ก่อนที่คุณจะตัดสินใจเลือกซื้อ ปั๊มน้ำ ก็ควรที่จะต้องคำนึงถึงคุณสมบัติต่าง ๆ ของมันเสียก่อนเพราะ ปั๊มน้ำ แต่ละประเภทนั้นก็มีรูปร่างและคุณลักษณะแตกต่างกันออกไปตามการใช้งานของแต่ละเครื่องเหมือนกัน โดยอย่างแรกก็จะต้องพิจรณาถึงว่าจุดประสงค์การใช้งานหลักๆ ของคุณนั้นเป็นแบบไหน เพื่อที่จะสามารถเลือกประเภทการใช้งานให้ตรงตามความต้องการได้ เพราะจะทำให้ได้อุปกรณ์ที่เหมาะสมกับรูปแบบการใช้งานและ คุ้มค่าตรงตามค่าใช้จ่ายต้นทุนการดำเนินงานที่คุณได้วางเอาไว้ โดยหลักๆ แล้ว ปั๊มน้ำ ที่มีใช้ในปัจจุบันนั้นที่มีวางจำหน่ายในร้าน เครื่องมือช่าง เช่น ปั๊มหอยโข่ง, ปั๊มน้ำอัตโนมัติ, ปั๊มซับเมอร์ส, ปั๊มกึ่งอัตโนมัติ เป็นต้น
เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน
- ข้อควรรู้เกี่ยวกับการทำงานของ ปั๊มน้ำ
- ประเภทของปั๊มน้ำ และรูปแบบการใช้งานเบื้องต้น
- การเลือกความจุของ ถังเก็บน้ำ
- วิธีเลือก ปั๊มน้ำอัตโนมัติ สำหรับใช้งานภายในบ้าน
คุณสมบัติของ ปั๊มน้ำ ที่คุณต้องดูและให้ความสำคัญนั้น แบ่งเป็น 2 ส่วนที่สำคัญมาก ๆ คือ
- 1.) การคาดการณ์ถึงปริมาณความสามารถในการจ่ายน้ำหรือ Q เป็นปริมาณหรือขีดจำกัดของเครื่อง ปั๊มน้ำ นั้น ๆ จะทำได้ว่าคุณต้องการปริมาตรการจ่ายน้ำมากหรือปานกลาง เช่น ความสามารถของ ปั้มน้ำเครื่องนี้สามารถปล่อยน้ำได้ 6 ลบ.ม/ชั่วโมง เป็นต้นและเราสามารถเลือกได้ตามความต้องการ
- 2.) ขีดจำกัดของแรงดันน้ำ ส่วนนี้เป็นส่วนสำคัญอีกหนึ่งอย่างที่ควรจะต้องดูเอาไว้เพราะว่าเป็นส่วนสำคัญ เช่นในพื้นที่ที่เรานำเอาเครื่อง ปั๊มน้ำ ไปติดตั้งไว้มีความลาดเอียงเป็นแนวราบ และความยาวท่อไม่เกิน 100 เมตรนั้นก็จะสามารถใช้เครื่องปั๊มที่มีแรงดันน้ำมาตรฐานที่ H= 24 ได้สบาย กลับกันในขณะที่ การวางท่อในแนวตั้งนั้นเมื่อระยะท่อมีความยาวเกิน 24 เมตรกำลังการส่งน้ำนั้นก็อาจทำได้น้อยลงไปด้วย เพราะน้ำหนักของน้ำที่อยู่ในท่อแนวตั้งนั้นมีผลต่อกระทำต่อแรงดันน้ำที่เครื่อง ปั๊มน้ำ ทำได้โดยตรง โดยการเลือกปั๊มนั้นควรคำนึงเอาไว้ว่าถ้าระทางท่อยาวเกินกว่าระดับที่ตัวเครื่องรับได้นั้นก็ควรจะเลือกเพิ่มขนาดของเครื่องตามค่าแรงดันน้ำ H นั้นขึ้นไปอีกเป็นประมาณ 30 เปอร์เซ็น เพื่อเป็นการชดเชยในทุกๆแรงดันน้ำสูญเสียไปหรือที่เรียกกันว่า Head loss นั่นเอง และข้อสังเกตุอีกอย่างคือ ลักษณะของหน่วยวัดกำลังของมอเตอร์มีอยู่ 2 รูปแบบคือ วัตต์(watt) และแรงม้า (HP) โดยเมือเทียบค่ากันแล้ว 1 แรงม้าจะเท่ากับ 750 วัตต์
