ปั๊มสระว่ายน้ำ เป็นหัวใจหลักที่สำคัญมาก ๆ ในทุกๆสระ โดยในทางเทคนิคแล้วปั๊มสระว่ายน้ำที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนั้นจะเป็นการใช้ปัํมชนิดที่เรียกว่า ปั๊มหอยโข่ง โดยการทำงานหลัก ๆ คือการสร้างแรงเหวี่ยงเคลื่อนมวลน้ำโดยอาศัย แรงหนีศูนย์กลาง สำหรับการไหลเวียนของระบบน้ำ เพลามอเตอร์ของปั๊มน้ำจะทำหน้าที่ส่งกำลังให้ใบพัดที่ถูกติดตั้งเอาไว้ภายในหมุนด้วยความเร็วพัดเอา น้ำที่ดูดเข้ามาออกไป การทำงานนี้ทำให้เกิดแรงดันลบหรือที่เรียกว่า ภาวะสุญญากาศ น้ำที่ไหลผ่านเข้ามาก็จะไหลด้วยความเร็วออกไปตามท่อส่งอีกด้านหนึ่งของเครื่องปั๊มน้ำ
โดยจะดึงน้ำจากสระน้ำผ่านตัวสกิมเมอร์และท่อระบายหลัก ดันน้ำผ่านตัว กรองด้านขาออก และส่งกลับเข้าสระผ่านทางท่อส่ง โดยตัวกรองตัวดักเศษผมและเศษผ้า มอเตอร์ไฟฟ้า สามารถใช้ไฟ 110 หรือ 220 โวลต์และมีรอบหมุนที่ 3,450 รอบต่อนาที สามารถระบาย ความร้อนด้วยอากาศและควรใช้ความระมัดระวังป้องกันไม่ให้น้ำกระเด็นเข้าสู่มอเตอร์เพราะจะทำให้เกิดความเสีนหาย ใบพัดเชื่อมต่อกับปลายเพลาของมอเตอร์ เมื่อหมุนจะดึงน้ำผ่านท่อดักเศษผมและ เศษผ้าที่ส่วนท้ายของปั๊มที่มีตัวกรองติดตั้งเอาไว้ แล้วดันออกทางด้านบนของปั๊มใบพัดมีช่องเปิดขนาดเล็ก
วิธีการเลือก ปั๊มสระว่ายน้ำ และการเลือกตัวกรองที่เหมาะสม
- วัดขนาดสระของคุณ
- คำนวณพื้นที่
- คำนวณน้ำในสระของคุณ
- คำนวณอัตราการหมุนเวียนของน้ำขั้นต่ำ
- คำนวณอัตราการไหลที่ทำได้สูงสุด
- เลือกปั๊มสระว่ายน้ำที่เหมาะสม
- เลือกตัวกรองที่เหมาะสม
- ตัดสินใจเลือกตัวกรองทรายหรือตลับ
- ดูรายละเอียดข้อมูลของผลิตภัณฑ์
- ควรเลือกตัวกรองที่มีขนาดใหญ่ไว้ก่อน
เมือคุณสร้างสระว่ายน้ำก็จะต้องทำการติดตั้ง ปั๊มสระว่าย น้ำเอาไว้ตามความเหมาะสมเพื่อช่วยให้สระว่ายน้ำของคุณสะอาดอยู่เสมอและทำให้สระว่ายน้ำ ของคุณสามารถใช้งานได้อย่างสะดวกมีประสิทธิภาพ และสามารถลด ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบต่าง ๆ ของสระว่ายน้ำในอนาคตได้
1. วัดขนาดสระของคุณ
ขั้นตอนแรกสำหรับการเตรียมตัวคือคุณควรจะต้องวัดขนาดสระว่ายน้ำของคุณเสียก่อน โดยสามารถวัดแบบง่าย ๆ โดยใช้ตลับเมตรหรือจะเป็นเครื่องวัดอื่น ๆ ก็สามารถทำได้โดยให้ทำการวัดความยาว ความกว้าง และความลึก ของสระว่ายน้ำ เน้นย้ำว่าคุณ ควรจะวัดความลึก ให้แม่นยำมากที่สุดเพราะส่วนนี้จะเป็นตัวบ่งชี้ว่าจะสามารถจุน้ำได้ปริมาณมากน้อยขนาดไหน และมีผลต่อการคำนวณอย่างต่อไปนี้ด้วย
