สารบัญ
- ส่วนประกอบของปั๊มดูดน้ำมัน
- การทำงานของ ปั๊มดูดน้ำมัน
- ปัจจัยที่ต้องพิจรณาก่อนเลือกปั๊ม
- ปั๊มดูดน้ำมันประเภท เบนซิน
- ข้อควรระวังในการใช้งาน ปั๊มดูดน้ำมัน
ปั๊มดูดน้ำมัน ใช้ทำงานในการถ่ายโอนน้ำมันจากแหล่งหนึ่งไปอีกแหล่งหนึ่ง เพื่อให้สามารถจ่ายน้ำมันเข้าไปยังยานพาหนะ ได้ในกรณีที่ไม่ต้องเติมโดยตรงผ่านปั๊มน้ำมัน มันยังสามารถใช้ถ่ายน้ำมันจากยานพาหนะคันหนึ่งไปยังอีกคันหนึ่งได้อีก ปั๊มดูดน้ำมันแต่ละชนิดนั้นถูกออกแบบมาให้มีขนาดกะทัดรัดไม่ใหญ่จนเกินไปเพื่อความสะดวกในการ พกพาเคลื่อนย้ายไปทีไหนก็ได้ เนื่องจากปั๊มส่งเชื้อเพลิงส่วนใหญ่มักใช้กับ อุตสาหกรรมเชิงพาณิชย์ จึงมีการออกแบบเพื่อใช้สำหรับการถ่ายโดนน้ำมันดีเซลโดยเฉพาะ
อย่างไรก็ดี ปั๊มชนิดนี้ยังมีการออกแบบไห้ใช้กับน้ำมันเชื้อเพลิง และส่วนของเหลวอื่น ๆ ได้ทุกประเภทรวมถึงน้ำมันเบนซินที่มีความไวไฟได้ด้วยการถ่ายโอนไปยังพาหนะ จำเป็นต้องใช้เครื่องจ่ายเชื้อเพลิงด้วยแรงดันที่ต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพโดยไม่หยุดชะงักเพื่อลดการ ปะปนเข้าไปของอากาศและสิ่งอื่น
ข้อดีของการใช้อุปกรณ์ดูดน้ำมันคือช่วยให้ขนถ่ายน้ำมันได้ง่ายและประหยัดต้นทุนกว่าการเคลื่อนไปสถานีเติมน้ำมันแบบเดิม โดยประเภทการใช้งานมีหลากหลายทั้งแบบมือหมุน ไปจนถึงการใช้ระบบไฟฟ้า โดยทั่วไปปั๊มดูดน้ำมันจะมีส่วนประกอบหลัก ๆ คือ มอเตอร์ เฟือง และท่อสำหรับดูดและถ่ายเทเชื้อเพลิง ซีลและวาวล์เพื่อช่วยให้น้ำมันสามารถถ่ายโอนไปยังทิศทางที่ถูกต้องและ เป็นการป้องกันไม่ให้น้ำมันเชื้อเพลงเกิดการรั่วไหลออกมา ขนาดของท่อส่งก็มีความสำคัญเพราะเป็นส่วนต่อที่ทำหน้าที่ส่งต่อน้ำมันไปอีกที่
1
ส่วนประกอบของปั๊มดูดน้ำมัน
- ตัวเครื่องปั๊ม มีส่วนประกอบที่มักจะทำจากโลหะเพื่อป้องกันความเสียหายจากการขนย้ายและยังช่วยป้องกันการรั่วไหลของน้ำมันเชื้อเพลิง
- เกียร์ปั๊ม เป็นส่วนที่มีลักษณะเป็นกลไกที่นำน้ำมันเชื้อเพลิงผ่านวาวล์ต่าง ๆ ผ่านไปยังระบบกรอง ก่อนจะจ่ายออกไปผ่านท่อส่ง
- มอเตอร์ สร้างแรงดูดภายในระบบ ทำให้เกิดสุญญากาศที่ดึงเชื้อเพลิงขึ้นมาผ่านสถานีปั๊ม (มอเตอร์ จะอยู่ในปั๊มประเภทไฟฟ้า)
- ท่อ เป็นส่วนของระบบส่งที่เชื่อมต่อกับเครื่องที่ทำหน้าที่เป็นตัวส่งผ่านน้ำมันไปได้
