จะเลือกใช้เครื่อง ปั๊มน้ำ แบบไหนดีให้เหมาะสมกับการใช้งาน

ปั๊มน้ำ

ก่อนที่คุณจะตัดสินใจเลือกซื้อ ปั๊มน้ำ ก็ควรที่จะต้องคำนึงถึงคุณสมบัติต่าง ๆ ของมันเสียก่อนเพราะ ปั๊มน้ำ แต่ละประเภทนั้นก็มีรูปร่างและคุณลักษณะแตกต่างกันออกไปตามการใช้งานของแต่ละเครื่องเหมือนกัน โดยอย่างแรกก็จะต้องพิจรณาถึงว่าจุดประสงค์การใช้งานหลักๆ ของคุณนั้นเป็นแบบไหน เพื่อที่จะสามารถเลือกประเภทการใช้งานให้ตรงตามความต้องการได้ เพราะจะทำให้ได้อุปกรณ์ที่เหมาะสมกับรูปแบบการใช้งานและ คุ้มค่าตรงตามค่าใช้จ่ายต้นทุนการดำเนินงานที่คุณได้วางเอาไว้ โดยหลักๆ แล้ว ปั๊มน้ำ ที่มีใช้ในปัจจุบันนั้นที่มีวางจำหน่ายในร้าน เครื่องมือช่าง เช่น ปั๊มหอยโข่ง, ปั๊มน้ำอัตโนมัติ, ปั๊มซับเมอร์ส, ปั๊มกึ่งอัตโนมัติ เป็นต้น

เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน

  1. ข้อควรรู้เกี่ยวกับการทำงานของ ปั๊มน้ำ
  2. ประเภทของปั๊มน้ำ และรูปแบบการใช้งานเบื้องต้น
    1. ปั๊มหอยโข่ง (Centrifugal pump)
    2. ปั๊มน้ำอัตโนมัติ (Automatic pumps)
    3. ปั๊มแช่ หรือไดโว่ (Submersible Pump)
    4. ปั๊มซับเมอร์ส หรือเรียกอีกแบบว่า ปั๊มบาดาล (Deep Well Submersible Pump)
  3. การเลือกความจุของ ถังเก็บน้ำ
  4. วิธีเลือก ปั๊มน้ำอัตโนมัติ สำหรับใช้งานภายในบ้าน

คุณสมบัติของ ปั๊มน้ำ ที่คุณต้องดูและให้ความสำคัญนั้น แบ่งเป็น 2 ส่วนที่สำคัญมาก ๆ คือ

  • 1.) การคาดการณ์ถึงปริมาณความสามารถในการจ่ายน้ำหรือ Q เป็นปริมาณหรือขีดจำกัดของเครื่อง ปั๊มน้ำ นั้น ๆ จะทำได้ว่าคุณต้องการปริมาตรการจ่ายน้ำมากหรือปานกลาง เช่น ความสามารถของ ปั้มน้ำเครื่องนี้สามารถปล่อยน้ำได้ 6 ลบ.ม/ชั่วโมง เป็นต้นและเราสามารถเลือกได้ตามความต้องการ
  • 2.) ขีดจำกัดของแรงดันน้ำ ส่วนนี้เป็นส่วนสำคัญอีกหนึ่งอย่างที่ควรจะต้องดูเอาไว้เพราะว่าเป็นส่วนสำคัญ เช่นในพื้นที่ที่เรานำเอาเครื่อง ปั๊มน้ำ ไปติดตั้งไว้มีความลาดเอียงเป็นแนวราบ และความยาวท่อไม่เกิน 100 เมตรนั้นก็จะสามารถใช้เครื่องปั๊มที่มีแรงดันน้ำมาตรฐานที่ H= 24 ได้สบาย กลับกันในขณะที่ การวางท่อในแนวตั้งนั้นเมื่อระยะท่อมีความยาวเกิน 24 เมตรกำลังการส่งน้ำนั้นก็อาจทำได้น้อยลงไปด้วย เพราะน้ำหนักของน้ำที่อยู่ในท่อแนวตั้งนั้นมีผลต่อกระทำต่อแรงดันน้ำที่เครื่อง ปั๊มน้ำ ทำได้โดยตรง โดยการเลือกปั๊มนั้นควรคำนึงเอาไว้ว่าถ้าระทางท่อยาวเกินกว่าระดับที่ตัวเครื่องรับได้นั้นก็ควรจะเลือกเพิ่มขนาดของเครื่องตามค่าแรงดันน้ำ H นั้นขึ้นไปอีกเป็นประมาณ 30 เปอร์เซ็น เพื่อเป็นการชดเชยในทุกๆแรงดันน้ำสูญเสียไปหรือที่เรียกกันว่า Head loss นั่นเอง และข้อสังเกตุอีกอย่างคือ ลักษณะของหน่วยวัดกำลังของมอเตอร์มีอยู่ 2 รูปแบบคือ วัตต์(watt) และแรงม้า (HP) โดยเมือเทียบค่ากันแล้ว 1 แรงม้าจะเท่ากับ 750 วัตต์