เมื่อคุณเข้าใจถึงคุณลักษณะเบื้องต้นของ ปั๊มน้ำ แล้วก็ควรที่จะอ่านเสปคของเครื่องได้ กล่าวคือ คุณสมบัติเบื้องต้นของ ปั๊มน้ำ แต่ละแบบได้โดยจะแบ่งเป็นอักษรย่อต่างๆที่ติดมากับตัวเครื่องเช่น
- Q/Q.Max คือช่วงปริมาณความสามารถสูงสุดในการไหลของน้ำ จะระบุค่าวัดเป็น ลิตร ต่อ นาที
- H/H.Max คือกำลังแรงดันสูงสุดที่ทำได้ดี ที่อัตราการส่งในแนวตั้ง ยิ่งสูงอาจทำให้การไหลของน้ำลดลง เพราะน้ำหนักของน้ำในท่อกระทำต่อแรงโน้มถ่วงโดยตรงและอาจทำให้แรงดันลดลงได้
- Mot. บอกถึงรูปแบบหรือลักษณะของชนิดมอเตอร์ที่เครื่องใช้
- V เป็นค่าที่บอกถึงแรงดันไฟฟ้าที่ ปั๊มน้ำ สามารถจะใช้งานได้ ระบุไว้เป็นโวลต์
- Hp คือกำลังแรงม้าของเครื่องมอเตอร์ ปั๊มน้ำ ฯ
ประเภทของปั๊มน้ำ และรูปแบบการใช้งานเบื้องต้น
ปั๊มน้ำ ได้ถูกออกแบบมาเพื่อให้เข้ากับสถาณะการใช้งานในแบบต่าง ๆ ซึ่งอาจจะมีคุณสมบัติแตกต่างกันออกไปตามความเหมาะสมนั้น ๆ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยและสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด โดยหลัก ๆ ปั๊มน้ำ จะแบ่งเป็น 4 รูปแบบเบื้องต้นที่มีการออกแบบเพื่อการใช้งานตามสภาพการที่ต่างกันไป
ปั๊มหอยโข่ง (Centrifugal pump)
ปั๊มหอยโข่ง ชนิดนี้ใช้กันแพร่หลายในการเกษตร ด้วยความสามาถในการใช้งานได้ต่อเนื่องเป็นเวลานานรวมทั้งมีความทนทานและการใช้งานที่ไม่ยุ่งยาก ด้วยที่ปั๊มชนิดนี้สามารถจะส่งน้ำไปยังพื้นที่การเกษตรได้ไกล เช่นการสูบผันน้ำจากแท้งค์หรือส่วนของบ่อน้ำ งานรดน้ำในสวน สาเหตุที่เรียกปั๊มชนิดนี้ว่าปั๊มหอยโข่งเป็นเพราะว่า รูปแบบของตัวปั๊มมีส่วนหนึ่งที่มีลักษณะคล้ายก้นหอย โดยการทำงานแบบคร่าว ๆ กล่าวคือเป็นการใช้มอเตอร์หมุนใบพัดที่ติดกันเพื่อเหวี่ยงน้ำที่เข้ามาแล้วพัดออกไปด้วยกำลังแรงสูง ในระหว่างที่น้ำถูกดูดผ่านเข้ามานั้นก็จะได้รับความเร็วที่เพิ่มขึ้นในภาวะที่ท่อเป็นสูญญากาศนี้จะส่งผลให้เกิดแรงดันขึ้นไปพร้อม ๆ กัน ข้อดีของปั๊มหอยโข่งคือ ความทนทาน ราคาถูก และยังง่ายต่อการซ่อมแซมบำรุงรักษาอีกด้วย ทั้งยังสามารถรับปริมาณของน้ำได้อย่างมาก และอัตราการไหลเวียนพลังงานที่สูง
ปั๊มน้ำ อัตโนมัติ (Automatic pumps)
ปั๊มน้ำ ชนิดนี้อาศัยการทำงานแบบเดียวกับปั๊มหอยโข่งแต่ได้เพิ่มระบบการเปิดปิดอัตโนมัติตามแรงดันน้ำในท่อที่เปลี่ยนไป โดยมีตัวควบคุมคือ pressure switch และถังแรงดัน โดยคุณลักษณะนี้เหมาะเป็นอย่างยิ่งในการใช้งานภายในบ้านหรือตัวอาคารในบางกรณี เพราะไม่ต้องเสียเวลาในการเปิด-ปิด ปั๊มน้ำ ตลอดเวลาที่จะใช้หรือยังไม่ได้ใช้น้ำ เพราะเมื่อทันทีที่คุณเปิดก๊อกน้ำ ตัว ปั๊มน้ำอัตโนมัติ ก็จะทำงาน และพอคุณปิดก๊อกน้ำไปในสักพักเมื่อแรงดันในท่อน้ำกลับมาคงที่ ปั๊มน้ำอัตโนมัติ ก็จะหยุดทำงาน