- ตัวกรอง จะทำให้น้ำมันที่ผ่านการดูดออกมาผ่านการกรองเอาเศษปนเปื้อนออกไปทำให้แน่ใจได้ว่าจะไม่มี ส่วนปนเปื้อนออกมากับน้ำมันได้และจะเป็นการป้องกัน ความเสียหายต่อส่วนประกอบต่าง ๆ ของตัวถังเก็บเชื้อเพลิงและตัวเครื่อง
- วาล์ว วาล์วเป็นส่วนที่ทำหน้าที่ป้องกันและ จำกัดปริมาณน้ำมันที่ถูกดูดขึ้นมาภายในและเป็นตัวป้องกันการไหลย้อนกลับของน้ำมันด้วย
2
การทำงานของ ปั๊มดูดน้ำมัน
ปั๊มดูดน้ำมัน มีหลายประเภทได้แก่ ปั๊มมือหมุนและปั๊มไฟฟ้า โดยเป็นการออกแบบให้สามารถทำงานได้ด้วยการใช้มือหมุน และยังสามารถใช้ไฟฟ้าเพื่อคุมปั๊มให้ทำงานได้อย่างอัตโนมัติ โดยปั๊มน้ำมันแบบมือหมุนมีราคาถูกกว่าปั๊มไฟฟ้าและสามารถใช้งานได้ง่ายกว่า แต่ว่าการใช้งานในการปั๊มน้ำมันยังทำได้อย่างมีข้อจำกัดของระยะเวลาในการใช้งาน เพราะต้องใช้กำลังของผู้ใช้งานหมุนปั๊ม แต่ปั๊มดูดน้ำมันที่ใช้งานโดยไฟฟ้า สามารถใช้สูบน้ำมันในระยะไกลกว่าได้ แต่ก็มีราคาแพงกว่า แบบมือหมุน
3
ปัจจัยที่ต้องพิจรณาก่อนเลือกปั๊ม
การเลือกปั๊มดูดน้ำมีวิธีการและปัจจัยที่จำเป็นต้องคำนึงถึงก่อนเลือกซื้อปั๊มมาใช้งานเพื่อให้ได้ขนาดและขีดความสามารถที่ปั๊มประเภทนั้น ๆ ทำได้สูงสุดและคุ้มค่าต่องบประมาณที่ทำการลงทุนไปอย่างไม่เสียเปล่าปัจจัยที่ว่านี้จะมีอะไรบ้างลองไปดูกัน
- อัตราการไหล
อัตราการไหลจะเป็นตัววัดว่าคุณจะสามารถจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงได้เร็วแค่ไหน โดยมีหน่วยวัดเป็น ลิตร ต่อนาที (ipm) โดยส่วนใหญ่แล้วจะขึ้นอยู่กับขนาด ของพาหนะหรืออุปกรณ์ที่คุณจะเติมและความจะของตัวถัง และจะต้องเลือกปั๊มดูดน้ำมันที่มีค่าอัตรการไหลที่เหมาะสม ถ้าหากว่าอัตราการไหลที่ต่ำเกินไปอาจจะทำให้ เวลาในการถ่ายเทเชื้อเพลิงอาจจะใช้เวลานานขึ้น แต่สำหรับปั๊มที่มีอัตราการไหล มากเกินไปอาจจะทำให้หกกระเด็นหรือทำให้เกิดฟองได้
สำหรับยานพาหนะขนาดเล็ก เช่น รถยนต์ รถตู้ รถยก และยานพาหนะโรงงานขนาดเล็ก และนำให้ใช้อัตราการไหลที่ 50 ipm
สำหรับยานพาหนะขนาดใหญ่ เช่น รถบรรทุก รถตู้ขนาดใหญ่ รถบรรทุกขนาดใหญ่ และรถงานเกษตร แนะนำให้ใช้อัตราการไหลที่ 70 ipm
ยานพาหนะความจุแบบสูง เช่น รถบัสและรถโค้ช รถต่อพ่วง และรถการเกษตรขนาดใหญ่ แนะนำให้ใช้อัตราการไหลที่ 90 ipm
- แรงม้า