เมื่อคุณเข้าใจถึงคุณลักษณะเบื้องต้นของ ปั๊มน้ำ แล้วก็ควรที่จะอ่านเสปคของเครื่องได้ กล่าวคือ คุณสมบัติเบื้องต้นของ ปั๊มน้ำ แต่ละแบบได้โดยจะแบ่งเป็นอักษรย่อต่างๆที่ติดมากับตัวเครื่องเช่น

  • Q/Q.Max คือช่วงปริมาณความสามารถสูงสุดในการไหลของน้ำ จะระบุค่าวัดเป็น ลิตร ต่อ นาที
  • H/H.Max คือกำลังแรงดันสูงสุดที่ทำได้ดี ที่อัตราการส่งในแนวตั้ง ยิ่งสูงอาจทำให้การไหลของน้ำลดลง เพราะน้ำหนักของน้ำในท่อกระทำต่อแรงโน้มถ่วงโดยตรงและอาจทำให้แรงดันลดลงได้
  • Mot. บอกถึงรูปแบบหรือลักษณะของชนิดมอเตอร์ที่เครื่องใช้
  • V เป็นค่าที่บอกถึงแรงดันไฟฟ้าที่ ปั๊มน้ำ สามารถจะใช้งานได้ ระบุไว้เป็นโวลต์
  • Hp คือกำลังแรงม้าของเครื่องมอเตอร์ ปั๊มน้ำ ฯ

ประเภทของปั๊มน้ำ และรูปแบบการใช้งานเบื้องต้น

ปั๊มน้ำ ได้ถูกออกแบบมาเพื่อให้เข้ากับสถาณะการใช้งานในแบบต่าง ๆ ซึ่งอาจจะมีคุณสมบัติแตกต่างกันออกไปตามความเหมาะสมนั้น ๆ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยและสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด โดยหลัก ๆ ปั๊มน้ำ จะแบ่งเป็น 4 รูปแบบเบื้องต้นที่มีการออกแบบเพื่อการใช้งานตามสภาพการที่ต่างกันไป

ปั๊มหอยโข่ง (Centrifugal pump)