2. คำนวณพื้นที่
ให้คุณทำการคำนวณพื้นที่ระนาบพื้นผิวของสระว่ายน้ำโดยการนำ ความยาวของสระน้ำที่วัดได้ คูณด้วยความกว้าง คุณก็จะได้พื้นที่ในระนาบพื้นผิวหน้าของสระว่ายน้ำได้แล้ว และสามารถไปถึงการคำนวณขั้นต่อไปได้
3.คำนวณน้ำในสระของคุณ
เมื่อคุณมาถึงขั้นตอนนี้แล้วคุณต้องทำการคำนวนว่าสระว่ายน้ำของคุณนั้นมีความสามารถจุน้ำได้กี่แกลลอน ในเคสเบื้องต้นหากว่าสระว่ายน้ำของคุณมีรูปทรงเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า คุณก็สามารถจะใช้สูตรดังต่อไปนี้ทำการคำนวณตามได้เลย สูตรการหาค่าความลึก (ความตื้น+ความลึก/2=AD) สระสี่เหลี่ยมผืนผ้า (ยาว×กว้าง×สูง×7.5**หมายเหตุ1แกลลอนมีน้ำบรรจุอยู่ หนึ่งลูกบาสก์ฟุตซึ่งเท่ากับ 7.5**)ถ้าเกิดว่าสระน้ำของคุณไม่ได้เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าให้ลอง หาสูตรคำนวณแบบอื่น ๆ ซึ่งอาจจะมีการคำนวณปริมาตรของสระว่ายน้ำรูปทรงอื่น ๆ ได้
4. คำนวณอัตราการหมุนเวียนของน้ำขั้นต่ำ
น้ำในสระน้ำของคุณควรจะต้องหมุนเวียนในทุก ๆ 8 ชั่วโมงโดยการหาอัตราการไหลขั้นต่ำโดยให้ใช้ปริมณความจุของสระว่ายน้ำของคุณ หน่วยเป็นแกลลอนและหารด้วย 8 และหลังจากได้ผลลัพธ์แล้วทำการหารผลลัพธ์อีกครั้งด้วย 60 ตัวเลขที่ได้ออกมานั้นคืออัตราการไหลขั้นต่ำของสาระน้ำคุณ
5. คำนวณอัตราการไหลที่ทำได้สูงสุด
ในขั้นต่อไปคุณจะต้องหาอัตราการไหลที่ทำได้สูงสุดของสระว่ายน้ำของคุณ โดยตัวที่กำหนดหลัก ๆ คือ ขนาดของท่อน้ำ โดยทั่วไปแล้ว ท่อน้ำขนาด 3 นิ้วสามารถจะรองรับน้ำได้ 150 แกลลอนต่อนาที ท่อขนาด 2 นิ้วจะรับส่งน้ำได้ 73 แกลลอนต่อนาที และท่อขนาด 1.5 นิ้วสามารถรับน้ำได้ 45 แกลลอนต่อนาที
6. เลือก ปั๊มสระว่าย น้ำที่เหมาะสม
มาถึงตอนนี้คุณก็พอจะได้รับข้อมูลของขนาดสระว่ายน้ำ ปริมาณน้ำในสระ อัตราการไหลสูงสุด ต่ำสุด แล้วก็สามารถจะเข้าไปที่ร้านจำหน่ายเพื่อเลือกดูปั๊มน้ำที่รองรับการทำงานตามขนาดสระน้ำของคุณได้
7. ควรเลือกตัวกรองที่เหมาะสม
หากต้องการเลือกตัวกรองสระว่ายน้ำให้ได้ ให้ใช้พื้นที่ผิวของสระว่ายน้ำและดูแผนภูมิขนาดตัวกรองออนไลน์ได้ตามความสามารถที่ตัวกรองนั้น ๆ ทำได้
8. ตัดสินใจเลือกตัวกรองทรายหรือตลับ
