบบน้ำเสียอีกด้วยโดยปั๊มหอยโข่งจะแบ่งเป็นอีกหลายประเภทดังที่ได้อธิบายไว้ในบทความก่อนๆเข้าไปอ่านได้ที่ – ประเภทของปั๊มหอยโข่ง ได้เลย
ปัจจัยอื่นๆที่ต้องพิจรณาก่อนเลือกปั๊ม
ปั๊มหอยโข่ง สำหรับบำบัดน้ำเสียที่เหมาะสมสามารถสร้างความแตกต่างในด้านประสิทธิภาพของปั๊มและต้นทุนการดำเนินงาน นี่คือปัจจัยเบื้องต้นที่ควรพิจารณาก่อนเลือกซื้อและใช้งาน
- ประเภทของน้ำเสียที่จะบำบัด
ประเมินว่าน้ำเสียที่จะบำบัดเป็นยังไง มีความเข้มข้นของตะกอน เศษอาหาร เศษใบไม้ หรือเศษของแข็งอื่นๆหรือไม่ ที่ปั๊มจะต้องดูดผ่านเครื่องเมื่อทราบแล้วให้คุณเลือกปั๊มที่สามารถรองรับตามความเหมาะสมกับน้ำเสียประเภทนั้นๆ เพื่อป้องกันปัญหาการอุดตันและการชำรุดที่อาจะเกิดขึ้นในปั๊มได้นั่นเอง
- ขนาดของปั๊มและใบพัด
สิ่งสำคัญคือต้องพิจารณาเส้นผ่านศูนย์กลางใบพัดของปั๊มหอยโข่ง เนื่องจากอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพของปั๊ม ดังที่คุณเห็น กราฟ Performance curve ด้านล่างแสดงเส้นโค้งปั๊มหลายเส้นที่แสดงถึงขนาดใบพัดที่แตกต่างกัน และผลกระทบที่มีต่อการไหลและค่าส่งสูงสุด (Max head) ของแต่ละแบบ
จากกราฟแสดงให้เห็นว่ายิ่งใบพัดมีขนาดใหญ่ ความเร็วเส้นรอบวงที่สัมพันธ์กับขนาดของใบพัดก็จะยิ่งสูงขึ้น ดังนั้นอัตราการไหลสูงสุดที่ปั๊มทำได้ก็จะยิ่งมากขึ้น และในทางกลับกัน ในกรณีนี้ คุณสามารถเลือกใช้ใบพัดเพื่อให้ตรงตามขนาดที่ต้องการ กราฟ pump Performance curve ของปั๊มหอยโข่ง ส่วนใหญ่จะบอกถึงขนาดขอบใบพัดซึ่งปั๊มสามารถทำงานได้ จากนั้นใช้ข้อมูลนี้เพื่อกำหนดการเลือกเส้นผ่านศูนย์กลางใบพัดที่เหมาะสมที่สุดสำหรับปั๊มของคุณ
การหาค่าเฮดรวมของปั๊มน้ำ Total Dynamic Head (TDH)
การหาค่าเฮดรวมของปั๊มน้ำ (TDH) มีความสำคัญอย่างมากในการวางแผนและการออกแบบระบบปั๊มน้ำ โดยเฉพาะในงานที่เกี่ยวข้องกับการสูบน้ำในสถานที่ที่มีความสูงต่าง ๆ หรือการสูบน้ำไปยังระบบท่อที่ต้องการน้ำไหลไปยังจุดสูงสุดหรือไปยังทิศทางที่กำหนดได้เหมาะสมที่สุดช่วยให้ผู้ออกแบบระบบปั๊มน้ำสามารถประมาณค่าความสูงที่ปั๊มต้องทนทานเพื่อสามารถสูบน้ำไปยังจุดหรือทิศทางที่ต้องการได้ โดยคำนึงถึงการแก้ไขความสูงทั้งในทิศทางและการแก้ไขความสูญเสียของน้ำในท่อ นอกจากนี้ยังช่วยในการเลือกปั๊มที่มีกำลังการทำงานเหมาะสมสำหรับงานที่กำลังต้องการ และช่วยลดการเสียหายและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานในระยะยาวเรามีโปรแกรมคำนวณอย่างง่ายๆมาให้เพื่อประกอบการตัดสินใจก่อนเลือกซื้อด้วย