ปั๊มน้ำ
ปั๊มหอยโข่ง

ปั๊มหอยโข่ง ชนิดนี้ใช้กันแพร่หลายในการเกษตร ด้วยความสามาถในการใช้งานได้ต่อเนื่องเป็นเวลานานรวมทั้งมีความทนทานและการใช้งานที่ไม่ยุ่งยาก ด้วยที่ปั๊มชนิดนี้สามารถจะส่งน้ำไปยังพื้นที่การเกษตรได้ไกล เช่นการสูบผันน้ำจากแท้งค์หรือส่วนของบ่อน้ำ งานรดน้ำในสวน สาเหตุที่เรียกปั๊มชนิดนี้ว่าปั๊มหอยโข่งเป็นเพราะว่า รูปแบบของตัวปั๊มมีส่วนหนึ่งที่มีลักษณะคล้ายก้นหอย โดยการทำงานแบบคร่าว ๆ กล่าวคือเป็นการใช้มอเตอร์หมุนใบพัดที่ติดกันเพื่อเหวี่ยงน้ำที่เข้ามาแล้วพัดออกไปด้วยกำลังแรงสูง ในระหว่างที่น้ำถูกดูดผ่านเข้ามานั้นก็จะได้รับความเร็วที่เพิ่มขึ้นในภาวะที่ท่อเป็นสูญญากาศนี้จะส่งผลให้เกิดแรงดันขึ้นไปพร้อม ๆ กัน ข้อดีของปั๊มหอยโข่งคือ ความทนทาน ราคาถูก และยังง่ายต่อการซ่อมแซมบำรุงรักษาอีกด้วย ทั้งยังสามารถรับปริมาณของน้ำได้อย่างมาก และอัตราการไหลเวียนพลังงานที่สูง

ปั๊มน้ำ อัตโนมัติ (Automatic pumps)

ปั๊มน้ำอัตโนมัติ
ปั๊มน้ำอัตโนมัติ

ปั๊มน้ำ ชนิดนี้อาศัยการทำงานแบบเดียวกับปั๊มหอยโข่งแต่ได้เพิ่มระบบการเปิดปิดอัตโนมัติตามแรงดันน้ำในท่อที่เปลี่ยนไป โดยมีตัวควบคุมคือ pressure switch และถังแรงดัน โดยคุณลักษณะนี้เหมาะเป็นอย่างยิ่งในการใช้งานภายในบ้านหรือตัวอาคารในบางกรณี เพราะไม่ต้องเสียเวลาในการเปิด-ปิด ปั๊มน้ำ ตลอดเวลาที่จะใช้หรือยังไม่ได้ใช้น้ำ เพราะเมื่อทันทีที่คุณเปิดก๊อกน้ำ ตัว ปั๊มน้ำอัตโนมัติ ก็จะทำงาน และพอคุณปิดก๊อกน้ำไปในสักพักเมื่อแรงดันในท่อน้ำกลับมาคงที่ ปั๊มน้ำอัตโนมัติ ก็จะหยุดทำงาน

ปั๊มแช่ หรือไดโว่ (Submersible Pump)

ปั๊มน้ำ
ปั๊มแช่ หรือไดโว่

การใช้งานปั๊มชนิดนี้มักนำมาใช้สำหรับการสูบน้ำเข้าออก เพราะตัวเครื่องปั๊มเป็นปั๊มขนาดพอดีเคลื่อนย้ายได้สะดวกไม่ต้องทำการติดตั้งแบบถาวร มักนิยมใช้ในการสูบย้ายน้ำ สูบน้ำท่วมขัง โดยแบ่งตามประเภทการใช้งานได้อีก 2 ประเภทได้แก่

  • ปั๊มแช่ใช้กับน้ำสะอาด โดยภายในเครื่องจะมีการกรองเอาน้ำและกันเศษต่างๆที่มีขนาดใหญ่กว่า 2 มิลลิเมตรออกไป เหมาะกับการใช้ทำระบบน้ำพุ หรือ ระบบตกแต่งภายในสวนเป็นต้น
  • ปั๊มแช่แบบใช้กับน้ำสกปรก โดยตัวปั๊มสามารถรับเอาตะกอนขนาดใหญ่ขนาดประมาณ 30 มิลลิเมตรเข้ามาได้ เหมาะกับนำไปสูบน้ำในบ่อเลื้ยงปลา หรือสูบเอาน้ำท่วมขังออกไปได้อย่างดี

ปั๊มซับเมอร์ส หรือเรียกอีกแบบว่า ปั๊มบาดาล (Deep Well Submersible Pump)