ตัดสินใจว่าคุณต้องการรูปแบบไส้กรองแบบที่สามารถกรองอะไรได้ อาจจะเป็นการกรองดินเบา (DE) ไส้กรองสำหรับทราย หรือไส้กรองแบบตลับ โดยในส่วนของไส้กรอง DE มีราคาแพงที่สุด แต่ได้น้ำในสระที่สะอาดที่สุด ไส้กรองแบบตลับนั้นสามาถดูแลง่ายที่สุด และหากทำความสะอาดทุก 4 ถึง 6 เดือน ตัวกรองก็จะมีอายุการใช้งาน 2 ถึง 4 ปี ส่วนตัวกรองทรายมีราคาถูกที่สุด แต่ก็ไม่สามารถทำความสะอาดน้ำได้ดีเหมือน DE และเช่นเดียวกับตัวกรองประเภท อื่น ๆด้วย
9. ดูรายละเอียดข้อมูลของผลิตภัณฑ์
ควรจะตรวจสอบข้อมูลแบบจำเพาะของผู้ผลิตเพื่อให้คุณแน่ใจได้ว่า ปั๊มน้ำยี่ห้อนั้น ๆ หรือตัวกรองที่คุณกำลังจะเลือกซื้อ มีความเหมาะสมกับขนาดและการใช้งานสระว่ายน้ำของคุณได้ดีที่สุด
10. ควรเลือกตัวกรอง ปั๊มสระว่ายน้ำ ที่มีขนาดใหญ่ไว้ก่อน
เพื่อการบำรุงรักษาที่ง่ายและหลีกเลี่ยงความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต คุณควรเลือกตัวกรองที่ดีที่สุดและขนาดใหญ่ที่สุดที่ปั๊มของคุณสามารถรองรับได้ ตัวกรองที่มีขนาด ใหญ่สามารถทำการกรองเอาเศษต่าง ๆ ที่อยู่ในสระน้ำได้ดีกว่าและเกิดการอุดตันของท่อน้อย ลงไปด้วยและช่วยให้คุณไม่ต้องทำการเปลี่ยนใส้กรองบ่อย ๆ นั่นเอง
การติดตั้ง ปั๊มสระว่าย น้ำที่ถูกต้อง
การติดตั้ง ปั๊มสระว่ายน้ำ มีข้อดีคือทำให้น้ำในสระมีความใสสะอาด และมีความปลอดภัย การติดตั้งปั๊มสระว่ายน้ำและตัวกรองก็ควรจะคำนึงถึงความปลอดภัย และความสามารถในการทำงาน หรือฟีเจอร์ต่าง ๆ ของมันด้วย เราจึงควรทำความเข้าใจกับลักษณะการทำงานของปั๊มและควรจะ อ่านคู่มือการทำงานของเครือ่งปั๊มหรือระบบต่าง ๆ ให้เข้าใจอย่างละเอียด
การติดตั้งตัวเครื่องปั๊มน้ำ ควรที่จะทำการติดตั้งให้อยู่ภายในบริเวณสระน้ำ หรือให้ใกล้สระน้ำมากที่สุดและจัดวางเอาไว้ในที่ที่เหมาะสมและควรมีความมั่นคงแข็งแรงเพื่อเป็นไปตามความปลอดภัยกับผู้ใช้งาน การเลือกเส้นผ่าสูญกลางของท่อน้ำ ที่จะใช้ควรจะมีขนาดใหญ่กว่าหรือเท่ากัน กับท่อน้ำผั่งขาออก หากเป็นไปได้ควรจะใช้ท่อดูดขนาดเส้นผ่าสูญกลางไม่เล็กกว่า 2 นิ้ว รางรับน้ำที่ล้นออกมา ควรจะมีความลึกอยู่ 0.20 เมตรคำนวณพื้นที่สำรองน้ำเมื่อกรณีที่มีผู้ลงใช้งานเต็มสระ โดยมีสูตรการคำนวณคือ สระน้ำต่อ 1 คนใช้พื้นที่ 1 ตรม. / 1 คน จะแทนที่น้ำ ประมาณ 75 ลิตร 75 x จำนวนคนที่ลงเต็มสระ = ส่วนของน้ำที่ต้องเตรียมพื้นที่สำรอง สระส่วนตัวต่อ 1 คนใช้จะพื้นที่คิดเป็น 2 ตรม. / 1 คน จะมีปริมาตรแทนที่น้ำอยู่ที่ประมาณ 75 ลิตร 75 x จำนวนคนที่ลงเต็มสระทำการคำนวนตามสูตร ( ขนาดสระ (ตรม.) ÷ 2 ) = น้ำที่ต้องเตรียมพื้นที่สำรอง
