ปั๊มน้ำ ภาษาอังกฤษ Water Pump เป็นอุปกรณ์ ที่ช่วยส่งน้ำอีกที่หนึ่ง ไปยังอีกจุดหนึ่ง เพื่อการใช้อุปโภค บริโภคต่างๆ และใช้ในการบำบัดน้ำเสีย เพื่อรักษาสภาวะแวดล้อมได้อีกด้วย ปั๊มน้ำ มีให้เลือกหลากหลาย เพื่อให้เหมาะกับวัตถุประสงค์ และความต้องการที่แตกต่างกันไป แต่ที่นิยมใช้กันภายในบ้านจะเป็นชนิดที่ใช้ไฟฟ้า ซึ่งมีความสะดวกและง่ายต่อการใช้งานนั่นเอง
ในการเลือก ปั๊มน้ำ มาใช้งานมีอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญในการเลือกซื้อ ปั๊มน้ำ เลยก็คือ คุณต้องเข้าใจถึงความหมาย และข้อมูลต่าง ๆ ของตัว ปั๊มน้ำ ว่าเป็นยังไง? เพื่อให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มันจะมี เนมเพลท (Name Plate) ที่ติดอยู่กับตัว ปั๊มน้ำ มันอ่านยังไง? หากคุณไม่เข้าใจว่ามันอ่านยังไง ในบทความนี้จะให้คำตอบกับคุณ
ปั๊มน้ำ คืออะไร?
ก่อนอื่นเรามาดูกันก่อนนะครับว่า ปั๊มน้ำ ในความหมายของมันคืออะไร? ปั๊มน้ำ ใช้สำหรับส่งน้ำหรือถ่ายเทของเหลวจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งนั่นเอง มีทั้งแบบที่ใช้ มอเตอร์ไฟฟ้า และ แบบที่ใช้ เครื่องยนต์ ที่ใช้น้ำมัน ทำหน้าที่หมุนส่งกำลังให้ ปั๊มน้ำ ทำงาน เพื่อเพิ่มแรงดัน และส่งน้ำไปตามท่อปั๊มน้ำที่ใช้ในบ้านส่วนใหญ่ จะเป็นแบบไฟฟ้า ปั๊มน้ำแบ่งตามลักษณะการทำงานออกเป็น 2 แบบ คือ
- แบบอาศัยแรงกลไกการเหวี่ยงหนีศูนย์ของๆเหลวในการพาของเหลว
- แบบอาศัยการแทนที่ของๆเหลวในการพาของเหลว
ปัจจัยหลักในการเลือก ปั๊มน้ำ
ก่อนที่ผมจะพาคุณไปอ่าน เนมเพลท ผมจะพามาดูปัจจัยในการเลือก เครื่องมือช่าง ประเภท ปั๊มน้ำ ก่อนละกันครับ พูดถึง ชนิดของของเหลวที่ต้องการสูบ อัตราการสูบ ระยะส่ง หรือแรงดันน้ำ และวัสดุของตัว ปั๊มน้ำ รวมถึงชิ้นส่วนภายในนั้นเอง จะมีอะไรบ้างไปดูกัน
1. สิ่งที่ต้องการสูบ ใช้งาน
ในการใช้งาน ปั๊มน้ำ ไม่ได้ใช้งานแค่สูบน้ำ แต่สำหรับพวกโรงงาน อุตสาหกรรมต่างๆ มักจะมีของเหลวที่จำเป็นต้องใช้ ปั๊มน้ำ ในการสูบจ่าย และในการเลือกซื้อ ปั๊มน้ำ จำเป็นต้องรู้ชนิดของของเหลวที่ต้องการสูบว่ามีลักษณะเป็นยังไง? อุณหภูมิเท่าไหร่? และมีความหนืดหรือความหนาแน่นมากน้อยแค่ไหน? ควรใช้ ปั๊มน้ำ ชนิดไหนถึงจะเหมาะสมที่สุด
2. อัตราการสูบ
อัตราการสูบขึ้นอยู่กับงานแต่ละประเภท ว่าต้องใช้แรงในการสูบมากน้อย แตกต่างกันออกไปแค่ไหน ซึ่งการเลือก ปั๊มน้ำ ให้เหมาะสม ถูกต้อง จะช่วยในเรื่องของการใช้พลังงานอย่างเหมาะสม เช่น หากใช้แรงสูบน้อย แต่เลือกปั๊มที่แรงสูบเยอะก็จะกินไฟมาก หรือถ้าใช้แรงสูบเยอะ แต่เลือกปั๊มที่แรงสูบน้อยก็จะทำงานได้ไม่เต็มที่นั่นเอง
3. ระยะส่ง หรือแรงดันน้ำ
ปั๊มน้ำ สามารถส่งน้ำได้สูงสุดขึ้นไปแนวดิ่ง (แต่ในความจริงจะมี Head ที่สูญเสียไปในระบบ ทำให้ปั๊มไม่สามารถส่งน้ำได้สูงถึงได้ เนื่องจากแรงเสียดทานจากพื้นผิวท่อ แรงเสียดทานอุปกรณ์ต่างๆในระบบท่อ เช่น ข้อต่อ ข้องอ วาล์วต่างๆ กล่าวคือ ท่อยิ่งยาวหรืออุปกรณ์ในระบบท่อยิ่งมาก ยิ่งสูญเสีย Head มากค่ะ