ปั๊มซับเมอร์ส
ปั๊มซับเมอร์ส

เป็น ปั๊มน้ำ ชนิดที่มีกำลังส่งน้ำได้ไกลและแรงที่สุด จึงนิยมใช้กันในการสูบน้ำที่อยู่ในชั้นดินหรือบ่อบาดาลสามารถจะใช้ดึงน้ำที่อยู่ในชั้นดินตั้งแต่ 10 เมตรถึงเกินกว่า 100 เมตรได้เลยทีเดียวด้วยที่ในส่วนประกอบที่ประกอบไปด้วยใบพัดจำนวณหลายใบมาก ๆ ทำให้มีแรงดันน้ำมากพอในการใช้ส่งน้ำได้ไกลขึ้น ด้วยตัว ปั๊มน้ำ มีความทนทานและทนต่อการรั่วไหลได้มาก ในบางรุ่นตัวปั๊มยังสามารถสลัดเอาเศษหินและทรายที่สูบติดขึ้นมาด้วยได้เพื่อกรองเอาแต่น้ำสะอาดขึ้นไปเพื่อใช้อุปโภค บริโภคได้เลยตามความต้องการ

การเลือกความจุของถังเก็บน้ำ

ตอนนี้ก็เห็นกันแล้วว่าคุณจะเลือกใช้ ปั๊มน้ำ แบบไหนให้เหมาะสมกับการนำไปใช้งานตามณลักษณะที่ได้กล่าวไปเบื้องต้นนั้นคราวนี้เรามาดูกันในเรื่องการคำนวณการส่งน้ำในการใช้งานทั่วไปในบ้านกันดีกว่า ทั้งนี้ตัวที่ใช้ในการคำนวณแรงส่งจะเป็น ปั๊มน้ำ แบบ ปั๊มน้ำอัตโนมัติ แบบที่นิยมใช้กันในครัวเรือนทั่วไป โดยเราได้อ้างอิงจากสถิติความต้องการใช้น้ำต่อครัวเรือนการติดตั้งถังเก็บน้ำ โดยเฉลี่ยปริมาณน้ำต่อคนในวันหนึ่งเป็น 300 ลิตรต่อคน โดยการคำนวณคือ นำจำนวนคนไปคุณกับลิตร และจำนวณวัน เช่น มีคนในครอบครัว 3 คน × 300(ลิตร) ก็จะเท่ากับ 900 ลิตรต่อวัน และคุณควรเผื่อบริมาณเอาไว้ฉุกเฉินที่ 3-4 วัน นำจำนวนลิตรต่อวันไป × กับจำนวนวัน ถังเก็บน้ำก็ควรจะมีขนาดประมาณความจุที่ 2,700 – 3,600 ลิตร

วิธีเลือก ปั๊มน้ำอัตโนมัติ สำหรับใช้งานภายในบ้าน

ต่อมาจะเป็นการเลือกใช้ ปั๊มน้ำ ในบ้านด้วยที่ว่า ปั๊มน้ำอัตโนมัติ มีหลากหลายขนาดที่เหมาะสมต่อการใช้งานแตกต่างกัน ถึงว่าจะเป็น ปั๊มน้ำ ที่มีกำลังวัตต์สูงๆนั้นอาจจะฟังดูดีที่สุด แต่ในด้านที่ว่ามีกำลังวัตต์มากเกินไปก็อาจจะไม่เหมาะสมกับลักษณะบ้านของคุณเช่นกัน ดังจะยกตัวอย่างคร่าว ๆ ดังต่อไปนี้