โปรแกรมการคำนวณเฮดรวมของปั๊มน้ำ (TDH)
คำนวณ Total Dynamic Head (TDH) ของปั๊มน้ำ
**หมายเหตุ Head loss ที่เสีย สามารถดูได้จากตารางการสูญเสียแรงเสียดทาน (สำหรับท่อชนิดต่างๆ) ได้ในตารางที่หาได้ทั่วไป**
สรุป
การเลือกปั๊มหอยโข่งสำหรับใช้บำบัดน้ำเสียควรพิจารณาจากประสิทธิภาพ กับปัจจัยอื่นๆอีกอย่างการบำรุงรักษา, ราคา, และการใช้พลังงาน เพื่อเลือกปั๊มที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสำหรับระบบบำบัดน้ำเสียของคุณ ตรวจสอบข้อมูลจากผู้ผลิตและรีวิวจากผู้ใช้เพื่อช่วยในการตัดสินใจ การพิจารณาทุกด้านจะช่วยให้คุณเลือกปั๊มที่เหมาะสมที่สุดสำหรับความต้องการของคุณนั่นเอง อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ water-pump.co เว็บไซต์ที่รวมข้อมูลปั๊มน้ำไว้ทุกชนิด
FAQ คำถามที่พบบ่อย
- ปั๊มหอยโข่งชนิดใดเหมาะสำหรับการใช้งานบำบัดน้ำเสียมากที่สุด?
- ต้องพิจารณาความเหมาะสมของปั๊มกับลักษณะของน้ำเสียที่ต้องการบำบัด เช่น การใช้ปั๊มแบบใบพัดเดียวหรือหลายใบพัด หรือแบบคัตเตอร์
- ปั๊มหอยโข่งแบบใบพัดเดียวและแบบหลายใบพัดมีความแตกต่างกันอย่างไร
- ปั๊มหอยโข่งแบบใบพัดเดียวมักเหมาะสำหรับงานบำบัดน้ำเสียที่มีการตะกอนหรือสิ่งสกปรกปนอยู่ในปริมาณมาก ส่วนปั๊มหอยโข่งแบบหลายใบพัดมักเหมาะสำหรับการสร้างแรงดันที่สูงกว่าเหมาะสมสำหรับการใช้งานร่วมกับตัวกรอง
- ใบพัดแบบใดเหมาะสำหรับน้ำเสียที่มีสิ่งสกปรกหรือตะกอนปนอยู่?
- ใบพัดแบบกึ่งเปิด เนื่องจากสามารถลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในระบบปั๊มและป้องกันการชำรุดของใบพัดได้ดีกว่าแบบอื่นๆ
- ปัจจัยใดที่ต้องพิจารณาเมื่อเลือกปั๊มหอยโข่งสำหรับบำบัดน้ำเสีย?
- คือ ประเภทของน้ำเสียที่จะบำบัดและขนาดของปั๊มและใบพัด เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการในการจัดการกับน้ำเสียและลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาการอุดตันและการชำรุดของปั๊ม
- การเลือกขนาดใบพัดสำคัญสำหรับงานบำบัดน้ำเสียยังไง?
- เพราะเนื่องจากขนาดใบพัดมีผลต่อประสิทธิภาพของปั๊ม ความเร็วเส้นรอบวงของใบพัดสัมพันธ์กับขนาดของใบพัด จึงมีผลต่อการไหลและค่าส่งสูงสุดของปั๊มนั่นเอง
Loading…