การต่อท่อในส่วนของข้อต่อต่าง ๆ ใช้เทปพันท่ออย่างพอประมาณไม่แนะนำให้พันเทปมากเกินไป อย่าใช้น้ำยาทาเกลียว หรือน้ำมันหล่อลื่นที่ส่วนผสมในนั้นมีปิโตรเลียมผสมอยู่เนื่องจากอาจจะทำให้ส่วนพลาสติกอาจจะแตกหักได้ ท่อที่ เดินภายในควรจะมีขนาด เหมาะสมเพื่อให้ตรงกับอัตราการไหลของระบบน้ำและควรติดตั้งวาวล์ เพื่อการตรวจสอบแรงไหล เพื่อป้องกันน้ำไหลย้อนกลับซึ่งถ้าเกิดเหตุน้ำย้อนกลับภายในท่อนั้นอาจจะส่งผล ให้เครื่องทำงานหนักกับเพลาและใบพัดเครื่องปั๊มน้ำได้ และอาจเป็นสาเหตุให้ใบพัดหมุนกลับด้าน และหลุดออกจากแกนเพลาก็ได้
หากความดันบนมาตรวัดแรงดันที่ด้านบนของตัวกรองมีค่าที่วัดได้ต่ำกว่าระดับที่แนะนำ และถ้าสังเกตุปริมาณน้ำที่ไหลกลับไปที่สระลดลง เป็นไปได้ว่าอาจจะเกิดใบพัดอุดตันหรือเสียหายขึ้นได้ สามารถระบุได้โดยการแยกส่วนประกอบ ที่ตัวเรือนใบพัดและตรวจสอบใบ พัดด้วยสายตา แผ่นดักเศษผมและเศษผ้าแบบพิเศษอยู่ที่ส่วนท้าย ของชุดปั๊มเพื่อป้องกันไม่ให้เศษผงเข้าไปในชุดใบพัด ภายในตัวดักเศษผมและเศษผ้ามีลักษณะเป็นตระแกง ซึ่งควรตรวจสอบและถ่ายเศษวัสดุออกอย่างน้อยสัปดาห์ละสองครั้ง หากตระแกงเกิดอุดตัน การไหลของน้ำเข้าปั๊มจะถูกจำกัด และปั๊มจะเริ่มดูดอากาศเข้าไปแทนน้ำเมื่อถึงจุดนี้ มอเตอร์จะเริ่มหมุนเร็วขึ้นและจะเกิดการไหม้ในที่สุด
เพิ่มเติมเกี่ยวกับ การเติมคลอรีนและ ปรับค่าPHของน้ำ
ก่อนที่คุณจะทำการเติมคลอรีนลงไปในสระ ทุกครั้งควรคำนึงไว้เสมอว่าเวลาที่ดีที่สุด ในการเติมคือช่วงค่ำ หรือเวลากลางคืน เพราะว่าเวลากลางวัน น้ำมีอุณหภูมิสูงและแสงอาทิตย์ จะทำให้สารคลอรีนระเหยตัวได้ไวมาก ควรใส่คลอรีนในอัตราส่วน 300 กรัมต่อจำนวณน้ำ 100 คิว ก็จะทำให้น้ำภายในสระมีค่าคลอรีนประมาณ 1.0-1.5 ppm. และควรรักษาค่าความเจอปนในน้ำ ไว้ไม่ให้ค่า คลอรีนต่ำกว่า 1.0 pp. เพราะฉะนั้นควรใส่คลอรีนลงไปในสระอย่างเหมาะสม โดยปกติแล้วแนะนำให้มีการเติม คลอรีนลงไปในสระทุกวัน เพราะว่าอาจจะมีผุ่นละออง ตระไคร่น้ำ หรือ แบคทีเรียมาฟัก ตัวอยู่ในน้ำอาจจะทำให้น้ำไม่สะอาดและเกิดขุ่นมัวขึ้นโดยทั่วไปแล้วค่ามาตรฐาน ph สำหรับสระว่ายน้ำนั้นจะอยู่ที่ PH=7.4 หรือระหว่าง 7.2-7.6 โดยควรวัดค่า PH อยู่เสมอ เพราะถ้าต่ำกว่า 7.2 แล้วจะทำให้ สารคลอรีนสลายตัวไปอย่างรวดเร็ว และอาจจะส่งผล ให้เมื่อลงเล่นน้ำเกิดแสบตาได้
เช็คราคา ปั๊มสระว่ายน้ำ ได้ที่นี่
บทความอื่น ๆ เพิ่มเติม- จะเลือกใช้เครื่อง ปั๊มน้ำ แบบไหนดีให้เหมาะสมกับการใช้งาน
Loading…