ปั๊มแช่ หรือไดโว่ (Submersible Pump)
การใช้งานปั๊มชนิดนี้มักนำมาใช้สำหรับการสูบน้ำเข้าออก เพราะตัวเครื่องปั๊มเป็นปั๊มขนาดพอดีเคลื่อนย้ายได้สะดวกไม่ต้องทำการติดตั้งแบบถาวร มักนิยมใช้ในการสูบย้ายน้ำ สูบน้ำท่วมขัง โดยแบ่งตามประเภทการใช้งานได้อีก 2 ประเภทได้แก่
- ปั๊มแช่ใช้กับน้ำสะอาด โดยภายในเครื่องจะมีการกรองเอาน้ำและกันเศษต่างๆที่มีขนาดใหญ่กว่า 2 มิลลิเมตรออกไป เหมาะกับการใช้ทำระบบน้ำพุ หรือ ระบบตกแต่งภายในสวนเป็นต้น
- ปั๊มแช่แบบใช้กับน้ำสกปรก โดยตัวปั๊มสามารถรับเอาตะกอนขนาดใหญ่ขนาดประมาณ 30 มิลลิเมตรเข้ามาได้ เหมาะกับนำไปสูบน้ำในบ่อเลื้ยงปลา หรือสูบเอาน้ำท่วมขังออกไปได้อย่างดี
ปั๊มซับเมอร์ส หรือเรียกอีกแบบว่า ปั๊มบาดาล (Deep Well Submersible Pump)
เป็น ปั๊มน้ำ ชนิดที่มีกำลังส่งน้ำได้ไกลและแรงที่สุด จึงนิยมใช้กันในการสูบน้ำที่อยู่ในชั้นดินหรือบ่อบาดาลสามารถจะใช้ดึงน้ำที่อยู่ในชั้นดินตั้งแต่ 10 เมตรถึงเกินกว่า 100 เมตรได้เลยทีเดียวด้วยที่ในส่วนประกอบที่ประกอบไปด้วยใบพัดจำนวณหลายใบมาก ๆ ทำให้มีแรงดันน้ำมากพอในการใช้ส่งน้ำได้ไกลขึ้น ด้วยตัว ปั๊มน้ำ มีความทนทานและทนต่อการรั่วไหลได้มาก ในบางรุ่นตัวปั๊มยังสามารถสลัดเอาเศษหินและทรายที่สูบติดขึ้นมาด้วยได้เพื่อกรองเอาแต่น้ำสะอาดขึ้นไปเพื่อใช้อุปโภค บริโภคได้เลยตามความต้องการ
การเลือกความจุของถังเก็บน้ำ
ตอนนี้ก็เห็นกันแล้วว่าคุณจะเลือกใช้ ปั๊มน้ำ แบบไหนให้เหมาะสมกับการนำไปใช้งานตามณลักษณะที่ได้กล่าวไปเบื้องต้นนั้นคราวนี้เรามาดูกันในเรื่องการคำนวณการส่งน้ำในการใช้งานทั่วไปในบ้านกันดีกว่า ทั้งนี้ตัวที่ใช้ในการคำนวณแรงส่งจะเป็น ปั๊มน้ำ แบบ ปั๊มน้ำอัตโนมัติ แบบที่นิยมใช้กันในครัวเรือนทั่วไป โดยเราได้อ้างอิงจากสถิติความต้องการใช้น้ำต่อครัวเรือนการติดตั้งถังเก็บน้ำ โดยเฉลี่ยปริมาณน้ำต่อคนในวันหนึ่งเป็น 300 ลิตรต่อคน โดยการคำนวณคือ นำจำนวนคนไปคุณกับลิตร และจำนวณวัน เช่น มีคนในครอบครัว 3 คน × 300(ลิตร) ก็จะเท่ากับ 900 ลิตรต่อวัน และคุณควรเผื่อบริมาณเอาไว้ฉุกเฉินที่ 3-4 วัน นำจำนวนลิตรต่อวันไป × กับจำนวนวัน ถังเก็บน้ำก็ควรจะมีขนาดประมาณความจุที่ 2,700 – 3,600 ลิตร
วิธีเลือก ปั๊มน้ำอัตโนมัติ สำหรับใช้งานภายในบ้าน