(สำหรับเครื่องปั๊มดูน้ำมันแบบใช้ไฟฟ้า) ควรเลือกกำลังแรงม้าของเครื่องสูบ ที่มีกำลังเหมาะสมซึ่งจะช่วยให้เครื่องทำงาน ได้อย่างราบลื่นที่สุดและต่อเนื่อง
- โหมดการทำงาน
มีประเภทของเครื่องปั๊มให้เลือกตามการทำงานว่าจะใช้แบบไหน เช่น แบบมือหมุน แบบไฟฟ้า แบบเฟือง เป็นต้น
- แหล่งพลังงาน
ประเภทการใช้งานของปั๊มที่ใช้ เช่น ไฟฟ้า นิวแมติก DC และอื่น ๆ จะมีช่วงแรงดันไฟฟ้า 110V หรือ 220V ปั๊มไฟฟ้ากระแสตรงจะมีช่วงแรงดันไฟฟ้า 12V, 24V หรือ 48V
- ปัจจัยประกอบ
เช่น ความยาวของสายจ่าย วัสดุ ท่อส่ง ความยาวสายไฟ ระยะห่างระหว่างถังเก็บเชื้อเพลง และ ตัวรับ เป็นต้น
- สภาพแวดล้อม
เช่นอุหภูมิ ตำแหน่งที่ตั้งเครื่อง สภาพพื้นที่การทำงาน วัสุตัวปั๊ม เพื่อปกป้องและป้องกันผู้ใช้งานจากอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากการทำงานนี้
4
ปั๊มดูดน้ำมันประเภท เบนซิน
ปั๊มดูดน้ำมัน ส่วนใหญ่ได้รับการออกแบบมาสำหรับการถ่ายน้ำมันดีเซล และไม่สามารถจะใช้สูบถ่ายน้ำมันเบนซินได้ เพราะสาเหตุมาจากน้ำมันเบนซินนั้นติดไฟได้ง่าย กว่าน้ำมันดีเซล นั่นเองโดยจุดติดไฟของน้ำมันเบนซินอยู่ที่ 45°C ส่วนจุดติดไฟของน้ำมันดีเซล นั้นอาจจะแตกต่างกันไปซึ่งจะขึ้นอยู่กับประเภทของน้ำมันดีเซลที่ใช้ โดนชนิดที่พบเป็นมาตรฐานมากที่สุดจะอยู่ที่ ประมาณ 51°C ไปจนถึง 82°C โดยสำหรับปั๊มดูดน้ำมันเบนซิน นั้นจะถูกออกแบบเป็นอีกประเภทหนึ่งอีกที
5
ข้อควรระวังในการใช้งาน ปั๊มดูดน้ำมัน
- คุณควรจะต้องหยุดการทำงานในทันทีที่ได้ยินเสียงผิดปกติจากเครื่องปั๊มหรือเมื่อสังเกตุเห็นควันปรากฏขึ้น เพื่อป้องกันอัคคีภัยที่อาจขี้นได้
- อย่าเปิดฝาปั๊มน้ำในขณะเติมน้ำมัน เพื่อเป็นการป้องกัน ไม่ให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิด อัคคีภัยและเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการสูดดมละออง เชื้อเพลิงที่อาจเป็นพิษได้
- การใช้ปั๊มน้ำมันถ่ายน้ำมันกลาง แจ้งต้องวางให้ห่างจากสารไวไฟเช่น ทินเนอร์ผสมสี และน้ำมัน
- ควรรักษาอุณหภูมิไม่ให้ร้อนเกินไปเมื่อ กำลังใช้งานปั๊มดูดน้ำมันอยู่เพราะอาจจะทำให้เกิดอันตรายได้
- หลังจากการใช้งานเสร็จแล้ว ต้องทำความสะอาดปั๊มจ่าย ไม่ให้เกิดการตกค้างของน้ำมันอย่างเหมาะสมเพื่อความปลอดภัย ต่อการเก็บไว้
บทความอื่น ๆ : วิธีการบำรุงรักษา ปั๊มหอยโข่ง ให้ใช้งานได้นานขึ้น
Loading…