4. วัสดุของตัวปั๊มน้ำ
ปั๊มน้ำ มีวัสดุทั้ง เหล็กหล่อ สแตนเลส พลาสติก และ ทองเหลือง ซึ่งวัสดุแต่ละชนิดมีข้อดีข้อเสียต่างกัน กล่าวคือ มีความแข็งแรง ความทนทาน น้ำหนัก และราคา แตกต่างกันมาก ดังนั้น การเลือกวัสดุของปั๊มให้เหมาะสมกับการใช้งาน ยังสามารถช่วยลดงานซ่อมบำรุง, รักษาระยะเวลาการใช้งานให้ยาวนาน แข็งแรง ทนทาน รวมถึงราคาในการซื้อ ปั๊มน้ำ อีกด้วย
เลือกใช้งาน ปั๊มน้ำ ให้ถูกประเภท เพื่อใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อ่าน เนมเพลท ปั๊มน้ำ ให้เป็น เพื่อการใช้งานที่มีประสิทธิภาพ
สินค้าต่างๆที่คุณเลือกซื้อ มันจะมีป้ายบอกราคา ยี่ห้อ ประเภทของสินค้านั้นๆ ให้คุณได้อ่านก่อนการตัดสินใจซื้อ ปั๊มน้ำ ก็เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรมต่างๆ เครื่องมือและอุปกรณ์แทบจะทุกอย่าง จะมีตัวฉลากติดอยู่ที่ตัวเครื่องที่เรียกว่า ” เนมเพลท ” Name Plate เป็นป้ายโลหะหรือสติ๊กเกอร์พลาสติกขนาดเล็กไปจนถึงใหญ่ตามขนาดอุปกรณ์นั้นๆ
ในบทความนี้ผมจะมา บอกวิธีการอ่าน เนมเพลท แบบง่ายๆ ใใครก็สามารถเข้าใจได้ ซึ่งผมจะยกตัวอย่าง เเนมเพลท ของ ปั๊มน้ำ มาเป็นตัวอย่าง จะเป็นแบบไหนมาดูพร้อมกันได้เลยครับ
อ่านเนมเพลท ปั๊มน้ำ
ผมจะยกตัวอย่างและให้คุณนำไปปรับใช้นะครับ เพราะ ปั๊มน้ำ แต่ละยี่ห้ออาจจะเขียนไม่เหมือน หากพร้อมแล้วไปอ่านกันได้เลยครับ
- Q ช่วงปริมาณการไหลของน้ำ เช่น Q 5 – 39 l/min, H 35 – 3 m ค่าแรกของช่วง Q 5, H 35 คือ ที่อัตราการส่งสูง 35 m จะได้ปริมาณการไหลของน้ำ 5l/min, และค่าสุดท้ายของช่วง Q 39, H 3 คือ ที่อัตราการส่งสูง 3 m จะได้ปริมาณการไหลของน้ำ 39 l/min ยิ่งส่งสูงจะทำให้ปริมาณการไหลของน้ำลดลงนั่นเอง
- V คือ แรงดันไฟฟ้าที่ตัว ปั๊มน้ำ ใช้งาน มีจำนวนหน่วยระบุเป็นโวลต์ ตัวนี้อยู่ที่ 180-220 นั่นเอง
- kW คือ กิโลวัตต์ หรือ กำลังไฟที่ ปั๊มน้ำ ใช้งาน 1 แรงม้า = 0.75 kW
- C Capacitor คือ ตัวเก็บประจุไฟฟ้ามีหน้าที่ช่วยให้มอเตอร์ทำงานติดเมื่อสตาร์ทเครื่อง จึงใช้งานได้นาน uF จะเป็น ตัวบอกค่าประจุหรือคอนเดนเซอร์นั่นเอง
- Hz คือ ค่าความถี่ และระบบสั่นสะเทือนในการใช้ของ ปั๊มน้ำ
- Hp หรือ Horse Power คือ กำลังแรงม้า
- Size ขนาดของ ปั๊มน้ำ
- VL คือ แรงดันตก คร่อมโหลด
- H.max. อัตราการส่งสูงสุด มีหน่วยวัดเป็นเมตร
- H.min อัตราการส่งต่ำสุด มีหน่วยวัดเป็นเมตร
- In คือ กระแสไฟ หน่วยเป็นแอมแปร์ (Ah)
- IP คือ ค่ามาตรฐานกันน้ำกันฝุ่น IPX4 สามารถป้องกันละอองน้ำได้
- CL คือ ค่ามาตรฐานขดลวด
- n. หรือ NO. เป็นตัวเลขระบุ Serial Number ของเครื่องปั๊มน้ำรุ่นนั้น ๆ
เช็คราคา ปั๊มน้ำ เพิ่มเติม
บทความอืนๆที่น่าสนใจ
- ปั๊มหอยโข่ง การทำงานและ การอ่านค่ากราฟ ที่ต้องรู้ไว้ก่อนเลือกใช้งาน
- วิธีการบำรุงรักษา ปั๊มหอยโข่ง ให้ใช้งานได้นานขึ้น
Loading…