ต่อมาจะเป็นการเลือกใช้ ปั๊มน้ำ ในบ้านด้วยที่ว่า ปั๊มน้ำอัตโนมัติ มีหลากหลายขนาดที่เหมาะสมต่อการใช้งานแตกต่างกัน ถึงว่าจะเป็น ปั๊มน้ำ ที่มีกำลังวัตต์สูงๆนั้นอาจจะฟังดูดีที่สุด แต่ในด้านที่ว่ามีกำลังวัตต์มากเกินไปก็อาจจะไม่เหมาะสมกับลักษณะบ้านของคุณเช่นกัน ดังจะยกตัวอย่างคร่าว ๆ ดังต่อไปนี้
- ถ้าบ้านของคุณไม่เกิน 2 ชั้น และเปิดใช้น้ำพร้อม ๆ กัน มากสุด 2 จุด คุณควรจะเลือกใช้ ปั๊มน้ำ ขนาด 100 วัตต์
- ถ้าบ้านของคุณไม่เกิน 2 ชั้น และเปิดใช้น้ำพร้อม ๆ กัน มากสุด 2 จุด รวมทั้งมีเครื่องทำน้ำอุ่นอยู่ 1 เครื่อง คุณควรจะเลือกใช้ ปั๊มน้ำ ขนาด 150 วัตต์
- ถ้าบ้านของคุณไม่เกิน 3 ชั้น และเปิดใช้น้ำพร้อม ๆ กัน มากสุด 2 จุด รวมทั้งมีเครื่องทำน้ำอุ่นอยู่ 1 เครื่อง คุณควรจะเลือกใช้ ปั๊มน้ำ ขนาด 200 วัตต์
- ถ้าบ้านของคุณไม่เกิน 4 ชั้น และเปิดใช้น้ำพร้อม ๆ กัน มากสุด 3 จุด รวมทั้งมีเครื่องทำน้ำอุ่นอยู่ 1 เครื่อง คุณควรจะเลือกใช้ ปั๊มน้ำ ขนาด 250 วัตต์
- ถ้าบ้านของคุณไม่เกิน 4 ชั้น และเปิดใช้น้ำพร้อม ๆ กัน มากสุด 3 จุด รวมทั้งมีเครื่องทำน้ำอุ่นอยู่ 2 เครื่อง คุณควรจะเลือกใช้ ปั๊มน้ำ ขนาด 300 วัตต์
การติดตั้ง ปั๊มน้ำ สำหรับภายในตัวบ้านนั้นควรคำนึงถึงจุดติดตั้งที่เหมาะสมกับบ้านเพื่อให้ ปั๊มน้ำ ได้ทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพมากที่สุดและยังสามารถยืดอายุการใช้งานของเครื่องได้นานขึ้นอีกด้วย เราจะมาแชร์เคล็ดลับในการติดตั้งกันแบบเบื้องต้น เช่น วางติดตั้ง ปั๊มน้ำ เอาไว้ในระดับพื้นดินในระดับเดียวกับตัวบ้าน และมีที่ร่มหรือเป็นที่ใต้ชายคาบ้านและไม่เป็นพื้นที่ ที่มีน้ำท่วมขังอยู่ประจำ และไม่ควรติดตั้งตัวเครื่องไว้ติดกับส่วนของผนังบ้านมากเกินไปโดยทั่วไปแล้วระยะห่างที่เหมาะสมคือ ห่างจากผนังประมาณ 30 ซม.เพื่อให้ตัวเครื่องระบายความร้อนได้ดีและยังง่ายต่อการซ่อมแซมและบำรุงรักษา
และควรคำนึงถึงเสียงของ ปั๊มน้ำ ที่อาจจะรบกวนเวลาพักผ่อนด้วยจึงควรติดตั้งไว้ให้ห่างจากส่วนของตัวบ้านที่ต้องการความสงบเงียบเช่น ห้องนั่งเล่น ห้องนอน เพราะเนื่องจากเสียงการทำงานของ ปั๊มน้ำอาจรบกวนผู้อยู่อาศัยได้ หรือถ้ามีงบประมาณก็อาจจะแนะนำเป็น ปั๊มน้ำ แบบอินเวอร์เตอร์ ซึ่งกินไฟน้อยกว่า ทำแรงดันน้ำได้สม่ำเสมอ และทำงานได้เงียบกว่า ปั๊มน้ำอัตโนมัติ ทั่วไป
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ-การใช้งานและการแก้ไขปัญหาของ ปั๊มน้ำอัตโนมัติ
เช็คราคา ปั๊มน้ำ ได้ที่นี่
Loading…