  • ถ้าบ้านของคุณไม่เกิน 2 ชั้น และเปิดใช้น้ำพร้อม ๆ กัน มากสุด 2 จุด คุณควรจะเลือกใช้ ปั๊มน้ำ ขนาด 100 วัตต์
  • ถ้าบ้านของคุณไม่เกิน 2 ชั้น และเปิดใช้น้ำพร้อม ๆ กัน มากสุด 2 จุด รวมทั้งมีเครื่องทำน้ำอุ่นอยู่ 1 เครื่อง คุณควรจะเลือกใช้ ปั๊มน้ำ ขนาด 150 วัตต์
  • ถ้าบ้านของคุณไม่เกิน 3 ชั้น และเปิดใช้น้ำพร้อม ๆ กัน มากสุด 2 จุด รวมทั้งมีเครื่องทำน้ำอุ่นอยู่ 1 เครื่อง คุณควรจะเลือกใช้ ปั๊มน้ำ ขนาด 200 วัตต์
  • ถ้าบ้านของคุณไม่เกิน 4 ชั้น และเปิดใช้น้ำพร้อม ๆ กัน มากสุด 3 จุด รวมทั้งมีเครื่องทำน้ำอุ่นอยู่ 1 เครื่อง คุณควรจะเลือกใช้ ปั๊มน้ำ ขนาด 250 วัตต์
  • ถ้าบ้านของคุณไม่เกิน 4 ชั้น และเปิดใช้น้ำพร้อม ๆ กัน มากสุด 3 จุด รวมทั้งมีเครื่องทำน้ำอุ่นอยู่ 2 เครื่อง คุณควรจะเลือกใช้ ปั๊มน้ำ ขนาด 300 วัตต์
water-pump.co

การติดตั้ง ปั๊มน้ำ สำหรับภายในตัวบ้านนั้นควรคำนึงถึงจุดติดตั้งที่เหมาะสมกับบ้านเพื่อให้ ปั๊มน้ำ ได้ทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพมากที่สุดและยังสามารถยืดอายุการใช้งานของเครื่องได้นานขึ้นอีกด้วย เราจะมาแชร์เคล็ดลับในการติดตั้งกันแบบเบื้องต้น เช่น วางติดตั้ง ปั๊มน้ำ เอาไว้ในระดับพื้นดินในระดับเดียวกับตัวบ้าน และมีที่ร่มหรือเป็นที่ใต้ชายคาบ้านและไม่เป็นพื้นที่ ที่มีน้ำท่วมขังอยู่ประจำ และไม่ควรติดตั้งตัวเครื่องไว้ติดกับส่วนของผนังบ้านมากเกินไปโดยทั่วไปแล้วระยะห่างที่เหมาะสมคือ ห่างจากผนังประมาณ 30 ซม.เพื่อให้ตัวเครื่องระบายความร้อนได้ดีและยังง่ายต่อการซ่อมแซมและบำรุงรักษา

และควรคำนึงถึงเสียงของ ปั๊มน้ำ ที่อาจจะรบกวนเวลาพักผ่อนด้วยจึงควรติดตั้งไว้ให้ห่างจากส่วนของตัวบ้านที่ต้องการความสงบเงียบเช่น ห้องนั่งเล่น ห้องนอน เพราะเนื่องจากเสียงการทำงานของ ปั๊มน้ำอาจรบกวนผู้อยู่อาศัยได้ หรือถ้ามีงบประมาณก็อาจจะแนะนำเป็น ปั๊มน้ำ แบบอินเวอร์เตอร์ ซึ่งกินไฟน้อยกว่า ทำแรงดันน้ำได้สม่ำเสมอ และทำงานได้เงียบกว่า ปั๊มน้ำอัตโนมัติ ทั่วไป

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ-การใช้งานและการแก้ไขปัญหาของ ปั๊มน้ำอัตโนมัติ

เช็คราคา ปั๊มน้ำ ได้ที่นี่

What do you think?

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Loading…

0
เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง

3 ประเด็นสำคัญของการบำรุงรักษา เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง

ปั๊มอัตโนมัติ

ปั๊มน้ำอัตโนมัติ ถังกลม ถังเหลี่ยม แตกต่างกันยังไง?